5 พ.ค. 2023 เวลา 09:25 • บันเทิง

Mandela effect ทฤษฎีที่พิสูจน์ว่า เราอาจอยู่ในอีก Multiverse?

Mandela Effect เป็นปรากฏการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มันหมายถึงการเข้าใจผิดโดยรวมของข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเกิดขึ้นแตกต่างจากที่เกิดขึ้นจริง โดยคำว่า Mandela Effects ถูกตั้งขึ้นโดย ฟิโอน่า บรูม นักวิจัยเรื่องราวแนวลึกลับ หลังจากที่เธอค้นพบว่า ผู้คนหลาย หลาย ๆ คนในโลกอินเตอร์เน็ตมีการตั้งคำถามที่ชัดเจน โดยพวกเขามีความทรงจำที่ชัดเจนเกี่ยวกับเนลสัน แมนเดลาที่เสียชีวิตในคุกในช่วงปี 1980
แม้ว่าในข้อเท็จจะจะมีการระบุว่า เขาจะได้รับการปล่อยตัวในปี 1990 และเสียชีวิตในปี 2013 และเรื่องราวนี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามในโลกอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก จนผู้ใช้งานมากมายเริ่มนำเรื่องราวต่าง ๆ มาโพสต์ถามถึงความแตกต่างสิ่งที่พวกเขาจำได้ และสิ่งที่พวกเขาเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของพวกเขา
Mandela Effect ได้ก่อให้เกิดทฤษฎีและคำอธิบายมากมาย บางคนเชื่อว่ามันเป็นหลักฐานของการมีอยู่ของทฤษฎีจักรวาลคู่ขนานและเรื่องไทม์ไลน์เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังซ้อนทับกันอยู่ หรือไทม์ไลน์เหล่านั้นถูกหลอมรวมให้เป็นไทม์ไลน์เดียวกันอยู่หรือไม่ ในฝั่งของผู้เห็นต่าง พวกเขาก็ให้เหตุผลแย้งว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงผลอันเกิดจากความทรงจำที่ผิดพลาดและเกิดการอุปทานหมู่เมื่อมีผู้ชี้นำ และทำให้เกิดมีผู้ที่คล้อยตามขึ้นมา
และพวกเขาก็ได้ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบของแมนเดลาเอฟเฟคหลาย ๆ เรื่องก็สามารถอธิบายได้ง่ายๆ ด้วยวิธีที่สมองของเราจัดเก็บและดึงข้อมูลที่ผิดพลาดจนทำให้พวกเขาเกิดความสับสนระหว่างเรื่องที่พวกเขาจำได้กับเรื่องพวกเขาจิตนาการว่าสิ่งที่พวกเขาจดจำอาจจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
หนึ่งในตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดของ Mandela Effect คือ Pikachu's Tail ที่หลายต่อหลายคนมีความทรงจำว่าหางของเจ้าหนูไฟฟ้าตัวนี้มันมีสีดำระบายตรงส่วนของปลายหางของมันแบบในรูปซ้ายมือ แต่ในความเป็นจริงเจ้าปิกาจูไม่ได้มีปลาหาสีดำอย่างที่ใคร ๆ จดจำ
อีกตัวอย่างหนึ่งของ Mandela Effect คือการจำเรื่องราวที่โด่งดังจาก Star Wars: Episode V - The Empire Strikes Back ผิด หลายคนเชื่อว่าดาร์ธ เวเดอร์พูดว่า "Luke, I am your father." ทั้งที่จริงๆ แล้วเขาพูดว่า "No, I am your father." คำพูดที่ไม่ถูกต้องนี้แพร่หลายมากจนปัจจุบันมันกลายเป็นคำที่มีการถกเถียงกันว่าจริง ๆ แล้วดาร์ธ เวเดอร์เคยพูดประโยคนั้นว่าอย่างไร และสิ่งที่ผู้คนจดจำกันได้นั้นมันเกิดจากปรากฏการ Mandela Effect จริงๆ หรือเป็นเพียงเพราะมีการเล่าผิดจนเกิดเรื่องนี้ขึ้นมา
ผลกระทบของ Mandela Effect ได้กลายเป็นหัวข้อสนทนายอดนิยมบนสื่อสังคมออนไลน์และฟอรัมออนไลน์ระดับโลก รวมเป็นถึงเว็บไซต์ reddit เว็บไซต์ตั้งกระทู้ออนไลน์ระดับโลกชื่อดังที่ผู้คนจะเข้าไปตั้งคำถามต่าง ๆ เหมือนกับเว็บ pantip ของบ้านเรา โดยมีผู้คนจำนวนมากแบ่งปันประสบการณ์ของตนเองเกี่ยวกับการจำเหตุการณ์หรือรายละเอียดต่างๆ ที่พวกเขาจำได้ในวัยเด็ก
และเรื่องต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปไม่เหมือนกับที่เขาจำได้เมื่อพวกเขาโตขึ้น นอกจากนี้ยังจุดประกายความสนใจใหม่ในการศึกษาเกี่ยวกับความจำและการรับรู้ และวิธีการที่สมองของเราประมวลผลข้อมูลขึ้นมาอีกด้วย
Mandela Effect จึงกลายมาเป็นปรากฏการณ์อันน่าทึ่งที่ก่อให้เกิดคำถามที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับธรรมชาติของความเป็นจริง ความทรงจำ และการรับรู้ ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานของเอกภพคู่ขนานหรือเพียงแค่เรื่องความซับซนของในความทรงจำ และการเกิดอุปทานหมู่ในกลุ่มผู้คนที่ถูกตั้งคำถามเชิงชี้นำ
แต่ไม่ว่าความเป็นจริงจะเป็นอย่างไร ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า Mandela Effect กลายเป็นสิ่งที่ได้ดึงดูดจินตนาการของผู้คนมากมายทั่วโลก ไม่ว่าคุณจะเชื่อในผลกระทบของแมนเดลาหรือไม่ก็ตาม เรื่องราวนี้ก็ได้กลายเป็นที่ถกเถียงพูดคุยกันเป็นวงกว้างในโลกอินเตอร์ไปเป็นที่เรียบร้อย
ท้ายที่สุด การถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องราวของ Mandela Effect หลาย ๆ คนในโลกอินเตอร์เน็ตก็ทำให้มีการทฤษฎีสมคบคิดขึ้นมาหลาย ๆ ทฤษฎี เป็นต้นว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดอาจเกิดจาก อาจจะมีความทรงจำจากอีก Multiverse ที่ไหลเข้ามารวมกับความทรงจำเดิมที่ผู้คนมีอยู่แล้วจากเหตุการณ์บางอย่างจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันของสองความทรงจำ
อีกทฤษฎีกล่าวว่า จริง ๆ แล้วเราอาจจะอยู่ในโลกเสมือนเหมือน ที่เหมือนกับ The sim และเราอาจจะเป็นเพียงหนึ่งในตัวละครที่อยู่ในนั้น และเหตุการณ์ Mandela Effect ก็เกิดขึ้นเมื่อมีการ Update Patch ในโลกเสมือนนั้นที่เรื่องราวบางอย่างอาจเป็นไปหลังมีการอัพเดท แต่ว่าอาจมีผู้คนในโลกเสมือนบางคนยังคงมีความทรงจำแบบเดิม แทนที่จะเป็นความทรงจำแบบใหม่หลังจากการ Update Patch
แล้วเพื่อน ๆ คิดว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไร Mandela Effect มีจริงหรือไม่ และเพื่อน ๆ เคยมีประสบการณ์หรือความทรงจำอะไรแปลก ๆ ที่คิดว่ามันเกิดข้องกับเรื่อง Mandela Effect บางไหมเอ่ย เคยลองค้นหา Mandela Effect ใน Google แล้วเทียบดูไหมว่าความทรงจำของคุณมีอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่านะ 😱😨😱

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา