6 พ.ค. 2023 เวลา 15:20 • การศึกษา
สามัคคีคือ
1) “พลังงานศักย์”
ผมจำ
“กฎแห่งการอนุรักษ์พลังงาน”
ได้คร่าวๆ ประมาณว่า
“พลังงานไม่ได้สูญหาย แต่พลังงานจะเปลี่ยนรูปได้!”
1
โมเลกุล/อะตอม ของ “ไฮโดรเจน” (H) สองหน่วย เมื่อมาจับมือสามัคคีกับของ “ออกซิเจน” (O) หนึ่งหน่วย ก็จะได้
H2O
ซึ่งก็คือ “นำ้” นั่นเอง
นำ้ในเขื่อนที่อยู่ในระดับความสูงก็จะมี
“พลังงานศักย์โน้มถ่วง” มากขึ้นตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น
ผมขอยกตัวอย่างสูตรที่เข้าใจง่ายๆดังนี้
P = pgh
โดย
P คือ แรงดันน้ำ
p คือ ความหนาแน่นของนำ้
g คือ ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก
h คือ ระดับความ สูง/ลึก
เมื่อเราต้องการผลิตกระแสไฟฟ้า
เราจะปล่อยนำ้ในเขื่อนให้ไหลผ่าน
“กังหัน” (Turbine)
โดยกังหันจะมีแกนต่อกับขดลวดที่ใช้สร้างกระแสไฟฟ้า
และนี่เองที่
พลังงานศักย์โน้มถ่วงแปรไปเป็นพลังงานจลน์
แล้วพลังงานจลย์ก็ถูกเปลี่ยนไปเป็น
พลังงานไฟฟ้า!
2) “พลังงานจลน์”
“เกียร์” (Gear) หรือ “เฟือง”
คือกลไกที่ใช้ถ่ายทอด
“พลังงานจลน์”
จากเพลาหนึ่งไปยังอีกเพลาหนึ่ง
ถ้าเกียร์สูญเสีย “ความสามัคคี” เช่น
มี “ฟันเกียร์” ชำรุดไปแค่ส่วนเดียว!
ระบบเกียร์ทั้งหมดจะทำงานได้ไม่ราบรื่นหรือถึงขั้นหยุดทำงาน!
โฆษณา