9 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • สุขภาพ

"ไตผุ...กระดูกพัง" เรื่องวุ่นๆของกระดูกและไต

ไต เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากอวัยวะหนึ่งในร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมสมดุลของเกลือแร่และฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินดี และพาราไทรอยด์ฮอร์โมน เมื่อไตทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนหลายชนิดและเกลือแร่ในร่างกาย ซึ่งมีหลายอวัยวะในร่างกายที่ได้รับ
ผลกระทบ
แบบจำลองของภาวะกระดูกพรุน
โดยมีหลายการศึกษาที่พบว่า เมื่อไตทำงานผิดปกติ (หลายการศึกษาบอกว่าตั้งแต่ระยะ 3a เป็นต้นไปจะเห็นชัด) จะทำให้ไตที่มีหน้าที่ขับฟอสฟอรัสไม่สามารถขับได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับไตมีหน้าที่ผลิตวิตามิน D (รูป Active form) ผลิตได้ลดลง
โดย วิตามิน D ทำหน้าที่กระตุ้นให้ลำไส้ดูดแคลแซมจากอาหารเข้าสู่ร่างกาย พอไตผลิตวิตามิน D ได้ลดลง การดูดซัมแคลเซียมทำได้ลดลง ทำให้มีแคลเซียมไปเสริมการสร้างกระดูกใหม่(กระดูกมีการชำรุดแหละสร้างใหม่ตลอดเวลา) ลดลง
ประกอบกับภาวะฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต่อมพาราไทรอยด์มีการสลายแคลเซียมจากกระดูกมาเพิ่มชดเชยฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นการเร่งการสลายมวลกระดูก เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดกระดูกพรุน ทำให้กระดูกหักได้ในอนาคต
แผนภาพแสดงการทำงานของไตกับการผลิตวิตามินดี
จากภาพที่ 2 ยิ่งภาวะความผิดปกติของไตมาแนวโน้มแย่ลง(ซ้ายไปขวา) ระดับวิตามิน D ที่ใช้ดูดซึมแคลเซียมจะลดลงตามไปด้วย สวนทางกับระดับฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้น เร่งการสลายแคลเซียมจากกระดูก ทำให้มวลกระดูกน้อยลงเรื่อยๆ
ดังนั้นนอกจากการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สิ่งที่มีประโยชน์มากกว่าคือการดูแลร่างกายและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หลายอย่างในร่างกายที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถย้อนกลับไปเหมือนเดิมได้ การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นการลดอาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ลดการดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และควบคุมน้ำหนัก ก็เป็นสิ่งที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงได้ทางหนึ่ง
1
ด้วยความห่วงใย
เพจหมอยาเดินไพร
โฆษณา