12 พ.ค. 2023 เวลา 00:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

9 อันดับผลไม้สดของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด

สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปทานคอขวด ไม่ว่าจะเป็นด้านสงครามรัสเซีย-ยูเครน หรือเงินเฟ้อสหรัฐฯ-ยูโรโซน เป็นต้น
ซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกของไตรมาสแรก
ในปี 2566 ลดลงที่ -4.5%YoY เป็นผลให้ขาดดุลการค้าที่ 102,664.42 ล้านบาท
หากเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกไทยในเดือนมีนาคม 2566 กับเดือนก่อนหน้า พบว่ามูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุดในรอบ 1 ปี มีภาพรวมมูลค่าอยู่ที่ 9,326,961.21 ล้านบาท
ซึ่งมีปัจจัยบวกส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมมีสัดส่วนการส่งออกไปทั้งในประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศเพื่อนบ้านหลายชนิด
ในบทความนี้ เราจะขอพูดถึงสินค้าเกษตรในส่วนของผลไม้สดซึ่งมีภาพรวมการส่งออกสูงที่สุดในไตรมาสแรก ของปี 2566 อยู่ที่ 19,338 ล้านบาท ขยายตัวถึง 89.15%YoY ได้แก่
  • 1.
    ทุเรียนสด มูลค่าส่งออกที่ 11,841 ล้านบาท (+230.83%YoY)
  • 2.
    ลำไยสด มูลค่าส่งออกที่ 4,009 ล้านบาท (+1.76%YoY)
  • 3.
    มังคุดสด มูลค่าส่งออกที่ 989 ล้านบาท (+5208.05%YoY)
  • 4.
    มะม่วงสด มูลค่าส่งออกที่ 717 ล้านบาท (-6.25%YoY)
  • 5.
    สับปะรดสด มูลค่าส่งออกที่ 360 ล้านบาท (134.68%YoY)
  • 6.
    ส้มโอสด มูลค่าส่งออกที่ 224 ล้านบาท (-21.16%YoY)
  • 7.
    กล้วยสด มูลค่าส่งออกที่ 58 ล้านบาท (-22.50%YoY)
  • 8.
    ผลไม้จำพวกส้มสด มูลค่าส่งออกที่ 35 ล้านบาท (-59.05%YoY)
  • 9.
    เงาะสด มูลค่าส่งออกที่ 32 ล้านบาท (+1361.26%YoY)
นอกจากนี้ ประเทศที่เราส่งออกสินค้าเป็นหลัก 5 อันดับแรกในช่วงไตรมาสแรกนี้ ได้แก่
  • 1.
    สหรัฐอเมริกา (-0.54%YoY)
  • 2.
    จีน (-4.18%YoY)
  • 3.
    ญี่ปุ่น (3.10%YoY)
  • 4.
    มาเลเซีย (-6.23%YoY)
  • 5.
    อินโอนีเซีย (5.32%YoY)
โดยในประเทศเหล่านี้ไม่ได้มีสัดส่วนการนำเข้าผลไม้จากไทยมากที่สุดเสมอไป เห็นได้จากการที่ประเทศเพื่อนบ้านแถบเอเชีย
มีการขยายตลาดส่งออกแบบมีมาตรฐานมากขึ้น เช่น ประเทศเวียดนามที่ส่งออกลำไยไปออสเตรเลีย สหรัฐ จีน อียูและอังกฤษ เป็นต้นอย่างไรก็ดี
การส่งออกสินค้าเกษตรยังคงมีความท้าทายอย่างมากจากความเสี่ยงในเรื่องสภาพอาการศที่ร้อนและแล้งจัด รวมถึงคู่แข่งด้านการผลิตสินค้าจากต่างประเทศ
สถานการณ์เหล่านี้อาจกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร หากภาคการเกษตรเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมจะเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป
ผู้เขียน : ธนัชญา ปิยวรไพบูลย์ Economics Data Analytics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics'Be an Economist for Everyone'วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
โฆษณา