4 พ.ค. 2023 เวลา 16:54 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ผมขอมองจากหลายๆมุมครับ
1) ตลาดรถในจีนนั้นมีขนาดใหญ่มาก และมีผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนอยู่หลากหลายยี่ห้อมาก
ว่ากันว่า ยอดขายรถ EV ในจีน คิดเป็นสัดส่วนราว 2 ใน 3 ของยอดขายรถ EV ทั่วโลกรวมกัน
1
และจีนเองก็เป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกที่มียอดเป็นอันดับ 2 ของโลก แซงหน้า US, เยอรมัน, และ เกาหลีใต้ ไปเรียบร้อยแล้ว
1
จะเป็นรองก็เพียงญี่ปุ่นในเวลานี้
ถ้าพิจารณาจาก “ตัวเลข” ของขนาดตลาดภายในประเทศเพียงอย่างเดียว
ก็ชัดเจนว่า
จีนที่มีจำนวนประชากรมากกว่าญี่ปุ่นอย่างมาก และด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่น่าจะได้เปรียบญี่ปุ่น
1
จึงทำให้ดูเหมือนว่า
“ต้นทุนการผลิตรถยนต์” ของจีนจะได้เปรียบญี่ปุ่นด้วย เพราะค่าแรงในจีนก็ถูกกว่าด้วย
ยิ่งถ้าพิจารณา “วัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่” ก็ดูเหมือนว่า จีนเองจะมีทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ได้ดีกว่าทางญี่ปุ่น
ทั้งหมดทั้งมวลจึงเป็นเรื่องราวของการจัดการระบบ
“supply chains”
ที่ใครจะบริหารจัดการได้ดีกว่ากัน
2) สำหรับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จากทางญี่ปุ่นที่เขาผลิตรถยนต์มาอย่างยาวนานในยุคของเครื่องสันดาบภายใน
บริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นเหล่านี้ มีระบบ
“supply chains”
ขนาดใหญ่มาก และการมาถึงของรถ EV ทำให้ต้องมีการตั้ง Line การผลิตกันใหม่ และมีการปรับระบบ supply chains ใหม่สำหรับผลิตรถ EV
และนี่คือความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ผลิตรถยนต์จากจีน
ซึ่งบริษัท “หน้าใหม่” จำนวนมากมายในจีน ก้าวเข้าสู่วงการผลิตรถยนต์ ด้วยการผลิตรถ EV แทบจะทันที โดยบริษัทเหล่านี้ไม่เคยผลิตรถ “นำ้มัน” มาก่อนเลย!
นี่เองคือ “ความได้เปรียบ” ของบริษัทผลิตรถยนต์ EV ในจีน ที่เขาตั้ง
1
“Production lines”
สำหรับรถ EV มาตั้งแต่แรก!
3) สำหรับตลาดรถ EV ในไทยเอง ก็มีหลาย “segments”
เช่น ตลาด “mainstream” สำหรับผู้ที่ต้องการใช้รถยนต์ทั่วไปที่ต้องการได้รถที่ “ราคาจับต้องได้” ซึ่งรถจากจีนส่วนใหญ่ยังอยู่ในตลาดรถกลุ่มนี้
1
ส่วนตลาด “รถยนต์สำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อสูง” หรือกลุ่ม “Luxury”
ก็มี “players” อยู่ไม่น้อยที่บางส่วนถึงขั้นเข้ามาตั้งไลน์การผลิตรถ EV อย่างเป็นทางการในไทย
เช่น
“Mercedes Benz” รุ่น “EQS”
“BMW” i-Series
“Porsche” Taycan
รวมถึงทาง “Lexus” ที่มีรถ EV ทยอยออกมาสู่ตลาด ซึ่งเป็นรถ CBU ที่ประกอบในญี่ปุ่นทั้งคัน!
และแน่นอนว่า ทางบริษัทรถจากญี่ปุ่นเองก็มีรถในกลุ่ม
“Hybrid” หรือ แม้กระทั่งรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน ที่ทางบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของไทย เพิ่งเปิดตัวปั๊มไฮโดรเจนแห่งแรกในประเทศไทยไปเมื่อราวต้นปีนี้เอง
เมื่อพิจารณา “ค่าไฟ” ที่มีราคาสูงขึ้นมากในขณะนี้ จึงทำให้รถ Hybrid กลายเป็นรถที่น่าสนใจขึ้นมาทันที!
4) การมาถึงของรถจากจีนเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่อยู่ในตลาดรถ เพราะพวกเขามี “ตัวเลือก” มากขึ้น และเป็นไปได้ว่าอาจมี “สงครามราคา” เกิดขึ้น
แต่ก็ต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่นๆด้วย เช่น
- จำนวนศูนย์บริการ และระยะเวลาที่ต้องรอคิวเข้ารับบริการจากทางศูนย์
- ราคาอะไหล่ และระยะเวลาในการรออะไหล่
(รถจากจีนมักมีราคาต่ำกว่ารถจากญี่ปุ่น แต่ ต้องไปดูราคาอะไหล่เปรียบเทียบด้วย!)
5) เมื่อถึงวันที่บริษัทผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่น หันกลับมาทุ่มเทและให้ความสำคัญกับรถ EV อย่างเต็มที่ โดยปล่อยวางรถ Hybrid ลง
เมื่อนั้นเราคงได้เห็นการ
“จัดกระบวนทัพในระบบ supply chains กันใหม่”
เพื่อพร้อมสู้ศึกแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด และแน่นอนว่า เมื่อวันนั้นมาถึง
ผลประโยชน์ก็จะตกถึงผู้บริโภคอย่างแน่นอน!
บทความแนะนำ
สำหรับท่านผู้สนใจ
ผมมี posts เกี่ยวกับรถ EV และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเตรียมไว้ให้ดังนี้ครับ
• “Hybrid”
• “EV”
• “Hydrogen powdered”
โฆษณา