Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Kate MewMew
•
ติดตาม
10 พ.ค. 2023 เวลา 11:38 • การเมือง
รู้ว่าช่วงนี้มีคนคิดถึงแหละ 5555
โอเค !! มาาาา เคทจะวิเคราะห์เลือกตั้งให้ฟังแบบละเอียด โดยใช้หลักการมิ้วๆสไตล์
1
ปัจจุบันประชากรไทยราว 66 ล้านคน
เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประมาณ 52 ล้านคน
รอบนี้เคทประเมินว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ์ราว 75 - 80%
เท่ากับมีผู้ใช้สิทธิ์ระหว่าง 39-42 ล้านคน
เคทจะขอแบ่งช่วงอายุที่มีผลต่อการเลือกตั้งโดย
นัยสำคัญ แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลักใหญ่ ดังนี้นะคะ
1) ช่วงอายุระหว่าง 18-25 ปี ที่เป็นฐานเจน Z ราวๆเกือบ 7 ล้านคน ตีกลมๆที่ 13% กลุ่มนี้จะเรียกว่า NEW VOTERS หรือ FIRST VOTE คือกลุ่มที่ยังไม่เคยเลือกตั้งซึ่งมีเกินครึ่ง (บางส่วนเคยเลือกตั้งท้องถิ่นแล้ว)
โดยนัยสำคัญ หากตัด กทม ออกไป กลุ่ม FV ในภาคใต้ถือว่าเยอะสุด หากนับเป็นเปอร์เซ็นต์ และภาคเหนือคือ น้อยสุด
2) ช่วงอายุระหว่าง 26-41 ปี ที่เป็นฐานเจน Y มี 15 ล้าน หรือราว 29%
กลุ่มนี้เคทจะขอเรียกว่า SWING VOTE เหตุผลคือ เป็น
กลุ่มที่มีโอกาสผลิกขั้วได้มากที่สุด เนื่องจากการตัดสินใจเลือกในบริบทเมื่อ 4 ปีที่แล้ว มีความแตกต่างในบริบทปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้กลุ่มนี้โอกาส swing สูงที่สุด
ทั้งการที่ส่วนหนึ่งกลุ่มนี้เคยเป็นผู้เลือกหน้าใหม่มาก่อน (FV) การอยู่ในสภาวะกติกาที่แตกต่าง ตลอดจนการได้เฝ้าและสังเกตุเห็นการเปลี่ยนผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ด้วยวุฒิภาวะที่เติบโตขึ้น การตัดสินใจเมื่อ 4 ปีก่อนจึงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนสูง ไม่ว่าจะเคยอยู่ฝ่ายไหนมา รอบนี้มีโอกาสข้าวขั้วการเมือง รวมถึง การเลือกขั้วเดิมแต่สลับพรรคสูงมาก
3) ช่วงอายุระหว่าง 42-57 หรือ เจน X มี 16 ล้าน หรือราว 31%
กลุ่มนี้เคทจะขอเรียกว่า EVALUTION VOTE ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจประกอบในการเลือกมากที่สุด และมองเรื่องกลยุทธ์(strategy) เป็นหลัก ซึ่งลักษณะนี้ก็จะพบในกลุ่มเจน Y ช่วงปลาย เช่นกัน
4) ช่วงอายุระหว่าง 58-76 หรือ Boomers มี 12 ล้าน ราว 23%
กลุ่มนี้ เคทมองว่าเป็น LOYALTY VOTE กลุ่มนี้จะรักแล้วรักเลย มีความผูกพันธ์กับพรรคการเมือง โอกาสเปลี่ยนยาก ฐานมั่นเดิมของกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็น พท กับ ปชป ซึ่ง ปัจจุบัน พท มีฐานเสียงเยอะกว่ามากในกลุ่มนี้ แต่หากแบ่งเป็นขั้วลัทธิการเมืองในกลุ่มนี้ จะชัดมากระหว่าง ฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา ความเป็นกลางจะน้อยมากในกลุ่มนี้
อีกกลุ่มที่เป็นกลุ่มเล็ก แยกออกมา เคทจัดว่าเป็น Silent Vote อายุ 77ปีขึ้นไป มี 2 ล้าน หรือราว 4% ซึ่งโอกาสที่กลุ่มนี้จะมาใช้สิทธิถึง 50% นั้นมีน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ
จากข้อมูลเบื้องต้น ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า ยุทธศาสตร์รอบนี้ ตัดสินกันจริงๆที่ กลุ่มเจน X-Y
_________________________________
ที่ผ่านมาในอดีตการเลือกตั้งแบ่งเป็นขั้วการเมืองใหญ่ 2 ฝั่ง ระหว่างฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาที่ตัวเลขไม่ห่างกันมาก
แต่...ปัจจุบัน ประเมินว่า ฝ่ายซ้ายหรือ เสรีนิยม มีคะแนนเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นคะแนนที่เพิ่มมาจากกลุ่ม FV ซึ่งอยู่ในระดับ 70-30 เลยทีเดียว
เคทประเมินว่า ฝ่ายซ้ายจะมีคะแนนรอบนี้อยู่ที่ 45%
แตะ 17-19 ล้านคะแนนเลยทีเดียว !!! (โดยในเงื่อนไขที่ว่า กลุ่ม FV ต้องออกมาใช้สิทธิ์ให้มากที่สุดระดับ 75% ขึ้นไป) ซึ่งจะเยอะที่สุดเป็นประวัติการณ์
ฝ่ายขวา ประเมินว่ามีคะแนนอยู่ที่ 35 %
ราวๆ 14-15 ล้าน
และคะแนนที่ไม่จัดเป็น ขั้วการเมืองโดยนิยาม ซ้าย-ขวา (ตามแบบฉบับของมิ้วๆนะ) ราวๆ 15 % ซึ่งมีประมาณ 5-6 ล้านคะแนนเลยทีเดียว
คะแนนกลุ่มนี้ มีลักษณะกระจัดมาก มีหลายกลุ่มก้อนประกอบกัน เช่น กลุ่มที่ไม่ได้สนใจพรรค แต่เน้นตัวบุคคลหรือ ส.ส เป็นหลัก กลุ่มที่สนใจพรรคอุดมการณ์แต่ไม่เอาพรรคใหญ่ เอาพรรคท้องถิ่น หรือ กลุ่มจัดตั้งเฉพาะ กลุ่มทางเลือกใหม่
ฯลฯ
ส่วน 5% ที่เหลือ หรือราวๆ 2ล้านคน เคทจัดให้เป็นกลุ่มผู้เลือกไม่ลงคะแนนและรวมถึงคะแนนเสีย บัตรเสีย ซึ่งรวมๆ เกินล้านทุกปี
เมื่อเอาเปอร์เซ็นต์จากตัวเลขที่ยกมา มาจัดวางในรูปสมการวงกลมแบบอินเตอร์เซก( วงกลมที่ซ้อนทับกัน ) จะได้เป็นฝั่งซ้าย 45% ขวา 35%
เท่ากับว่า วงกลมอินเตอร์เซกตรงกลางจะมีค่าเพิ่มขึ้น ระดับ 20% นั่นหมายถึงคะแนนเสียงระดับ 7 ล้านกว่าคะแนน !!
ตรงนี้แหละ ที่จะเป็นตัวเปลี่ยน ตัวพลิก ผลการเลือกตั้ง อย่างมีนัยสำคัญ
_____________________________
1
ทีนี้มาวิเคราะห์กัน .......
ว่าพรรคไหนจะได้คะแนนเท่าไหร่กันบ้าง
อย่างแรก สูตรคำนวนใหม่จะคิดในระบบเลือก ส.ส.500 ที่นั่ง
โดยแบ่งเป็น (400เขต/ปาร์ตี้ลิสต์100)
คะแนนปาร์ตี้รอบนี้จะมาจาก คะแนนผู้เลือกตั้งสมบูรณ์ทั้งหมดที่มาใช้สิทธิ์
แล้ว หาร ด้วย 100 = ส.ส. 1 ที่นั่ง
สมมุติ เช่น คะแนนสมบูรณ์ 38ล้าน (โดยประมาณ) หาร 100 จะได้ 3.8 แสน คะแนน ต่อ ส.ส. 1 ที่นั่ง แต่คิดว่าคะแนนสมบูรณ์รอบนี้น่าจะอยู่ราวๆ 3.6 แสนต่อ 1 ที่นั่งปาร์ตี้
_____________________________________
เริ่มที่ เพื่อไทย ก่อนละกัน ฐานะพรรคที่จะมาอันดับ 1
- เพื่อไทย ปีนี้ส่ง ส.ส. ลงทุกเขต นั่นหมายความว่า คะแนน ปาร์ตี้ลิสต์ของเพื่อไทยรอบนี้จะ สวิงกลับมา
จุดแข็ง - ด้วยความเป็นพรรคใหญ่ และเป็นพรรคที่ขับเคลื่อนด้วยนโยบายทางการเมืองมาตลอด 20 กว่าปี แบรนด์ของเพื่อไทยจึงมีความแข็งแกร่งมาก มีฐานเสียงกลุ่ม LOYALTY VOTE ที่เหนียวแน่นไม่ต่ำกว่า 8 ล้านเสียง
( ซึ่งช่วงพีคๆ เพื่อไทยมีคะแนนถึง 15ล้านเสียง และสมัยรุ่งเรืองยุคทักษิณมีคะแนนถึง 20 ล้านเสียง )
จุดอ่อน - ความเบื่อหน่ายและกังวลปัญหาการเมืองแบบเดิมๆที่อาจจะวน
ลูปมาอีกครั้ง อีกทั้งการมาของ ก้าวไกล ทำให้คะแนนเพื่อไทยแกว่งไปพอสมควร อนาคตการจะขยายฐานเสียงก็ยิ่งยากขึ้น โอกาสสำคัญคือ ครั้งนี้ต้องมีผลงานที่ดีจริงๆ แล้วคะแนนจะสวิงกลับมาแน่นอน
ครั้งที่แล้วทฤษฎีแตกพรรคย่อยทำให้เพื่อไทยเสียฐานคะแนนเสียงเดิม เนื่องจากไม่ได้ส่ง ส.ส.เขตถึง 100เขต ทำให้คะแนนกระจายให้พรรคอื่นๆในขั้วเดียวกัน และโดยเฉพาะ จังหวัดแพร่ ที่ยกให้ ทษช แต่ ทษช โดนยุบทำให้คะแนนหายไปถึง 2 ที่นั่ง ราว3แสนคะแนน
และโดนดูด ส.ส. ไปถึง 66 คน จากพรรคร่วมรัฐบาลที่ผ่านมา
แต่ครั้งนี้ บริบทเปลี่ยนไป การให้สิทธิเลือกตั้ง กา 2 ใบ เป็นเกมที่เข้าทางเพื่อไทย อีกทั้งแก้เกมด้วยการ ดูด ส.ส. ท้องถิ่นตัวจี๊ดกลับมาได้หลายคน
ทำให้คะแนนที่เคยเสียไปมีโอกาสกลับมาได้ส่วนนึง
ประเมินเบื้องต้น เคทว่า เพื่อไทยรอบนี้จะได้ ไม่ต่ำกว่า
9-10 ล้านคะแนน !!
เป็นการดึงคะแนนที่เสียไปให้พรรคต่างๆในขั้วเดิมกลับคืนมา จากการลงครบทุกเขต
จากสมการใหม่ในระบบปาร์ตี้ลิสต์ จะทำให้เพื่อไทยได้ ส.ส. ปาร์ตี้สูงที่สุด ที่จำนวนไม่ต่ำกว่า 25 ที่นั่ง ประเมินไว้สูงสุดที่ 29
ในส่วนของ ส.ส. เขต พท ปี 62 ส่ง ส.ส. แค่ 70% หรือตัวเลขกลมๆคือ 250 แต่ได้มา ถึง 55% หรือ 136 ที่นั่ง นั่นหมายความว่า โอกาสที่จะรักษาที่นั่งเดิมนั้นไม่ยากเลย ประกอบกับปัจจัยสับสนุนที่เพิ่มมาคือ การเพิ่มขึ้นของ ส.ส. เขตจาก 350 เป็น 400 เพิ่มขึ้นมา 15% นั่นก็หมายความว่า ด้วยดัชนีนี้โอกาสที่ เพื่อไทยจะได้ ส.ส. เขต เพิ่มเป็น 155 ที่นั่งขึ้นไปก็เป็นไปได้สูง
อีกปัจจัยสนับสนุนต่อมา คือ ในเขตที่ เพื่อไทยแพ้ครั้งก่อน เพื่อไทยมักได้คะแนนอันดับ 2 ซึ่งในเวลานั้น แพ้ให้กับ พปชร ที่มีกระแสนิยมสูง จากการ "เท"โหวต
แต่ในปัจจุบัน พปชร ความนิยมไม่เท่าเดิม อีกทั้งการแยกตัวจากขั้วเดิมของ รทสช ก็มาตัดคะแนน แต่ฐานเสียงของเพื่อไทยในเขต กลับมีความแข็งแรงสวนทางกัน
สรุป - เพื่อไทยได้ ส.ส. ไม่ต่ำ 180 ที่นั่ง โอกาสพลิกผันที่จะต่ำกว่านี้ให้แค่ 5% ถ้าต่ำกว่านี้ ถือว่า วิกฤต !!
ทีนี้ คำถามสำคัญคือ ในเมื่อไม่ต่ำกว่า 180 ที่นั่ง สูงสุดประเมินที่เท่าไหร่
ตัวเลขสำคัญ อยู่ที่ ส.ส. เขต โอกาสสูงสุดที่จะได้คือ ชนะเขต 200-210 ที่นั่ง
กล่าวคือ ในเขตแข่งขันสูง ที่เพื่อไทยเคยพ่ายไป ด้วยคะแนนไม่เยอะ มีมากถึง 45 เขตเลยทีเดียว ถ้าเรียกคะแนนคืนได้ 200-210 ที่นั่งก็เป็นไปได้
รวมกับปาร์ตี้แล้ว 225 - 230 มีโอกาส
_______________________________________
- พรรคก้าวไกล ตัวเต็งอันดับ 2
จุดแข็ง - ด้วยความที่เป็นแบรนด์ใหม่ ที่เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆจุดยืนชัดเจน มาพร้อมด้วยการสานต่อนโยบายเดิมอย่างการยกเลิกเกณฑ์ทหาร ปฏิรูปกองทัพ นโยบายและภาพลักษณ์ของแบรนด์มีอิทธิพลต่อฐานเสียง อายุ 18-25 กลุ่มนี้มาก (First Voter)
ตัวแบรนด์อยู่ในช่วง ( Growth) ตลาดรู้จักและยอมรับ
- ด้วยความเป็นพรรคการเมืองใหม่ หากเปรียบกับสินค้า จะทำให้สามารถดึงกลุ่มที่อยากทดลองประสบการณ์ใหม่ๆ จุดนี้ทำให้มีโอกาสได้กลุ่ม Swing Vote เพิ่มขึ้นอีก
จุดอ่อน - ด้วยความที่เป็นพรรคการเมืองใหม่และมีแต่นักการเมืองใหม่ ทำให้ไม่มีนักการเมืองท้องถิ่นที่จะสู้ในระบบ เขต เลือกตั้ง ขาดเสียงจัดตั้งที่จะมีผลต่อคะแนนในพื้นที่พอสมควร
-การประกาศจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจนจะทำให้ได้คะแนนจำกัดเฉพาะทางฝ่ายซ้าย โอกาสดึงคะแนนจากกลุ่มทางเลือกสายกลางจะน้อยลง
-การไม่มีผลงานทางการเมืองในอดีตของพรรคและตัวผู้สมัครส่วนใหญ่ทำให้ยากต่อการตัดสินใจเลือกของกลุ่มที่ยังลังเล
ประเมินว่า ฐานคะแนนดั้งเดิมที่ถือว่าเป็นเสาเหล็กของพรรคแบบเหนียวแน่น คือ 3 ล้าน จากการเติบโตได้กลุ่มก้อนใหม่ๆในช่วงเวลา2-3ปีมานี้ทำให้ฐานขยายรวดเร็วขึ้น จาก 3 ล้านเป็น 5 ล้าน
ตัวแปรของก้าวไกลจะอยู่ที่ 2 กลุ่มเป็นหลัก นั่นคือ First Vote หรือ New Voter กับ Swing Vote เป็นหลัก
เมื่อวิเคราะห์ตัวเลข ผู้ใช้สิทธิกลุ่ม New Voter ที่ราวๆ 7 ล้านคน ประเมินว่า 70% ของผู้มาใช้สิทธิ จะได้อยู่ที่ 4.9 ล้านคน ถ้าเอาแบบพีคๆเลือกอนาคตใหม่ที่ 70% ก็จะได้เสียงแตะ 3.4 ล้านคะแนน แต่จากสถิติเดิม...โอกาสยากมากที่จะมีผู้มาใช้สิทธิระดับนั้น จึงขอวิเคราะห์ที่ความเป็นไปได้ที่ 60%=3ล้านเสียง
กลุ่ม Swing Vote ที่คนอายุ 26-41 จำนวน 15 ล้านคน โอกาสสวิงเลือก อนาคตใหม่จะอยู่ที่ราวๆ 2 ล้านคนขึ้นไป
ทำให้เคทประเมินล่าสุดว่า ก้าวไกล มีฐานเสียงอยู่ที่ 9 ล้าน !!! ใช่ค่ะ พอๆกับ เพื่อไทยแล้วตอนนี้ แต่...แต่เป็น 9 ล้านเสียง ที่ยังไม่ได้แปรมาเป็นคะแนน จริง !! (กล่าวคือ เสียงของ ก้าวไกลยังเป็นเสียงที่ไม่แข็งแรงนัก)
ซึ่งต่างกับเพื่อไทยคือ 9-10 ล้านนั้นเป็นคะแนนที่มีฐานตัวเลขการใช้สิทธิ์ที่ชัดจากสมการในอดีต
แต่กับ ก้าวไกลตอนนี้ ยังประเมินตัวเลขใช้สิทธิยากนัก
ดังนั้นถ้าอิงจากฐานเดิม และบวกความเป็นไปได้ ประเมินว่ามีไม่ต่ำกว่า 7 ล้านคะแนน คิดจาก ฐานมั่นเสาเข็มที่ 5 ล้านแน่ๆ และเสียงใหม่ที่จะเข้ามาเติม แต่การจะทะลุ ไป 9 ล้าน จนถึงไป 10 ล้านก็เป็นไปได้ แต่...ไม่ใช่เรื่องง่าย มีโอกาส แต่น่าจะไม่ใช่ตอนนี้
ดังนั้นประเมินความเป็นไปได้ที่ 7.5 ล้านคะแนนก่อน จะได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ 20 ที่นั่ง สูงสุดที่ 23 ที่นั่ง แต่ถ้าขั้วซ้ายและ FV สวิงมา ก้าวไกล เต็มๆ อันนี้ ปาร์ตี้จะขึ้นอันดับ 1 แทนเพื่อไทยได้เลย และในกรณีที่ได้สูสีกับเพื่อไทยที่ 9 ล้านคะแนน ก็จะได้ 25 ที่นั่งเลย
ส.ส. เขต เป็นเกมที่ยากที่สุดของ ก้าวไกล
จุดแข็งของ ก้าวไกไกล คือ คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของพรรคมาจากกลุ่มก้อนทางความคิดเป็นหลัก กระจายตัวในภาพกว้าง ไม่ได้เกิดจากพื้นที่ ท้องถิ่น (ดังนั้นคะแนนปาร์ตี้ลิสต์จึงสูงแต่คะแนนเขตไม่สอดคล้อง)
ด้วยฐานที่มั่นของ ก้าวไกล อยู่ในภาพของชนชั้นกลางเป็นหลัก ดังนั้น คะแนนเขต ที่จะได้ จะเป็นหัวเมืองใหญ่ ปริมณฑลใหญ่ ที่มีกลุ่มก้อนของชนชั้นกลางอาศัยจะมีโอกาสมากที่สุด เช่น กทม สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี เชียงใหม่ อุบล อุดร หรือ ภูเก็ต เป็นต้น
แต่ จังหวัดอื่นๆได้ยากมาก เพราะฐานคะแนนกระจาย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ในหนึ่งจังหวัด มีประชากร 1 ล้าน แต่ถูกแบ่งไป 10 เขต แม้กลุ่มก้อนในจังหวัดจะเลือก ก้าวไกลมากถึง 40% แต่มันไม่ได้หมายความว่า 40% นั้น กระจายเฉลี่ยไปในทุกพื้นที่ท้องถิ่น แนวโน้มมันกระจุกที่ส่วนกลางซะเยอะเกินกว่าครึ่ง จึงเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับการชนะในการเมืองท้องถิ่น
และการออกแบบ เขต การแบ่งเขต การเลือกตั้งล่าสุด เจ้าภาพเดิม ก็ออกแบบโดย มองจุดอ่อนของก้าวไกลในตรงนี้เป็นสำคัญ
ดังนั้น ประเมินว่า ก้าวไกล จะมีโอกาสได้ ส.ส. เขต ประมาณ 40++ เป็นอย่างน้อย (โดย คะแนนที่ได้มาจาก กทม และ ปริมณฑลเป็นหลัก )
โอกาสในเขตที่การแข่งขันสูง ที่จะพลิกผันชนะได้ มีอยู่ 20++ เขต ทำให้ โอกาสจำนวนเขตที่จะชนะสูงสุดอยู่ที่ 60++ เขต เมื่อรวมกับ ปาร์ตี้กรณีพีค จะได้ ส.ส. สูงสุดที่
82-90 ที่นั่ง
ถ้าจะชนะมากกว่านี้คือ ตี เพื่อไทยแตกจริงๆ ขั้วซ้ายเทคะแนน สวิงให้เกิน 30% ถึงมีสิทธิได้ 100 อัพ การจะไปได้ระดับนั้นคือ ต้องตีฐานเสียงภาคเหนือ และอีสาน จากเพื่อไทยให้ได้อย่างน้อย 30% และทั้งนี้ทั้งนั้นก็รวมถึงต้อง ชนะ ภูมิใจไทยด้วยเช่นกัน
แต่ในเชิงยุทธศาสตร์ เวลาขั้วเดียวกัน
ตัดแต้มกันเองมากๆ มักจะโดนสอดแทรกจาก ขั้วตรงข้าม หยิบชิ้นปลามันไปน่ะสิ
__________________________________
ประเด็นของ เพื่อไทยและก้าวไกล ออกได้หลายฉากทัศน์มากค่ะ
เช่น ปาร์ตี้ขั้วซ้ายอาจเลือกเทให้ก้าวไกลแทน เพื่อชดเชย ส.ส.เขต ที่มอบคะแนนให้เพื่อไทย ก็จะทำให้ก้าวไกลมีโอกาสได้ 9-10 ล้านเสียงเลยทีเดียว และจะทำให้คะแนนปาร์ตี้มาอันดับ 1 แทนเพื่อไทย
แต่...พื้นที่ เขต ถ้าขั้วซ้ายเทให้ เพื่อไทย เพื่อไทยจะมี ส.ส. เขต ดีดไปถึง 240++ เลยทีเดียว
1
แต่ กรณี แค่แบ่งคะแนน หรือ ได้สวิงโหวตจากเพื่อไทยไปก้าวไกล สมมุติ 20% ละกัน ไม่ถึง 30% ก็จะไม่ทำให้ ส.ส.เขตของก้าวไกลได้มากขึ้นเท่าไหร่ เพราะอย่าลืมว่า ดึงคะแนนได้จาก พท จริง แต่อาจแพ้อีกขั้ว จะชนะได้มันจะต้องเป็นลักษณะ เทคะแนน ถ้าไม่ "เท" จะกลายเป็นแพ้ขั้วอื่นแทนค่ะ เพราะต้องยอมรับว่า คะแนนเสียงแบบท้องถิ่นของ ก้าวไกล ยังตามหลัง เพื่อไทย อยู่เยอะพอควร แต่พวกหัวเมืองหลัก และ ปริมณฑล สีส้มมาแน่นอนค่ะ
อย่างไรก็ตาม ในมุมเคท มองว่า คะแนน ส.ส. เขต ของ 2 พรรค ยังไงก็ทะลุ เกิน 280 ยากอยู่ค่ะ ดูหลายมุมแล้ว ไม่ง่ายจริงๆ เพราะเหตุผลคือ ตัดคะแนนกันเอง และอย่างที่เกริ่นไป การวางยุทธศาสตร์ของเจ้าภาพรอบที่แล้วก็วางหมากไว้แล้ว เขตที่ขั้วซ้ายชนะได้ยาก ก็จะยังคงยากต่อไป เช่น ภาคใต้ กับ ตะวันตก รวมถึง อีสานใต้
1
ใน กทม. ดูแล้ว เพื่อไทย. กับ ก้าวไกล แบ่งกันไปครึ่งๆ อย่างน้อยแบ่งไปพรรคละ 12-14 ที่นั่งอย่างต่ำ นอกนั้น 5 ที่นั่งที่เหลือให้พรรคอื่นลุ้นเอา ซึ่งอาจจะได้ หรือ ไม่ได้เลยก็เป็นได้
เมื่อรวมคะแนน 2 พรรค จากความเป็นไปได้เบื้องต้น
ทั้ง ส.ส. เขต และ ปาร์ตี้ รวมกันมีโอกาสอยู่ที่ 270-280 ที่นั่ง เกินกึ่งหนึ่ง
ในกรณีที่พีคสุดๆจริงๆถึงจะได้ 310 !! อันนี้คือดึงคะแนนจากขั้วอื่นมาได้ด้วย
_________________________________________
1
.
- พรรครวมไทยสร้างชาติ ประเมินว่า เป็นพรรคอันดับหนึ่งของขั้วขวา
กระแสนิยมของลุง ลดลงแน่นอน แต่ ฟากอนุรักษณ์ มีตัวเลือกที่แข็งสุดในการจะสู้กับฟากเสรี คือ ลุงตู่ ดังนั้น ขั้วขวาต้องเล่นเกมเดิม โอกาสที่จะเห็นการเทคะแนน ของขั้วขวา มาที่ลุง เหมือนปีก่อน จึงมีสูงมาก
ฐานเสียงในภาคใต้ที่ดูเหมือนจะไปตัดคะแนนกันเองจากการแยกตัวออกมาจาก พปชร ก็อาจจะไม่ได้ตัด แต่จะกลายเป็น "เท" คะแนนแทน
ดูจากกระแสแล้ว ปาร์ตี้มีไม่ต่ำกว่า 3ล้านคะแนนแน่นอน และมีโอกาสพีคๆไปถึง 5 ล้าน ดังนั้น ส.ส. ปาร์ตี้ โอกาสมาอันดับ 3 สูงมาก โดยประเมินที่
8-14 ที่นั่ง ส.ส. เขตประเมินที่ 25 ที่นั่งเป็นอย่างน้อย โดยมากได้จากภาคใต้
1
สรุป รวมปาร์ตี้และส.ส.เขต 33-60 + โดยประมาณ
____________________________________________
- พรรคประชาธิปัตย์ รอบนี้ไม่มีอะไรโดดเด่น โอกาสดีสุดตอนนี้คือ รักษาคะแนนเดิม กับ สอดแทรก ดึงคะแนนใน กทม. ให้ได้สัก 2 ที่ก็เก่งแล้ว ถ้าจะเป็นไปได้สักเขต ก็จะมี เขต หนองแขม ที่ กก ตัดกับ เพื่อไทย ปชป อาจสอดแทรกขึ้นมาได้
จุดแข็ง- อดีตฐานเสียงพื้นที่กรุงเทพชั้นในที่แข็งแกร่ง และภาคใต้ที่แข็งแกร่ง มีฐานเสียงกลุ่ม LOYALTY VOTE ที่เหนียวแน่น ใน กทม มีโอกาสสอดแทรกในกรุงเทพพอสมควรจากการที่ พรรค พปชร แตกไปเป็น รทสช
จุดอ่อน - ครั้งนี้ประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่จะโดนแย่งฐานเสียงจาก 2 ลุงอีกครั้ง ทั้งจากลุงตู่กับลุงป้อม รวมถึง ภูมิใจไทย โอกาสที่จะได้คะแนนเท่าเดิมนั้นยากมาก
1
สรุป - เมื่อคิดจากสมการสถิติ
ประชาธิปัตย์ คะแนนเสียงราวๆ 3.4-4.1 ล้านคะแนน เป็นคะแนนเดิม ทำให้แปรเป็นปาร์ตี้ลิสต์ราวๆ 10-11 ที่นั่ง แต่....แต่ รอบนี้คะแนนปาร์ตี้ มีโอกาสโดนสวิงไปให้ลุงตู่มากที่สุด ทำให้อาจลดลงเหลือแค่ 3 ล้าน ทำให้ได้ไม่ถึง 10 ที่นั่งก็เป็นได้
ความเป็นไปได้ของ ส.ส.เขต ประมาณ 20-25 ที่นั่งขั้นต่ำ
เมื่อรวมทั้ง ส.ส.เขตและปาร์ตี้ โอกาสจึงอยู่ที่ 28-36 ที่นั่ง
_____________________________________
- พรรคพลังประชารัฐ
เคทเคยคาดการณ์ว่า พปชร จะสูญพันธ์ใน กทม ซึ่งในวันนี้เชื่อมั่นเพิ่มขึ้นระดับ 95%เลยค่ะ กทม = 0
แต่......ในท้องถิ่น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจากผลงานของ บัตรประชารัฐ โครงการคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ทำให้มีฐานเสียงไม่น้อยนะคะ รวมๆแล้วไม่น่าจะต่ำกว่า 1.8 ล้านคะแนน ถ้าสามารถโกยเพิ่มได้ พีคๆมีสิทธิถึง 2.5-3.0 ล้านคะแนน นอกจากคะแนนเสียงนิยมในผลงานแล้วยังมีเสียงจัดตั้งในท้องถิ่นที่แข็งแรงประกอบ
ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะได้ที่นั่งไม่ต่ำกว่า 15 ที่นั่ง จาก ส.ส เขต
และปาร์ตี้ราว 6-7 ที่นั่ง รวมแล้ว ได้ไม่ต่ำกว่า 20 ที่นั่งค่ะ ในกรณีพีคๆ โอกาสได้ถึง 30++ ที่นั่ง โดยส่วนมากมาจาก ส.ส. เขตเป็นหลัก
สรุป รวมปาร์ตี้และ ส.ส.เขต 20+-30+ ค่ะ
_____________________________________
ซีกขวา 3 พรรคหลัก โอกาสที่จะเทคะแนนให้ลุงใน ระบบ ปาร์ตี้มีสูงมาก
เพราะในแคนดิเดตของทั้ง 3 พรรค มีแค่ลุงตู่ที่พอจะต่อกรกับซีกซ้ายได้
_____________________________
.
.
- พรรคภูมิใจไทย/ชาติพัฒนากล้า/ชาติไทยพัฒนา
(ที่รวมกลุุ่มนี้ไว้ด้วยกันเพราะเป็นกลุ่มตัวแปรการจัดตั้งรัฐบาล)
ที่คือ ฐานคะแนน ตรงกลางของวงกลมอินเตอร์เซกที่มีเปอร์เซนต์เยอะที่สุด
จาก คะแนนของฐานนี้ที่ 7 ล้าน เป็นของกลุ่มนี้ ไม่ต่ำกว่า 4.5 ล้าน หรือราวๆ 65% เลยทีเดียว
แน่นอนว่า พรรคอันดับหนึ่งของกลุ่มนี้ คือ ภูมิใจไทย
ภูมิใจไทยฐานเสียงค่อนข้างแข็งแกร่งมากๆ ตอกเสาเข็มแน่นในอีสานใต้จากเดิมภูมิใจไทยนี้มีคะแนนรวม 3 ล้านกว่าเสียง แต่ผลงานของ อนุทินที่ไม่เข้าตานัก ทำให้คะแนนตกลงมาเล็กน้อย แต่โดยรวมน่าจะไม่หลุด 3 ล้าน
คะแนน ปาร์ตี้จึงไม่ต่ำกว่า 8 ที่นั่งเป็นอย่างน้อย
ด้วย ส.ส. เขตที่แข็งแกร่ง มีในมือแน่ๆ 20++ ที่นั่ง
และนี่คือ พรรค ที่มีโอกาสสอดแทรกคะแนน เขตมากที่สุดในภาคอีสานและภาคใต้ ภาคอีสานหาก พท กับ กก ตัดคะแนนกัน โอกาสเป็นของ ภท สูงที่สุด ถ้ามองแล้ว นี่คือ ตัวจี๊ด ตัวตึงของแท้เลยค่ะ
กรณีที่สอดแทรกได้ จะทำให้โอกาสพีคไปถึง 40 ที่นั่งได้เลย และเมื่อรวมปาร์ตี้แล้ว โอกาสที่ภูมิใจไทยจะได้ ส.ส. ระดับแตะ 50 ที่นั่งก็เป็นไปได้
แต่เบื้องต้น ประเมินไว้ที่ 30++ ก่อนนะคะ
1
- ชาติไทยพัฒนา เป็นอีกพรรคที่มีเสาเข็มแข็งแกร่งในพื้นที่ของตน คาดว่าไม่หลุด 6-8 ที่นั่งรวมปาร์ตี้
- ชาติพัฒนากล้า อย่างเก่งให้ 2 ที่นั่งรวมปาร์ตี้ลิสต์
ประเมินแล้วกลุ่มนี้มีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 40 ที่นั่ง
_______________________________________
- พรรคประชาชาติ คะแนนพื้นที่ 3 จังหวัด แข็งแกร่ง ดูแล้ว 6-7 ที่นั่งรวมปาร์ตี้ไม่น่าพลาด
- พรรคเสรีรวมไทย ส.ส. เขตต้องยอมรับว่า หมดลุ้นทุกพื้นที่ คะแนนปาร์ตี้ โอกาสได้รอบนี้ แค่ 1-2 ไม่เกินนี้
-พรรคไทยสร้างไทย ส.ส. เขตลุ้น 1 ปาร์ตี้ ลุ้น 2 ที่นั่ง รวมๆ ไม่เกิน 3 ที่นั่ง
_______________________________
สรุป
1
อันดับ 1 เพื่อไทย เขต 155 ปาร์ตี้ 25
(พีคสุด รวม = 225-230)
อันดับ 2 ก้าวไกล เขต 40+ ปาร์ตี้ 20+
(พีคสุด 82-90)
อันดับ 3 รวมไทยสร้างชาติ เขต 25 ปาร์ตี้ 8
(พีคสุด 33-60+)
อันดับ 4 ภูมิใจไทย เขต 20+ ปาร์ตี้ 8
(พีคสุด 40+)
อันดับ 5 ประชาธิปัตย์ เขต 20+ ปาร์ตี้ 8+
(พีคสุด 28-36+)
อันดับ 6 พลังประชารัฐ เขต 15+ ปาร์ตี้ 6+
(พีคสุด 22-30+)
อันดับ 7 ประชาชาติ เขต 5+ ปาร์ตี้ 1-2
(พีคสุด 8)
อันดับ 8 ชาติไทยพัฒนา เขต 6+ ปาร์ตี้ 2
อันดับ 9-11 ชาติพัฒนากล้า/ไทยสร้างไทย/เสรีรวมไทย ได้ไปพรรคละ ไม่เกิน 2 ที่นั่ง
2
หากประเมินตามเกณฑ์เบื้องต้น ฝ่ายซ้ายมีฐานคะแนนรวมแล้วแน่ๆราว 240++ คะแนน (มั่นใจ 95% ไม่น่าหลุด) ซึ่งตามหลักการคะแนนแบบนี้จะไม่สามารถตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพได้ อย่างน้อยต้องมี 310 ขึ้นไป และถ้าให้แน่นอนคือ ต้องมี 375 ที่นั่ง
มีคะแนนที่ยังประเมินได้ยากถึง 100-120 คะแนนสำหรับ ส.ส. เขต และ 20 ที่นั่งสำหรับ ปาร์ตี้
ดังนั้น ใน 100-120 คะแนน ที่เป็น ส.ส. เขต ที่ยังไม่ชัดว่าเป็นของพรรคใด พรรคหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการวางยุทธศาสตร์มีส่วนสำคัญมากๆ
ฝ่ายใดที่อยากจัดตั้งรับบาลต้องชิงคะแนนตรงนี้มาให้ได้อย่างน้อยครึ่งนึง
เคทประเมินและตีว่า 100-120 ที่นั่งนั้น
แบ่งเป็นของ ซีกซ้ายสัก 65 ซีกขวา 45 และสายกลางที่ 10
ก็จะทำให้ซีกซ้ายมี คะแนนรวมๆ อย่างน้อย 305
และ ซีกขวามี 127
สายกลาง 53
จะทำให้ ส.ส ปาร์ตี้สวิงไปที่ ซีกขวาและ สายกลางที่ 15 ที่นั่ง
แบ่งเป็น ซ้าย 305/ ขวา+กลาง 195
แต่ถ้า 70 คะแนนตรงนี้สวิงไปที่ ขวา
ซีกซ้ายจะเหลือ 285
ซีกขวาเพิ่มเป็น 147
แต่กลางน่าจะยังเท่าเดิม ที่ 53
แต่ปาร์ตี้จะยังคงสวิงมาที่ฝั่งนี้ 15 ที่นั่งเช่นเดิม
ก็จะได้ ซ้าย 285/ ขวา+กลาง 215
แต่...แต่ถ้าคะแนน 120 คะแนนนี้ที่เป็นช่องว่างเกิดจาก พื้นที่แข่งขันสูง การตัดคะแนนกันเอง ฝ่ายที่เสียหายสุดจะเป็นฝ่ายซ้าย ซึ่งจาก 285 ที่นั่ง อาจจะลดเหลือเพียง 265 และ ทำให้ ขั้วต่างๆมีคะแนนรวมกันที่ 235
ซึ่งอันตรายมากๆเพราะ คะแนนที่ต่างกัน แค่ 30 ที่นั่ง มันมีโอกาสเกิด งูจงอาง ภาค 8 ก้ได้
สุดท้ายนี้ ทั้งหมดที่ว่ามาจะวัดกันที่โค้งสุดท้ายจริงๆค่ะ อะไรก็เกิดขึ้นได้ การวิเคราะห์เบื้องต้นนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำใดๆ และไม่ใช่โพล เป็นแค่ความคิดเห็นของเคท ที่โอกาสผิดพลาดก็มีสูง อะไรก็เกิดขึ้นได้ อย่าไปยึดติดมากนะคะ แล้วเพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างคะ เชิญแลกเปลี่ยนกันได้ค่ะ
มิ้วๆนะคะ
4 บันทึก
11
2
11
4
11
2
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย