9 พ.ค. 2023 เวลา 15:26 • สุขภาพ

ผื่นกุหลาบ ห้ามกินอะไร สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา?

ผื่นกุหลาบ (Pityriasis rosea : PR) หรือ โรคผื่นร้อยวัน, โรคผื่นกลีบกุหลาบ, ผื่นขุยกุหลาบ คือ โรคทางผิวหนังที่สามารถพบได้บ่อยอย่างมากในช่วงวัย อายุ 10-35 ปี เป็นภาวะที่ทำให้เกิดผื่นแดงชั่วคราวตามร่างกาย สามารถเกิดได้ในบริเวณหน้าอก, หลัง, ต้นแขน, ต้นขา, ลำคอ และหน้าท้อง มีลักษณะคล้ายกลากหรือผื่นแพ้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการสับสนได้เมื่อพบเจอ และเป็นโรคทางผิวหนังที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูฝน
การวินิจฉัยแยกโรค สำหรับผื่นกุหลาบ (Pityriasis rosea)แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม เมื่อผื่นมีความผิดปกติ เนื่องจากมีโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดลักษณะผื่นที่คล้ายกับโรคผื่นกุหลาบ การวินิจฉัยแยกโรคโดยแพทย์จึงทำขึ้นเพื่อการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมในขั้นตอนต่อไป โดยเราได้ยกตัวอย่างการวินิจฉัยแยกโรคบางส่วน ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเกิดผื่นมาเป็นข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
ไลเคน พลานัส (Lichen Planus) ภาวะอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เนื่องจาก ผื่นกุหลาบ กับ สะเก็ดเงิน มีลักษณะผื่นที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันซิฟิลิสทุติยภูมิ (Syphilis)
รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) ที่ลักษณะของ ผื่นกุหลาบ เอดส์ ลักษณะของผื่นอาจมีความคล้ายกันได้ผื่นกลากน้ำนม (Pityriasis Alba) ที่พบได้บ่อยในเด็กเกลื้อน (Pityriasis versicolor) โรคเชื้อราของผิวหนังชั้นตื้นอีริทิมามัลติฟอร์เม (Erythema Multiforme: EM)
โรคที่เกิดจากการอักเสบเฉียบพลันยาที่อาจทำให้เกิดผื่น ที่มีลักษณะคล้ายผื่นกุหลาบสารประกอบอาร์เซนิก (Arsenic)กลุ่มยาบาร์บิทูเรตส์ (Barbiturates)วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Recombivax-HB)โคลนิดีน (Catapres, Catapres-TTS)อิมาทินิบ เมสิเลท (Imatinib mesilate)
โฆษณา