11 พ.ค. 2023 เวลา 06:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Nancy Grace Roman Space Telescope

เอกภพนี้เต็มไปด้วยกาแล็กซีมากมายกระจัดกระจายและห่างออกจากกัน ตัวเราเองต่างก็เป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทรแห่งอนุภาคมีประจุหรือที่เราเรียกว่าพลาสมา (Plasma)
ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นจากการควบแน่นรวมตัวกันของกลุ่มแก๊ส อันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลซึ่งกินเวลานานกว่าร้อยล้านปี จนเมื่อบริเวณใจกลางมีความหนาแน่นสูงมาก ๆ จึงเกิดการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ขึ้น และก่อกำเนิดเป็นกระจุกดาวฤกษ์มากมาย รวมถึงระบบดาวเคราะห์ซึ่งเป็นบ้านของพวกเราในปัจจุบันนี้อีกด้วย
หากเราสังเกตเอกภพในมุมที่กว้างมาก ๆ จะเห็นกระจุกกาแล็กซีมากมาย เปล่งแสงสว่างสุกสกาวบนฉากหลังที่เต็มไปด้วยสสารมืดปกคลุมไปทั่วทั้งเอกภพ
ซึ่งโครงสร้างของเอกภพนี้เปรียบเสมือนกับโครงข่ายระหว่างกาแล็กซีที่ต่างอยู่ห่างออกไปราวร้อยล้านปีแสง หรืออาจกล่าวได้ว่ากาแล็กซีนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของผืนจักรวาลแห่งความว่างเปล่านี้
ตลอดมาพวกเราพยายามศึกษาเอกภพผ่านกล้องโทรทรรศน์ไม่ว่าจะทั้งเจมส์เว็บบ์หรือฮับเบิลแต่ทว่ากล้องทั้งสองนั้นกลับศึกษาได้เพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของเอกภพเท่านั้นดังนั้น เราจึงต้องการกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่สามารถถ่ายภาพอวกาศมุมกว้างให้กับเราได้ นั่นจึงเป็นที่มาของโครงการ Roman Space Telescope
โครงการ Roman Space Telescope เป็นโครงการที่ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับพลังงานและสสารมืดในเอกภพ การถ่ายภาพดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ และรวมไปถึงการศึกษาและวิจัยในด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ซึ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับ Nancy Grace Roman อดีตหัวหน้านักดาราศาสตร์หญิงคนแรกของ NASA
อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโครงการ Roman space telescope เพิ่มเติมได้ที่ https://theprincipia.co/nancy-grace-roman-space-telescope/
เรียบเรียงโดย ณัฐกิตติ์ นามชู
ติดตาม The Principiaได้ในทุกช่องทางออนไลน์ หรือ
ติดต่อโฆษณาได้ที่ theprincipia2021@gmail.com หรือโทร 0647711333
โฆษณา