11 พ.ค. 2023 เวลา 20:51 • สุขภาพ
โดยส่วนตัวผมจะประเมินจาก
“ระดับความเสี่ยง” ในการติดเชื้อ
 
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ “กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง” คือ
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เข่น โรคหัวใจ
- เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ติดเชื้อ
หากเราหรือคนใกล้ชิดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็ควรได้รับ “booster shot” ทุกๆ 6 - 12 เดือน ตามข้อมูลจาก
“องค์การอนามัยโลก” (WHO)
ที่มา:
ยังมีวิธีป้องกันตัวเองที่ผมคิดว่าน่าจะได้ผลนอกเหนือจากการฉีดวัคซีน คือ
> ล้างมือบ่อยๆ: สำหรับผม ผมจะล้างตั้งแต่ฝ่ามือจนถึงข้อศอกทุกครั้งที่ซื้อของเข้าบ้าน
> สวมหน้ากาก และหมวกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน
> ของกินและของใช้ที่ผมซื้อเข้าบ้าน จะได้รับการจัดวางไว้ที่โต๊ะพิเศษที่วางอยู่นอกตัวบ้าน
จากนั้น ผมจะล้างทำความสะอาดของเหล่านั้นทีละชิ้นๆ ก่อนนำไปเก็บในตู้เย็นและตู้เก็บของ
ส่วนถุงบรรจุและกล่องผมก็จะทำความสะอาด หรือแยกทิ้งทันทีแล้วแต่กรณี
โดยเทคนิคนี้ผมศึกษามาจากคลิปบน Youtube โดยแพทย์ท่านหนึ่งเป็นผู้แนะนำ
และ
> แม้แต่รถยนต์ ผมก็จะฉีดนำ้ยาและทำความสะอาดห้องโดยสารด้วยการเช็ด พวงมาลัย, แผงประตู, สวิตช์ควบคุมต่างๆ ฯลฯ ทุกครั้งที่กลับถึงบ้าน
> และแน่นอนว่า ผมจะทำความสะอาด smartphone ของผมทุกครั้งที่ผมกลับถึงบ้าน
เนื่องจากผมเองได้รับวัคซีนทั้งที่เป็น “mRNA” จาก Pfizer และ “non-mRNA” จาก Astrazeneca มาแล้ว
ผมจึงอยากรอวัคซีนใหม่ๆ ที่อาจได้รับการเปิดตัวหลังจากนี้ โดยเฉพาะวัคซีนที่ถูกออกแบบมาสำหรับสายพันธุ์ใหม่ๆที่อาจกลายพันธุ์เป็นเชื้อที่อาจมีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต
และผมเคยได้ยินจากข่าวทีวีว่า ต่อไปเราอาจฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียงปีละครั้ง เพราะในบ้านเรามียอดผู้รับวัตซีนไปแล้วเป็นจำนวนมาก
และอาจเป็นไปได้ที่เราจะมี “ภูมิคุ้มกันหมู่” เป็นตัวช่วยอีกทาง
1) แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ประจําปี
1.1 แนะนําให้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจําปี โดยฉีดปีละ 1 เข็ม
1.2 ระยะห่างจากเข็มสุดท้ายหรือประวัติการติดเชื้อครั้งสุดท้าย ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยไม่คํานึงว่าเป็น
เข็มที่เท่าใด
1.3 สามารถใช้วัคซีนได้ทุกชนิดและทุกรุ่นการผลิตที่ได้รับการรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการอาหาร
และยาของประเทศไทย
1.4 สามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยฉีดที่แขนคนละข้าง กรณีที่ไม่สามารถฉีด
วัคซีนท้ัง 2 ชนิดในวันเดียวกันได้ แนะนําให้ฉีดเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องคํานึงถึงระยะห่าง
1.5 กรณีได้รับภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปมาก่อน สามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 เมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้สามารถศึกษาและ ติดตามคําแนะนําเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป ได้จากแนวทางการให้บริการภูมิคุ้มกัน
2) ระยะเวลาการให้วัคซีน
ขอให้เร่งรัดการให้วัคซีนโควิด 19 แก่กลุ่มเป้าหมายโดยทันที เพื่อลดการป่วยรุนแรง/เสียชีวิต และป้องกัน การระบาดของโควิด 19 ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 ทั้งนี้ขอให้มีการ ให้บริการวัคซีนโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นไป เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ ประชาชนไทยได้ตลอดท้ังปี
1
ที่มา:
“กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข”
(April 2023)
โฆษณา