11 พ.ค. 2023 เวลา 01:51 • บันเทิง

ตราปศุปติ(Pashupati seal)

ตอนที่ 3 การค้า (Trade)
ตราปศุปติ(Pashupati seal)ตราประทับอายุราว 2,300-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถูกค้นพบที่เมืองโบราณโมเฮนโจ-ดาโร แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ รูปบนตราประทับนี้เชื่อกันว่าคือพระปศุปาติซึ่งเป็นร่างหนึ่งของพระศิวะ ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าพระศิวะอาจเป็นเทพโบราณของชาวพื้นเมืองมาก่อนการเข้ามาของชาวอารยันเมื่อ1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นชาวอารยันจึงผนวกเทพพื้นเมืองต่างๆเหล่านี้เข้าไปเป็นเทพในศาสนาของตน
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ หรืออารยธรรมฮารัปปาเป็นอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงยุคสำริดเมื่อประมาณ 2,600ถึง1,900ก่อนคริสตศักราช ขอบเขตของอารยธรรมนี้อยู่ในบริเวณประเทศอินเดียและปากีสถานปัจจุบัน อารยธรรมฮารัปปานี้เป็นอารยธรรมที่มีความร่วมสมัยกับอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ของอียิปต์โบราณ อารยธรรมเมโสโปเตเมียจากลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีส(บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศอิรักปัจจุบัน) และแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำแยงซีของจีน
เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของอารยธรรมฮารัปปาเกิดขึ้นเมื่อ7,000ก่อนคริสตศักราชที่หมู่บ้านเกษตรกรรมเล็กๆทางตอนเหนือของแม่สินธุ บางแนวคิดว่าผู้คนส่วนหนึ่งสมัยเริ่มแรกคือชาวนาที่อพยพมาจากบริเวณเทือกเขาซากรอส(บริเวณประเทศอิหร่านปัจจุบัน) แล้วเกิดการผสมกลมกลืนเข้ากับชนพื้นเมืองโบราณที่อยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อน จนกลายเป็นอารยธรรมที่มีความยิ่งใหญ่ในช่วงเวลาต่อมา
เชื่อกันว่าในช่วงที่อารยธรรมมีการเจริญเติบโตถึงขีดสุดนั้นขอบเขตของอารยธรรมแผ่ขยายออกไปครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง มีแกนกลางยาวถึง1,500 กิโลเมตร (900 ไมล์) ตามความยาวของที่ราบลุ่มน้ำของแม่น้ำสินธุและแม่น้ำสาขา
ที่เมืองขนาดใหญ่อย่างโมเฮนโจ-ดาโรและฮารัปปาเชื่อกันว่าเคยมีประชากรมากถึง 30,000 - 40,000 คน พบการวางผังเมืองเป็นรูปตาราง มีระบบสุขาภิบาลขั้นสูง ระบบระบายน้ำและชลประทานที่ซับซ้อน บ้านแต่ละหลังหรือกลุ่มบ้านจะได้รับน้ำจากบ่อน้ำ น้ำเสียถูกส่งไปยังท่อระบายน้ำที่มีฝาปิดซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลัก นอกจากนั้นแล้วยังมีการพัฒนาด้านการวัดความยาว การชั่งน้ำหนัก และการระบุเวลา พวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกๆที่พัฒนาระบบการชั่งน้ำหนักและการวัดที่มีความเที่ยงตรง
พวกเขามีเครือข่ายการค้าครอบคลุมพื้นที่ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีการนำเข้าแร่จากอิหร่านและอัฟกานิสถาน ตะกั่วและทองแดงจากส่วนอื่นๆของอินเดีย หยกจากจีน และไม้ซีดาร์ที่ลอยมาตามแม่น้ำจากเทือกเขาหิมาลัยและแคชเมียร์ เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าต่างๆสำหรับส่งขายได้แก่ หม้อดินเผา ทอง เงิน โลหะ ลูกปัด หินเหล็กไฟสำหรับทำเครื่องมือ เปลือกหอย ไข่มุก และอัญมณีสีต่างๆ เช่น ลาพิส ลาซูลี และเทอร์ควอยซ์
การค้าขายในยุคแรกคาดว่าเป็นการค้าขายแบบกองคาราวานโดยใช้วัวลากจูงเกวียนบรรทุกสินค้ามีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผา ตราประทับ รูปแกะสลักและเครื่องประดับที่มีความคล้าคลึงกับของในอารยธรรมฮารัปปาเอเชียกลางและที่ราบสูงอิหร่าน ก่อนจะมีการพัฒนาไปสู่การค้าขายทางเรือ มีหลักฐานการค้นพบคลังสินค้า การขุดคลอง ท่าเรือ และเมือท่าขนาดใหญ่ในอารยธรรมฮารัปปา
มีการพบตราประทับ เครื่องประดับ เศษเครื่องปั้นดินเผาจากอารยธรรมฮารัปปาในแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคเมโสโปเตเมีย รวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ในอิรัก คูเวต และบางส่วนของซีเรียในปัจจุบัน
การค้าขายระหว่างอารยธรรมฮารัปปาและอารยธรรมเมโสโปเตเมีย(ดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรักปัจจุบัน)เกิดขึ้นตั้งแต่ราว 3,000 ก่อนคริสตศักราช Asko Parpola ผู้เชี่ยวชาญด้านสินธุวิทยา(Sindhology)ชาวฟินแลนด์ได้ให้ความเห็นเรื่อง ชาวเมดูฮา(Meluhha)ที่ถูกกล่าวถึงในบันทึกของชาวเมโสโปเตเมียนั้นมาจากคำในภาษาของชาวดราวิเดียน (Dravidian) ว่า mel-akam ซึ่งมีความหมายว่า ที่ราบสูง นอกจากนั้นแล้วในบันทึกยังกล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวเมลูฮาในดินแดนเมโสโปเตเมียอีกด้วย
มีการค้นพบตราประทับจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุกระจายอยู่ในเมืองสำคัญต่างของเมโสโปเตเมีย ในขณะที่ฝั่งลุ่มแม่น้ำสินธุเองมีการค้นพบหลักฐานการค้าขายกับชาวเมโสโปเตเมียเช่นกัน เช่น การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองท่าโลธาล (Lothal) ท่าเรื่อสำคัญที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่มีอายุราว 2,200 ปีก่อนคริสตศักราชปัจจุบันอยู่ในรัฐคุชราตประเทศอินเดีย
ที่ท่าเรืองแห่งนี้ค้นพบคือการค้นพบตราประทับทรงกระบอกของชาวเปอร์เซีย ตราประทับจากบาห์เรน ชุดหมากรุกซึ่งคล้ายกับชุดหมากรุกของราชินีฮัตเชปซุตในอียิปต์ รูปปั้นและตราประทับของชาวสุเมเรียน ข้อมูลเหล่านี้แสดถึงการติดต่อระหว่างผู้คนในหลากหลายแหล่งอารยธรรม ในกิจกรรมทางการค้าและมีการใช้ตราประทับในกิจกรรมดังกล่าวอย่างแพร่หลาย
ตราประทับ (Stamp seal)
เชื่อกันว่ามีการสร้างตราประทับตั้งแต่ช่วง 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในแต่ละภูมิภาคมีรูปแบบของตราประทับที่แตกต่างกันไป เช่น ตราประทับวงกลมในบาห์เรน, ทรงกระบอกในเมโสโปเตเมีย, ทรงสี่เหลี่ยมในลุ่มแม่น้ำสินธุ ตราประทับเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำจากหิน การใช้งานตราประทับเหล่านี้มีหลากหลาย เช่น ใช้ในการค้า ใช้ในศาสนา ใช้เป็นเครื่องยืนยันตัวตน รวมถึงใช้เป็นเครื่องประดับ การใช้ตราประทับเพื่อกิจกรรมทางการค้าพบมากในอิรัก อิหร่าน อัฟกานิสถาน ตามชายฝั่งของคาบสมุทรอาหรับ และเอเชียกลาง
ในแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุกว่ามีการค้นพบตราประทับกว่า 3,500 ดวง มีรูปร่างและขนาดที่หลากหลายทังรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า วงกลม แต่ตราประทับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นตราประทับที่พบมากที่สุด บนตราประทับส่วนใหญ่มีชุดสัญลักษณ์อยู่ด้านบนสันนิษฐานว่าชุดสัญลักษณ์เหล่านี้คืออักษรสินธุ ตรงกลางส่วนมากพบเป็นรูปสัตว์ เช่น แรด ช้าง วัว เสือ เป็นต้น
ตราประทับบางดวงด้านหลังมีปุ่มโค้งและมีรู คาดว่าใช้สำหรับร้อยเชือกเพื่อให้สามารถสวมไว้ที่คอได้ซึ่งบ่งชี้ว่าเครื่องรางนี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องรางหรือเป็นเครื่องประดับรูปแบบหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีการค้นพบตราประทับในหลุมศพด้วย
การค้นพบตราประทับของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในเอเชียกลาง เมโสโปเตเมีย และตามชายฝั่งของคาบสมุทรอาหรับ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของตราประทับในกิจกรรมการค้าขาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้าขายกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย การใช้ตราประทับทางการค้าเหล่านี้คาดว่าจะถูกกดทับลงบนขี้ผึ้งหรือแผ่นดินเหนียวเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ การลงนามในเอกสาร หรือแสดงเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น การใช้ตราประทับกดลงบนแผ่นดินเหนียวอ่อนแล้วนำไปปิดผนึกขวดโหล ไห หรือเอาไปติดกับปมเชือกที่ผูกปิดปากกระสิบสินค้า การประทับลงบนด้านหลังของผืนผ้าเป็นต้น
อย่างไรก็ตามตราปศุปติที่ถูกค้นพบที่โมเฮนโจ-ดาโรนั้นไม่ได้มีหลักฐานแน่ชัดว่าถูสร้างขึ้นเผื่อวัตถุประสงค์ใด แต่ตราประทับส่วนใหญ่ที่พบคาดว่าถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า บทความในตอนนี้ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการค้าขาย การใช้ตราประทับในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้า ซึ่งอาจจะไม่ได้เที่ยวข้องกับการระบุตัวตนของมนุษย์ที่ถูสลักอยู่บนตราปศุปติโดยตรง แต่เนื้อหาเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจให้กับแนวคิดต่างๆที่จะนำเสนอในบทความตอนถัดไป
Creditเนื้อหาhttps://en.wikipedia.org/wiki/Pashupati_sealhttps://en.wikipedia.org/wiki/Indus_Valley_Civilisationhttps://en.wikipedia.org/wiki/Indus_scripthttps://en.wikipedia.org/wiki/Indus%E2%80%93Mesopotamia_relationshttps://en.wikipedia.org/wiki/Meluhha
รูปhttps://www.quora.com/Did-international-trade-relations-exist-in-the-Indus-Valley-civilization-Justify-your-answerhttps://www.harappa.com/answers/what-relevance-harappan-civilization-todays-worldhttps://thinkpedia.in/indus-valley-civilization
โฆษณา