Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
7 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • สุขภาพ
"หลอดเลือดโป่งปอง" และความสำคัญของความดันโลหิต
เรื่องชวนคุยวันนี้ส่งตรงจากคุณย่าผมเองครับ เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปีที่ท่านจากไป เลยอยากหยิบเรื่องนี้มาคุยเพื่อเป็นอุทาหรห์ครับ
ภาพแสดงหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
เราทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่าการไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ(ที่นี่เราจะไม่พูดเรื่อง Norm ของสังคมนะครับ) แต่ที่ผมกำลังจะพูดต่อไปนี้ คือความสำคัญที่เชื่อมโยงพฤติกรรมชีวิตกับความเป็นไปของระบบหัวใจและหลอดเลือดของร่ายกาย ซึ่งเอาจริงๆมีหลายปัจจัยมาก ทั้งน้ำหนักตัว ไขมันดี(HDL-C) ไขมันเลว(LDL-C) และอีกหลายปัจจัย แต่สิ่งที่สำคัญที่เป็นตัวชี้วัดสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดเราที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เรากลังพูดถึง"ความดันโลหิต" ครับ
ภาพถ่ายรังสีหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
ผมพูดมาขนาดนี้ คุณย่าผมไม่ได้ดื่มเหล้านะครับ ไม่ได้สูบบุหรี่ด้วย ท่านแข็งแรงมาก ถูกยกย่องว่าเป็นหญิงเหล็กในยุคนั้นเลย ตำนานที่ท่านถูกกล่าวขานคือท่านเป็นคนแรกในตระกูลที่ถูกผ่าหัวใจทำ bypass โดยการเอาหัวใจออกมาวางนอกตัวซึ่ง ณ วันนั้นเป็นเรื่องฮือฮามาก ท่านเป็นชาวสวน ขยันขันแข็ง หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ท่านเสียชีวิตในวัยถึง 98 ด้วยภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
ภาพเปรียบเทียบหลอดเลือดแดงใหญ่ปกติ(ซ้าย) และหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง(ขวา)
"ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง" หรือภาวะหลอดเลือดเอออร์ตาร์โป่งพอง หรือที่หมอคาร์ดิโอบางท่านเรียกว่า "3A" ไม่ใช่ถ่านนะ แต่เป็น Abdominal aortic aneurysms เป็นอาการที่เส้นเลือดเอออร์ตา(Aorta)ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆโป่งพองออกมามากกว่าปกติ ซึ่งมีโอกาสพบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มักพบในเพศชายสูงอายุที่สูบบุหรี่ หรือมีโรคร่วม
2
ภาพถ่ายรังสีหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
โดยอาการของโรคนี้มักไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้อง ปวดหลังและสีข้าง อาจจะคลำพบก้อนในท้องหรือบังเอิญพบโดยการฉายภาพรังสี ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยการผ่าตัด หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้
ภาพถ่ายรังสีหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคดังกล่าว อยู่ที่เรื่องของความดันโลหิต เนื่องจากการที่ร่างกายมีความดันโลหิตสูงอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีการควบคุม นอกจากจะทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวข้องอย่างมึนหัว ปวดหัว ใจสั่น หมดสติแล้ว การที่ความดันโลหิตสูงมากๆเป็นเวลานาน ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโหลดเลือด Aorta ที่รับความดันเลือดสูงสุดจากหัวใจ
ภาพเปรียบเทียบหลอดเลือดปกติกับหลอดเลือดที่ศูนย์เสียความยืดหยุ่น
เมื่อรับแรงดันมากๆ ทำให้หลอดเลือดเสียหาย การซ่อมแซมของร่ายกายนั้นนอกจากจะไม่ช่วยมีมีประสิทธิภาพเท่าเดิม ยังทำให้พื้นที่ในการรับแรงดันลดลง นานวันเข้าหลอดเลือดจะยิ่งพองออก สุดท้ายผู้ป่วยจะเข้าโรงพยาบาลด้วยภาวะความดันลดต่ำจากการมีเลือดไหลออกจากบริเวณที่มีการโป่งพอง หากไม่สามารถผ่าตัดได้ทัน ก็จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
ดังนั้น หากไม่อยากตกอยู่ในภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง สิ่งที่เราต้องทำคือพยายามควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ควรอยู่(แล้วแต่กรณี) ในคนปกติก็งดเว้นการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักๆของโรคความดันโลหิตสูง และหมั่นตรวจสุขภาพอยู่เสมอ ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงก็หมั่นทานยาให้ตรงเวลาทุกวัน ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด
ปล. กรณีของคุณย่าผมเกิดจากภาวะชรานะครับ ตอนที่พบภาวะดังกล่าวท่านก็แก่มากๆแล้ว สู้ไม่ไหวจริงๆ คนหนุ่มๆอย่างเราก็ดูแลตัวเองให้ดีนะครับ
ด้วยความห่วงใย
เพจหมอยาเดินไพร
อ้างอิง
1.
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0168827817323358
2.
https://www.msdmanuals.com/professional/cardiovascular-disorders/diseases-of-the-aorta-and-its-branches/abdominal-aortic-aneurysms-aaa
3.
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=845
การแพทย์
เจ็บป่วย
โรคหัวใจและหลอดเลือด
3 บันทึก
7
6
4
3
7
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย