5 พ.ค. 2023 เวลา 02:24 • ท่องเที่ยว

สิกขิม 2023 .. ดินแดนปลายขอบฟ้าหิมาลัย

สิกขิม .. ดินแดนที่เมื่อเอ่ยนาม มักจะมีน้อยคนที่รู้จักว่าอยู่หนแห่งใดในพิภพนี้ .. แต่ดินแดนแห่งนี้เป็นเป้าหมายของความตั้งใจที่จะเดินทางไปเยือนให้ได้สักครั้งในชีวิตของฉันมานานมาก
การเดินทางครั้งนี้ฉันไม่ได้คาดหวังมาก่อนว่าจะได้พบดินแดนที่วิจิตร เต็มไปด้วยทิวทัศน์หลากหลายที่แตกต่างเหมือนไม่รู้จบ
.. จากลำธารลี้ลับงามแปลกตาในหุบโตรกลึกชัน บางช่วงปรากฏสายน้ำทิ้งตัวพุ่งดิ่งผ่านผาสูงลิบลิ่ว .. ไปจนถึงภูมิประเทศที่เป็นภูเขารกร้างห่างไกล .. ทุกๆกิโลเมตรที่ผ่านไป มันคือการเปลี่ยนพบกับฉากแห่งความงามที่ไม่ซ้ำมุมมอง
บนเส้นทางของการท่องเที่ยวธรรมดา บางทีกลับเปี่ยมล้นไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ เหมือนดั่งเป็นกระจกเงาที่สาดส่องให้เราเห็นบางแง่มุมของชีวิตที่ล้วนให้ความหมายในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถอ่านความหมายของมันได้มากน้อยเพียงใด
เราเดินทางจากกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าสู่เมือง กัลกัตตา โดยสายการบิน Indigo Airlines ใช้เวลาราว 4 ชั่วโมง .. จากนั้นเปลี่ยนเครื่องเป็นสายการบินภายในประเทศ
… จากเมืองกัลกัตตา ฝ่าทะลวงทะเลหมอกลงจอดที่สนามบิน Bagdogra เมืองสิลิกูรี (Siliguri) เพื่อที่เราเดินทางต่อไปที่เมืองดาร์จิลิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสิลิกูรีราว 90 กม...
สนามบินบักโดรา เป็นสนามบินเล็กๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นอินเดียได้เป็นอย่างดี..
เมืองสิลิกูรี เมื่อแรกเห็นและเดินทางผ่าน ก็เป็นเมืองในอินเดียที่เหมือนที่จินตนาการไว้
.. สายใยแห่งความรู้สึกในภาพฝันที่ฉันทีต่อดาร์จิลิ่งกำลังจะเริ่มถูกถักทอสร้างเป็นภาพ ผ่านมุมมองของนักเดินทานช่างฝัน
จากเมืองสิลิกูรี (Siliguri) .. เราเดินทางผ่านภูเขา ที่ไต่ความสูงและวกวนไปตามแนวสโลป แหว่งเว้าเข้าไปเป็นโค้งเล็กโค้งน้อยนับพัน ไต่ความสูงขึ้นมาเรื่อยๆ
ภาพหมอกชื้นๆปกคลุมพรรณไม้เขียวชอุ่ม จนสีเขียวแทบจะหยาดหยด .. บางช่วงมีเฟริ์นขนาดยักษ์ห้อยย้อยเยี่ยมหน้าออกมาทักทาย
.. สลับด้วยบ้านหลังน้อย เป็นภาพที่สวยจนน่าตื่นตา ตื่นใจ ในขณะที่เราพยายามเก็บความงามเอาไว้ในเมมโมรี่ของกล้อง
บรรยากาศสองข้างทางที่ Bagdora มายังชุมชนอื่น มองดูคร่าวๆ เราว่ามีความคล้ายเมืองบ้านนอกของพม่า
รถขับออกมาเรื่อยๆ .. ก็ได้เจอกับความเป็นอินเดียขึ้นเรื่อยๆ วุ่นวาย แต่มีเสน่ห์มากมาก ทุกอย่างดูเรียลไปหมด
.. เมื่อเราเข้าเขตชุมชน รางรถไฟเล็กๆเลื้อยขนาบริมถนนผ่านหน้าบ้านผู้คนแบบใกล้มากๆ ผ่านเข้ามาในสายตาแบบ อเมซซิ่งมากมาย
.. ขนาดของรางที่กะๆด้วยสายตาคงกว้างแค่ 2 ฟุต เรียกว่าแคบจริงๆ ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟเด็กเล่น
.. รถุไฟขนาด 2 โบกี้แล่นผ่านให้เห็น ผ่านบ้านเรือนของผู้คนแบบประชิด หากเป็นคนก็คงเฉียดแค่จมูกเท่านั้น เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นแบบนี้
บางช่วง .. ผ่านใกล้กับแผงขายสิ่งของต่างๆของชาวบ้าน ทำให้หวนคิดถึง บรรยากาศของตลาดร่มหุบ ที่สมุทรสงครามไม่ได้
ใกล้ๆสถานีรถไฟ Ghum ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของรถไฟสาย Toy Train .. เราแวะไปไหว้พระที่ศาสนสถานแบบทิเบต เพื่อขอพรให้ทุกอย่างเป็นใจให้การเดินทางมาเที่ยวชม สิกขิม ของเราครั้งนี้ราบรื่น และปลอดภัย
Samten Choling Buddhist Monastery
วัด Samten Choling หรือ Ghoom monastery ตั้งอยู่ใกล้ๆกับสถานีรถไฟ Ghum ณ ความสูง 8000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล และห่างจากตัวเมือง ดาร์จิลิ่งราว 7 กิโลเมตร
.. เป็นวัดทางพระพุทธศาสนาแบบทิเบต นิกายหมวกเหลือง (Gelukpa sect of Vajrayana Buddhism) ที่มีชื่อเสียงของ ดาร์จิลิ่ง
เราเดินผ่านประตูสี่เหลี่ยมสีสันจัดจ้านในแบบทิเบตลงไปตามบันไดหิน สู่ลานกว้างอันเป็นที่ตั้งของหอสวดมนตร์ หรือวิหารหลักของวัด
วัดแห่งนี้สร้างในปี 1875 โดยพระลามะชื่อ Lama Sherab Gyatso
เมื่อเข้าไปในวิหาร .. ตรงกลางคือพระพุทธรูปประธาน Maitreya Buddha ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้าในอนาคต
.. ขนาบข้างด้วยรูปปั้น รูปเคารพ
.. รูปเคารพของพระลามะชั้นสูงในอดีต
บนผนังรอบๆวิหารมีภาพพระพุทธเจ้า และภาพเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายหมวกเหลือง
วัดแห่งนี้มีความสำคัญ ด้วยเหตุที่เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์ จารึกคำสอน และพระไตรปิฎกทางพุทธสาสนาจำนวนมาก
ภาพจ้ตรกรรมฝาปนังในวัด Samten Choling
สิกขิม .. ปูนตำนาน สังเขปประวัติศาสตร์
สิกขิม .. แม้มิใช่อาณาจักรโบราณเก่าแก่ที่สืบย้อนกลับไปหาความเป็นมาได้หลายพันปี เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า สิกขิมสถาปนาขึ้นเมื่อราวต้นศตวรรษที่ 18
.. กระนั้น สิกขิมก็เต็มไปด้วยปูมประวัติและตำนานมากหมาย ซึ่งซับซ้อนชวนพิศวง ประหนึ่งเดียวกับความซ่อนเร้นแห่งหิมาลัย
.. ผู้คนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อนเป็นอาณาจักรสิกขิม คือ ชาวเลปซา (Lepcha) นเผ่ารักสงบ อุปผนิสัยเอื้ออารี นับถือธรรมชาติและวิญญาณบรรพบุรุษ .. เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีภษาพูดเป็นของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน ประวัติความเป็นมาไม่ได้ถูฏจารึกเอาไว้ให้อ้างอิงได้ จะมีก็เพียงแค่ตำนานคำบอกเล่าที่ถ่ายทอดปากเปล่าจากรุ่นสู้รุ่น
จิตรกรรมฝาผนังในวัด Samten Choling
ตำนานความเป็นมาของชาวเลปซา เอ่ยถึง ตูร์เว ปาโน (Turve Pano) ผู้เก่งกล้าสามารถ ที่ได้รวบรวมผู้คนตั้งตนขึ้นเป็น พูนู (Punu แปลว่า ผู้นำ หรือ ราชา) คนแรก เมื่อราว 1400 ก่อนคริสตกาล ปกครองแผ่นดินแว่นแคว้น Nye-mae-el แปลง่า สวรรค์ .. แต่พระองค์เสียชีวิตจากการทำศึกกับ เนปาล
.. กาลเวลาผ่านไปนานหลายร้อย หลายพันปี .. มีการเข้ามาถึงของชาวทิเบตจากหลังคาโลก
.. มีการอยู่ร่วมกันระหว่างชนเผ่าต่างๆ ชาวเลปซา มอบอำนาจการปกครองให้กับชาง คัมปา .. บ้างก็สืบเชื้อสายแต่งงานกับหญิงสาวชาวพื้นเมือง รงมถึงนำเอาวัฒนธรรม ภาษา จารีตประเพณี ฯลฯ ต่างๆ เข้ามาเผยแพร่สร้างเป็นขนบใหม่ กลายเป็นชาวสิกขิม ที่เรียกกันในนาม ชาวพูเธีย (Bhutia) ส่วนแผ่นกดินของชาว เลปซา ก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เดโมจง (Demojong) หรือ สิกขิม
จิตรกรรมฝาผนังในวัด Samten Choling
พงศาวดารของการสถาปนาอาณาจักรของ ชาวพูเธีย
พงศาวดารของชาวพูเธียกล่าวไว้ว่า .. บรรพบุรุษของตนคือ Guru Tashi (มีเชื้อสายจากกษัตริย์ Trisong Desten รัชกาลที่ 5 แห่งทิเบต) ได้พาครอบครัวเดินทางสู่ทิศใต้ เพื่อค้นหาดินแดนแห่งข้าว (Den Zong) ที่ฟ้าได้ลิขิตเอาไว้ให้ลูกหลาน
.. ข้ามกาลเวลามาจนถึง ศตวรรษที่ 17 ได้มีพระลามะตบะแก่กล้าฝ่าย Nyingma : นิกายหมวกแดง 3 รูป คือ Gyawa Lhatsum Chenpo, Kartok SEmpa Chenpo และ Ngadak Rinzing Chenpo พระลามะทั้งสาม เหาะเหินจากทิเบตตามนิมิตบัญชาศักดิ์สิทธิ์ ให้มาสถาปนา Chongyal หรือ ธรรมราชา แก่ดินแดนเร้นลับ
.. พระลามะทั้งสามมาพบกันที่ Narbugang ซึ่งต่อมาสถานที่นี้ถูกเรียกว่า Yuksam แปลว่า ตำบลแห่งสามผู้วิเศษ และได้ พุนฌก แห่งเมืองกักต๊อก มาดำรงตำแหน่งเป็น โชจ์เยล์ ของอาณาจักร เดน จง เป็นปฐมกษัตริย์ พนะนามว่า พุนฌก นัมจ์เยล์ เมื่อปี ค.ศ. 1642 และตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองย๊อกซั่ม
จิตรกรรมฝาผนังในวัด Samten Choling
เทนซุง นัมจ์เยล์ .. เป็นกษัตริย์รัชกาลถัดมา ขึ้นครองราชย์เมื่อปี 1960 พระองค์สร้างราชธานีแห่งใหม่ และอาณษจักร เดน จล ได้รับการเรียกชื่อใหม่ คือ ซุ-ฌิม (Su-Khim) แปลว่า บ้านใหม่ เป็นภาษาลิมปู ซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้อยอีกเผ่าหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้พรมแดนเนปาล (มเหสีองค์ที่ 3 ของพระองค์เป็นธิดาหัวหน้าเผ่าชาวลิมปู) .. ต่อมา ชาวอังกฤษเรียกเพี้ยนไปเป็น สิกขิม
ในต้นศตวรรษที่ 18 อาณาจักรเดน จง เริ่มถูกรัฐเพื่อนบ่านอย่างเนปาล และภูฏาน รุกราน จนนำไปสู่ความเกี่ยวพันกับอังกฤษซึ่งยึดครองอินเดียอยู่ในเวลานั้น
.. ค.ศ.1814 สิกขิมย้ายราชธานีจาก รัมเดนเฌ่ มาตั้งที่เมือง ทุมลง เพื่อให้ไกลจากพรมแดนเนปาล .. และในปีเดียวกันนั้นเอง อังกฤษ ซึ่งวางตัวนิ่งเฉยอยู่กว่าสามทศวรรษก้เปิดศึกกับกองทัพกุรข่า ของเนปาล จนในที่สุดกองทัพกุรข่าต้องยอมทำสัญญาสงบศึก ถอยจากเขตยึดครองราว 6500 ตารางกิโลเมตร และคืนดินแดนทั้งหมด
.. จากเหตุการณ์ด้งกล่าว กษัตริย์สิกขิมทรงตอบแทนอังกฤษด้วยการยกเอกสิทธิ์เหนือดินแดนใจกลางเทือกเขาบางส่วนทางตะวันตก คือ ดาร์จิลิ่ง (Darjeeling) ให้แก่อังกฤษ .. แม้ว่าจะดูเหมือนว่าอังกฤษจะช่วยสิกขิมขับไล่ศัตรู แต่อันที่จริงอังกฤษทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน รวงมถึงเพื่อหาหนทางรุกคืบเข้าไปในทิเบต
สิกขิมในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 .. ถือว่าเป็นดินแดนซ่อนเร้นต้องห้าม ไม่เปิดรับคนภายนอก และนี่เป็นเหตุทำให้เกิดความบาดหมางกับอินเดีย เมื่อเจ้าหน้าที่ของอังกฤษ 2 นายถูกจับ เพราะเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต และนำไปสู่ข้อพิพาทจนเกือบจะเปิดศึกกันอยู่หลายหน กระทั่งที่สุดก็ตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษไปโดยปริยายในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
ค.ศ.1894 กษัตริย์ โธทุป นัมจ์เยล์ รัชกาลที่ 9 .. ทรงย้ายราชธานีจากเมืองทุมลง ไปที่เมืองกังต๊อก .. ในขณะเดียวกันชาวเนปาลก็หลั่งไหลเข้ามาเป็นแรงงานให้อังกฤษมากมาย พร้อมๆกับตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในอาณาจักรสิกขิม จนใสต้นศตวรรษที่ 20 ชาวเนปาลก็เพิ่มเป็น 1 ใน 3 ของปรัชากรทั้งหมด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 .. อังกฤษสิ้นสภาพความเป็นเจ้าอาณานิคมในแผ่นดินอนุทวีป และคืนเอกราชแก่อินเดีย เมื่อ ค.ศ.1947 ในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรสิกขิม มีจะยังปกครองด้วยระบบกษัตริย์และเริ่มตื่นตัวกับประชาธิปไตย .. ทว่าข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหาฐานะความเป็น รัฐในอารักขา ยังคงแฝงอยู่และถูกถ่ายโอนขากอังกฤษไปสู่อินเดีย
.. ตลอดเวลานับจากนั้น ภาวะการเมืองของอาณาจักรสิกขิม ก็เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายขัดแย้งระหว่างชาวแลปซา-ชาวพูเธีย กับชาวเนปาล ซึ่งในช่วงนั้นเป็นประชากรส่วนใหญ่ คือร้อยละ 75 ของสิกขิมไปเรียบร้อยแล้ว
 
.. เมษายน 1973 เกิดการจลาจลครั้งใหญ่ จนอาณาจักรสิกขิมต้องขอให้อินเดียส่งกำลังเข้ามาช่วยระงับเหตุ และตามมาด้วยการแต่งตั้งที่ปรีการ่างรัฐธรรมนูญ
.. เมื่อมาถึงการลงประชามติในต้นปี 1975 ชาวแลปซา-ชาวพูเธียกลายเป็นขนกลุ่มน้อย คะแนนเสียงส่วนใหญ่จึงเห็นชอบที่จะยกอาณาจักรสิกขิม ไปรวมร่วมเป็นสาธรณรัฐกับอินเดีย
.. วันที่ 22 เมษายน 1975 รัฐบาลอินเดีบ รับ สิกขิมเข้าเป็นแคว้นอันดับที่ 22 ของศาะษรณรัฐ และประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ปีเดียวกัน .. ประวัติศาสตร์ความเป็น อาณาจักรของสิกขิม ภายใต้การปกครองของกษัตริย์รวม 12 พนะองค์ จึงสิ้นสุดลง
Ref :เนื้อความบางส่วนจาก วารสาร Travel Guide
โฆษณา