Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แพนด้า5บาท
•
ติดตาม
6 พ.ค. 2023 เวลา 03:30 • บันเทิง
ตราปศุปติ(Pashupati seal)
ตอนที่ 2 ดราวิเดียน(Dravidian)
พระปศุปติ คือเทพผู้เป็นเจ้าแห่งสัตว์ และเป็นปางหนึ่งของพระศิวะ หลักฐานการเคารพบูชาพระปศุปติย้อนกลับไปได้ถึงประมาณ 2,300-2,000 ปีก่อนก่อนคริสต์ศักราช จากการค้นพบตราประทับรูปชายสวมหมวกทรงสูงประดับด้วยเขาสัตว์ขนาดใหญ่ นั่งอยู่ในท่าสมาธิและมีเหล่าสัตว์รายล้อม ตราประทับนี้พบที่เมืองโบราณโมเฮนโจ-ดาโร ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของเมืองลาร์กานะฮ์, แคว้นสิทธ์, ประเทศปากีสถาน
เมืองโบราณโมเฮนโจ-ดาโร เป็นหนึ่งในเมืองโบราณของแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(The Indus Valley Civilisation) ซึ่งเป็นอารยธรรมยุคสำริด ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนการเข้ามาของพวกอารยัน หากชายที่อยู่บนตราประทับคือพระปศุปติร่างอวตารหนึ่งของพระศิวะจริงนั่นก็หมายความว่าพระปศุปติหรือพระศิวะอาจจะไม่ใช่เทพดั้งเดิมของชาวอารยันแต่เป็นเทพโบราณของชาวดราวิเดียน (Dravidian) แห่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
แล้วชาวดราวิเดียนเป็นใคร พวกเขาใช่ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของอินเดียจริงๆ หรือพวกเขาอพยพมาจากที่อื่น หรือเป็นการผสมกลมกลืนกันของผู้คนหลากหลายแห่ง
ชาวดราวิเดียน
ในเดือน มีนาคม ปี 2018 เดวิด ไรคห์ นักพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับนักวิชาการหลากหลายสาขาจากทั่วโลกรวม 92 คน ได้เผยแพร่ผลจากการวิจัยโครงสร้างพันธุกรรมของบริเวณภาคกลางและใต้ของทวีปเอเชีย(The Genomic Formation of South and Central Asia) โครงการวิจัยนี้ใช้วิธีการพิสูจน์ดีเอ็นเอ (DNA) หรือสารพันธุกรรมจากยุคโบราณ เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรสมัยโบราณ
1
การวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของมนุษย์จากยุคโบราณจำนวน 612 ตัวอย่าง จากหลากหลายแหล่งที่มาทั้งในอิหร่านตะวันออก, อุเบกิซสถาน, เติร์กเมนิสถาน, คาซัคสถาน รวมไปถึงในเอเชียใต้ เปรียบเทียบกับข้อมูลทางพันธุกรรมของชาวอินเดียในปัจจุบันจากแหล่งที่มาที่แตกต่างกันจำนวน 362 คน ได้ว่าสรุปว่า
ในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา มีการอพยพครั้งใหญ่สองระลอกเข้ามาในอนุทวีปอินเดีย(บังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย, มัลดีฟส์, เนปาล, ปากีสถาน และศรีลังกา) ก่อนการอพยพครั้งใหญ่แผ่นดินอนุทวีปอินเดียไม่ได้ว่างปล่าวแต่มีชาวพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ชื่อกันว่านักล่าสัตว์ชาวเอเชียใต้เหล่านี้พวกเขาเดินทางจากแอฟริกามาถึงอนุทวีปอินเดียตั้งแต่เมื่อ65,000 ปีก่อนตามทฤษฎี Out of Africa
การอพยพของคนต่างถิ่นระลอกแรกก็เกิดขึ้นในช่วง 7,000 - 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ผู้คนจากจากเทือกเขาซากรอส(Zagros)ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่านซึ่งเป็นสถานที่ปรากฏหลักฐานการเลี้ยงแพะเป็นแห่งแรกของโลกได้เดินทางเข้าสู่อนุทวีปอินเดีย ชาวซากรอสเข้ามาพร้อมกับความรู้เรื่องเกษตรกรรม เช่นการปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และการเลี้ยงสัตว์ การผสมผสานกันของชาวซากรอสและชนพื้นเมืองทำให้เกิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุขึ้น
การอพยพระลอกที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อราว2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาวอารยันเดินทางจากแถบทุ่งหญ้าสเตปป์ในปัจจุบันคือบริเวณประเทศคาซัคสถาน พวกเขาเดินทางมาถึงอินเดียพร้อมด้วยภาษาสันสกฤตยุคแรก ด้วยความรู้ในการควบคุมม้า พระเวท และพิธีกรรมต่างๆ เช่น การบูชายัญ ว่ากันว่าช่วงเวลาที่พวกเขาเดินทางเข้ามานั้นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุได้ล่มสลายไปแล้วจากการสภาพอากาศและการเปลี่ยนทิศของแม่น้ำ
ผลการศึกษายังทำให้ทราบว่ามีประชากรกลุ่มหนึ่งอพยพจากบริเวณกลุ่มแม่น้ำสินธุลงไปทางใต้ และผสมกลมกลืนเข้ากับชนพื้นเมืองดั้งเดิมทางตอนใต้อีกครั้ง และพวกเขาเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นบรรพบุรุษของชาวอินเดียใต้ ในขณะที่พวกอารยันผสมกลมกลืนเข้ากับชาวลุ่มแม่น้ำสินธุ พวกเขาเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นบรรพบุรุษของชาวอินเดียเหนือ เมื่อวันเวลาผ่านไปชาวอินเดียเหนือและอินเดียใต้ก็ ผสมผสานกันจนกลายเป็นประชากรชาวอินเดียปัจจุบัน
นอกจากนี้การศึกษาทางด้านพันธุกรรมยังพบว่ามีผู้อพยพที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติกที่เดินทางมาจากแถบอุษาคเนย์อีกด้วยซึ่งในประเด็นนี้ก็ยังคงเป็นปริศนาอยู่ว่าชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหล่านี้เคลื่อนย้ายเข้ามาในอินเดียด้วยเหตุผลอะไร
ชาวซากรอส
หลังสิ้นสุดยุคน้ำแข็งโลกเริ่มอบอุ่นขึ้นมนุษย์ก็เริ่มเคลื่อนย้ายตัวเองลงมาจากถ้ำตามภูเขาสู่การล่าสัตว์และเก็บของป่าตามพื้นราบ และพัฒนาไปสู่การการตั้งถิ่นฐาน การเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ในที่สุด การทำเกษตรกรรมในตะวันออกกลางแถบดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์(the Fertile Crescent)เกิดขึ้นเมื่อราว 10,000 ปีก่อน จากนั้นจึงแพร่กระจายสู่ลุ่มแม่น้ำสินธุในอีก 3,000 ปีต่อมา (7,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช)โดยผู้คนจากเทือกเขาซากรอส
เทือกเขาซากรอส เทือกเขาที่มีความยาวรวม 1,600 กิโลเมตร ทอดยาวจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน ผ่านด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ตะวันออกเฉียงเหนือของอิรัก และทอดยาวต่อไปทางตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ของอ่าวเปอร์เซีย
เทือกเขาซากรอสเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณมีการพบโครงกระดูกมนุษย์เก่าแก่ไปถึง65,000–35,000 ปีก่อน และยังอยู่ใกล้เคียงกับดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมยุคแรกอีกด้วย การที่ผู้คนจากเทือกเขาซากรอสจะรู้จักวิธีการเพาะปลูก และพวกเขาพยายามอพยพเคลื่อนย้ายตัวเองลงมาจากภูเขาเพื่อหาดินแดนที่เหมาะสมในการตั้งรกรากแบบชุมชนเกษตรกรรม
โดยในระยะแรกเริ่มของการทำเกษตรกรรมเชื่อว่าเกิดขึ้นจากบริเวณไหล่เขาก่อน(Hilly Flanks) แล้วค่อยๆขยายลงสู่ที่ราบลุ่มในเวลาต่อมา และเข้าสู่ดินแดนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำในที่สุด
ในขณะที่ในดินแดนอนุทวีปอินเดียเองก็มีหลักฐานการอยู่อาศัยของผู้คนตั้งแต่สมัยยุคหินเก่า(Lower Palaeolithic) การจะระบุช่วงเวลาในการมาถึงขอผู้อพยพจากเทือกเขาซากรอสอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แนวคิดเรื่องช่วงเวลาในการอพยพเข้ามายังดินแดนอนุทวีปอินเดียของชาวเทือกเขาซากรอสนั้นถูกเชื่อมโยงเข้ากับชุมชนเกษตรกรรมยุคแรกๆบริเวณตอนบนของแม่น้ำสินธุ Mehrgarh และ Bhirrana หมู่บ้านเกษตรกรรมเล็กๆบริเวณตอนบนของลุ่มแม่น้ำสินธุหมู่บ้านเหล่านี้มีความเก่าแก่อยู่ในช่วง 7,000-5,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Mehrgarh ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำสินธุใกล้กับช่องเขาโบลันปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ส่วน Bhirrana ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสินธุปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอินเดีย เชื่อกันว่าชุมชนทั้ง 2 จะเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นๆของวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ก่อนที่จะมีความเจริญสูงสุดในช่วง 3,300 -1,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สิ่งที่น่าสนใจในหมู่บ้านโบราณเล่านี้คือการพบตุ๊กตาผู้หญิง ตุ๊กตาผู้หญิงหลายชิ้นอยู่ในท่าทางกำลังอุ้มทารก ตุ๊กตาเหล่านี้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดเรื่องการบูชาเทพธิดา(mother goddess) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องการถือกำเนิด ความอุดมสมบูรณ์ และการทำการเกษตร ตุ๊กตาเหล่านี้อาจมีความเชื่อมโยงถึงการนับถือเทพผู้เป็นสตรีของผู้คนในสมัยต่อๆมา
การนำเรื่องราวของบทความในตอนนี้แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้นหาที่มาของปริศนามนุษย์ที่สลักอยู่บนตราประทับปศุปติเลย แต่เนื้อเหล่านี้หาคงพอให้ผู้อ่านได้เห็นภาพเบื้องต้นไม่มากก็น้อยของกลุ่มผู้คนที่อาจจะเป็นบรรพบุรุษของชาวอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในสมัยที่ตราประทับปศุปติถูกสร้างขึ้น
Credit
เนื้อหา
https://en.wikipedia.org/wiki/Pashupati_seal
https://www.bbc.com/thai/thailand-46849203
https://ngthai.com/history/10228/the-origins-of-ancient-indians/
https://en.wikipedia.org/wiki/Religion_of_the_Indus_Valley_Civilization
https://en.wikipedia.org/wiki/Indus_Valley_Civilisation
https://en.wikipedia.org/wiki/Mehrgarh
https://en.wikipedia.org/wiki/Zagros_Mountains
https://en.wikipedia.org/wiki/Neolithic_Revolution
https://en.wikipedia.org/wiki/Hilly_Flanks
https://en.wikipedia.org/wiki/Pre-Pottery_Neolithic_A
https://99notes.in/upsc-notes/general-studies-1/history/ancient-india/the-stone-age/
รูป
https://blogs.brown.edu/arch-0760-s01-2019-spring/2019/03/23/mohenjo-daro-a-city-ahead-of-its-time/
https://www.wikiwand.com/th/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AA
https://www.facebook.com/AncientPakistan.pk/photos/photo-reconstruction-of-a-mehrgarh-house-early-farming-communities-of-the-indus-/1813902908669685/
https://archaeology-pak.blogspot.com/2012/10/mehrgarh-7000-bc-2500-bc.html
เรื่องเล่า
เรื่องเล่าจากดาวนี้
ประวัติศาสตร์
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย