2 มิ.ย. 2023 เวลา 00:00 • หนังสือ

ปัญหาในชีวิตคู่บางครั้งก็มาจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง

ปัญหาในชีวิตคู่บางครั้งก็มาจากเรื่องไม่เป็นเรื่องและความสัมพันธ์ของคู่ครองหลายคู่ล้มเหลวเพราะเรื่องเล็ก ๆ บางเรื่องเกิดจากการใช้คำพูดที่อีกฝ่ายรู้สึกว่า ‘ไม่เข้าหู’ ยกตัวอย่าง เช่น ภรรยาถามสามีว่า “ฉันอ้วนไหม?” ภรรยาอาจสำทับว่า “บอกมาตามตรง ฉันรับความจริงได้”
ถ้าสามีบอกความจริงว่า “ใช่ เธออ้วน” ก็แสดงว่าขาดปฏิภาณในการใช้ชีวิตคู่
และถ้าสามีฉลาดน้อยลงไปอีก เติมคำว่า “มาก” หรือ “จริง” เข้าไป ภรรยาก็อาจงอน ไม่พูดด้วยอีกสามวัน เรื่องเล็กน้อยก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่
1
บางครั้งคนเอ่ย “ฉันอ้วนไหม?” ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นประโยคคำถาม
ดังนั้นบางครั้งคนอยู่ด้วยกันก็ต้องอ่านระหว่างบรรทัด
การอยู่ด้วยกันคือการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ผ่อนหนักผ่อนเบา จะใช้เกียร์เดียวตลอดทางมิได้ ต้องใช้ไหวพริบและปฏิภาณเช่นกัน และอย่าทึกทักเอาเองว่า “ก็สนิทกัน ไม่เป็นไรหรอก”
4
ในโลกของความจริง ไม่มีใครอยากฟังคำไม่ไพเราะ แม้รู้ว่าเป็นความจริง ดังนั้นจึงควรมีจิตวิทยาในการพูดบ้าง โดยไม่ต้องโกหก แค่ใช้คำให้เหมาะสมเท่านั้น เพราะพูดถูกแต่ใช้คำผิด ก็เพิ่มความระคายเคืองหรือขัดแย้งโดยไม่จำเป็น
1
ในกรณีนี้ หากสามีใช้จิตวิทยาในการตอบ ก็อาจบอกว่า “ผมไม่คิดว่าคุณอ้วนนะ”
นี่เป็นคำกลาง ๆ ไม่ได้บอกว่าอ้วนหรือไม่อ้วน
นี่เป็นภาษาแบบการทูต
หรือเปลี่ยนไปสู่โหมด ‘เอาใจใส่’ ก็ได้ เช่น “ค่า BMI (ค่าดัชนีมวลกาย) เท่าไหร่ล่ะ?”
1
“23”
“อ๋อ! สูงกว่าเกณฑ์แค่นิดเดียว เดี๋ยวออกกำลังกายหน่อยก็แก้ได้แล้ว”
2
จากคำถาม “ฉันอ้วนไหม?” ก็กลายเป็นการเอาใจใส่อีกฝ่าย ดีกว่าตอบว่า “ใช่ เธออ้วนมาก” หลายร้อยเท่า
ภรรยากับสามีไปเดินช็อปปิ้ง ภรรยาไม่แน่ใจว่าสีลิปสติกอันไหนเหมาะกับตน ถามสามีว่า “สีนี้ดีมั้ยคะ?”
สามีที่ฉลาดน้อยตอบว่า “ซื้อ ๆ ไปเถอะ อย่าเรื่องมาก” แต่สามีที่มีสติปัญญาอาจตอบด้วยภาษาทูตว่า “ไม่เลวครับ”
หรือตอบด้วยภาษาใจว่า “คุณใช้สีอะไรก็สวยจ้ะ”
2
ภรรยาบอกสามี “ช่วยเปลี่ยนหลอดไฟหน้าบ้านหน่อย” สามีตอบว่า “เมื่อไหร่เธอจะหัดทำเองบ้างนะ”
ภรรยาบอกสามี “ช่วยหยิบหนังสือพิมพ์ให้หน่อยซี” สามีตอบว่า “เธอก็มีมือ ทำไมไม่หยิบเอง?”
ยกให้เป็นสามียอดโง่แห่งปี
2
คนเราบางทีก็แปลก มีวิธีพูดที่สร้างสรรค์ ก็คันปากพูดให้ไม่สร้างสรรค์ บางครั้งโดยไม่เจตนา บางครั้งไม่ทันคิด และบางครั้งคิดไม่ถึง
2
ในเรื่องเดียวกัน โลกจะสว่างหรือมืดอาจขึ้นกับคำหรือประโยคที่ใช้เท่านั้น ยกตัวอย่าง เช่น สามีจะออกจากบ้าน ภรรยาถาม “นี่คุณจะไปไหน?”
วลี ‘นี่คุณ’ ต่อให้พูดด้วยน้ำเสียงอ่อนหวาน มันก็มีรังสีอำมหิต (ภาษากำลังภายใน) เพียงปรับเล็กน้อย ก็ได้ความและนัยที่ดีขึ้นทันที เช่น “คุณจะไปไหนคะ?” ใช้พลังงานห้าพยางค์เท่ากัน
4
หรือ “รูปหล่อจะไปไหนจ๊ะ?”
3
มีคำว่า ‘คะ’ และ ‘จ๊ะ’ ช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย
2
(ย่อความจาก ภาษาทูตในบ้าน ในหนังสือ 'ตัวสุขอยู่ในหัวใจ' ตอนนี้ยังมีโปรโมชั่นพิเศษ
สั่งได้ที่เว็บ winbookclub.com หรือ Shopee (ค้นคำ namol113)
โฆษณา