11 พ.ค. 2023 เวลา 16:46 • ความคิดเห็น
ออกตัวก่อน ว่าผมไม่ใช่คนรู้แจ้งธรรมะและมาอวดอุตรินะครับ แต่การปกครองคน มันจะมีบริบทที่เราได้เจอและใช้มัน ตามหลักของการบริหารปกครอง ขออนุญาติยกตัวอย่างในเคสส่วนตัวของผมนะครับ
ช่วงหนึ่งที่ผมเป็นหัวหน้าแผนก มีช่วงหนึ่งที่น้องช่างคนหนึ่ง เค้ามาทำงานสายและขาดงานแบบไม่แจ้งหัวหน้างาน ผมรับเรื่องมาจากหัวหน้างานแล้ว แน่นอนว่าในมุมหัวหน้าแผนก เราลงโทษเค้าได้ แต่ผมเรียกเค้ามาคุยก่อน เค้าก็ยกมือไหว้ขอโทษ และพอคุยกัน จึงทราบว่า ที่บ้านเค้ากำลังมีปัญหา ในมุมผม คิดว่าถ้าลงโทษหรือเค้าโดนให้พักงาน อาจจะต่อเนื่องไปถึงไล่ออกได้ ผมจึงคุยว่า ถ้าเค้ายังทำแบบนี้ จะเกิดผลเสียอย่างไร ? แล้วปัญหาต่อไป จะเกิดอะไรขึ้น ? ขอให้เค้ามาทำงานตรงเวลา อย่าให้เกิดแบบนี้อีก
ส่วนเรื่องส่วนตัวก็ให้ค่อยๆจัดการและแก้ปัญหา หากมีเรื่องต้องลา ให้ใช้ลากิจหรือลาพักร้อน และต้องแจ้งหัวหน้าตามกฎที่กำหนดไว้ และเข้ามาหาผมได้ตลอดเวลาที่อยากคุย (เมตต, กรุณา อยากให้เค้าพ้นทุกข์และมีสุข) จากนั้น เค้าก็เลิกพฤติกรรมนี้ แต่ใช้ลาตามที่ผมแนะนำ ผ่านไปสัก 1 เดือน เค้าก็เริ่มกลับมาทำงานปกติ ผมเลยเรียกคุยอีกครั้ง จึงทราบว่า ปัญหาที่บ้านเค้าเริ่มคลี่คลายแล้ว ผมก็ยินดีด้วย (มุทิตา) ส่วนการประเมินผลปีนั้น น้องก็ได้คะแนนต่ำเพราะสายและลาบ่อย
ผมก็วางใจประเมินให้เป็นกลาง (อุเบกขา) เพราะมันเป็นผลจากการกระทำของเค้าทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นหัวหน้าลูกน้องกันแล้ว แต่เจอกัน ก็ยังทักทายกันปกติครับ 🙂
โฆษณา