Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A Advisory
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2023 เวลา 08:46 • ธุรกิจ
== ศาสตร์การตัดสินใจ ตอนที่ 1: ซอยเรื่องใหญ่ให้เล็ก ==
ในการทำงานหรือทำธุรกิจ เราต้องมีการตัดสินใจอยู่บ่อยๆ ทั้งเรื่องคน เรื่องแผนงาน เรื่องลูกค้า ฯลฯ ซึ่งเราและทีมงานทุกคนก็คงจะพยายามตัดสินใจให้ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆอยู่แล้ว
ซึ่งหลักการตัดสินใจให้ดี มีคนพูดถึงกันมากอยู่แล้ว ผมเลยยังไม่อยากจะขยายความต่อในตอนนี้ แต่สิ่งที่ผมอยากชี้ให้เห็นมากกว่าคือ มีเรื่องจำนวนมากที่เราสามารถย่อยการตัดสินใจใหญ่ๆให้มีขนาดเล็กลง ให้มีความเสี่ยงน้อยลง แล้วมอบหมายให้ทีมงานที่อยู่ใกล้เนื้องานที่สุดเป็นคนตัดสินใจ ลงมือ แล้วดูผลลัพท์ที่เกิดขึ้น ก่อนจะตัดสินใจขั้นต่อๆไป
การทำเช่นนี้ จะช่วยลดความน่าจะเป็นที่เราจะตัดสินใจผิดพลาดแบบใหญ่ๆ ช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับงาน และช่วยเพิ่มความสามารถให้กับทีมงานไปพร้อมๆกัน
วิธีการแบบนี้ มีการใช้กันมากในอุตสาหกรรมไอที ในชื่อ Agile Software Development ซึ่งเป็นคู่แข่งกับวิธีดั้งเดิมที่เรียกว่า Waterfall หรือวิธีทำแบบน้ำตก
การทำโครงการแบบ Waterfall ก็ไม่ต่างจากการสร้างตึกสร้างสะพาน คือกำหนดขอบเขตงานให้เสร็จ แล้วก็ไปออกแบบจนเสร็จ แล้วก็ไปเปิดประมูลจนได้ผู้รับเหมา แล้วก็ลงมือก่อสร้างหรือเขียนโค๊ด เสร็จแล้วก็ทดสอบและตรวจรับงาน ก่อนจะให้ผู้ใช้ได้ใช้จริง และถ้าพบว่ามีอะไรไม่ดี หรืออยากเพิ่มเติมดัดแปลง ก็ไปตั้งโครงการมาแก้กันใหม่อีกรอบนึง ซึ่งช้ามาก บริษัทที่ใช้ Agile Software Development คือการทำไปวัดผลไปแก้ไปอย่างต่อเนื่อง จึงประสบความสำเร็จมากกว่า
และหลังจากที่อุตสาหกรรมไอทีเติบใหญ่อย่างมหาศาล แนวคิดนี้จึงแพร่หลายออกมานอกฝั่งไอที และเปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็น Agile เฉยๆ ซึ่งเมื่อผมไปศึกษาวิธีการทำงานแบบลีน ผมก็ค้นพบว่าจริงๆแล้ว พื้นฐานมันมาจากหลักการเดียวกัน คือการทำให้การเปลี่ยนแปลงแต่ละขั้นมีขนาดเล็กลง แล้วลงมือทำจริง และวัดผลที่ได้จริงๆ ก่อนนำไปทำต่อไปพัฒนาต่อในขั้นถัดไป ทำไมถึงควรทำแบบนั้น ? ก็เพราะ
หนึ่ง เราไม่รู้จริงๆว่าสิ่งที่เราทำจะก่อให้เกิดผลจริงๆอย่างไร เราสามารถคาดการณ์ได้ แต่เราอาจจะผิดหรือถูกก็ได้
สอง สิ่งที่เราคาดการณ์คือความเชื่อ ผลที่เกิดขึ้นคือความจริง ดังนั้น เราต้องวัดผลที่เป็นจริง ถึงจะรู้ว่าเราคิดถูกหรือผิด
สาม ถ้าเราคิดผิด แต่ยังดันทุรังทำไป ผลสุดท้ายก็จะมีโอกาสเสียมากกว่าได้ เราควรทำงานภายใต้ความคิดความเชื่อที่ถูกต้องมากกว่า
สี่ เรา"สามารถ" จะลงมือทำและวัดผลของการกระทำได้รวดเร็วหากเราซอยย่อยสิ่งที่ต้องทำให้เล็กลง "ถ้า"เรามีการจัดการที่เหมาะสม
ตัวอย่างเช่น เราสามารถปรับปรุงไลน์การผลิตใหม่ให้งานออกมาดีขึ้นด้วยการทำการศึกษาไลน์การผลิตที่มีอยู่ตั้งแต่ต้นจนจบ หาว่าจุดที่มีปัญหาอยู่จุดไหน ควรเอาเครื่องทุ่นแรงหรือหุ่นยนต์มาใช้ตรงไหนบ้างเพื่อแก้ปัญหา แล้วก็คำนวนต้นทุนออกมาและเวลาที่ต้องหยุดไลน์เพื่อปรับแก้ แล้วคำนวนว่าไลน์ใหม่จะทำงานได้ดีขึ้นเท่าไหร่ คิดเป็นเงินเท่าไหร่ คุ้มมั้ยที่จะทำ แล้วก็เสนอให้หัวหน้าตัดสินใจ
ถ้าหัวหน้าโอเค ก็เริ่มทำโครงการ หาคนมาดูแล สั่งเครื่องจักรอุปกรณ์ วางแผนวันเวลาที่จะใช้ในการติดตั้ง อบรมพนักงานในไลน์ให้เข้าใจวิธีการทำงานแบบใหม่ ฯลฯ และเมื่อทุกอย่างพร้อม ก็หยุดไลน์และทำการแก้ไขจนเสร็จ แล้วก็เริ่มใช้ไลน์ใหม่ ปรับแก้ปัญหาขลุกขลักที่อาจเกิดขึ้นจนเรียบร้อย ประเมินผลว่าคุ้มค่าหรือไม่ เป็นอันเสร็จโครงการ
วิธีนี้คือการทำแบบ Waterfall
หรือ เราอาจให้พนักงานทุกคนในไลน์ทำการปรับปรุงปัญหาของไลน์ตัวเองทุกวัน เอาข้อเสนอพวกเขาที่ใช้เงินน้อย ราคาถูก หรือไม่ใช้เงินเลย มาลองทำดู ทำไปเรียนรู้ไป โดยวิศวรกรก็ต้องไปช่วยดู ไปขลุกอยู่ในไลน์ คอยวัดว่าอันไหนเวิร์คอันไหนไม่เวิร์ค พอทำไปสักพักภาพก็เริ่มจะชัดมากขึ้นว่าทุกอย่างทำให้ดีขึ้นได้หมดแล้ว แต่ขาดที่ขั้นตอนเครื่องจักร X ที่ทำไม่ได้ เพราะเครื่องมันเดินให้เร็วกว่านี้ไม่ได้อีก
จึงให้วิศวกรและทีมงานมาทุ่มเวลาที่นี่ ทำงานร่วมกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรตัวนี้จนสามารถหาทางปรับให้ทำงานเร็วเพิ่มขึ้นได้อีก 25% ด้วยการเปลี่ยนชิ้นส่วนบางอย่างเป็นรุ่นที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ จึงยอมเสียเงินก้อนหนึ่งเพื่อทำการปรับปรุง แล้วก็วัดผลที่เกิดขึ้น และเริ่มปรับปรุงส่วนอื่นๆของไลน์ต่อให้รับกับความเร็วที่มากขึ้นของเครื่องจักร X นี้
วิธีนี้เรียก Agile
ต่างกันมั้ยครับ ? คุณแบบไหนดีกว่า ?
ผมตอบแทนให้ละกัน ใช่ครับ แบบที่สองนี่ดีกว่าแน่นอน แต่มันทำไม่ได้ในชีวิตจริงหรอก เพราะ . . . . .
นี่แหละครับ จุดตายอยู่ที่นี่แหละ เพราะมันเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก แถมมันยังค่อนข้างขัดกับความรู้สึกของเราทุกคน เพราะเรามีความเชื่ออยู่เป็นทุนอยู่แล้วว่าสิ่งที่เราคิดน่ะถูก การต้องเสียพลังมาซอยงานเป็นขั้นย่อยๆ แล้วทดสอบความคิดเราทุกขั้นทุกตอน เพื่อวัดผลว่าเราคิดถูกมั้ยก่อนจะลุยขั้นต่อไปเนี่ย มันเหนื่อยมากเมื่อเทียบกับการออกแบบไปให้จบ แล้วก็ให้หัวหน้าตัดสินใจ ถ้าหัวหน้าเอาด้วย ก็ลงมือทำโครมทีเดียว แล้วไปดูกันอีกทีในตอนท้ายว่าหัวหน้าคิดถูกหรือคิดผิดที่เชื่อเรา
แต่ถ้าเราเป็นหัวหน้าใหญ่ เราคงชอบวิธีที่สองมากกว่าใช่มั้ยครับ เพราะจะไม่มีเรื่องใหญ่ๆให้ต้องตัดสินใจ มีแต่เรื่องที่ถูกซอยย่อยเป็นเรื่องเล็กๆที่ทีมงานก็ตัดสินใจกันไป และมีการเรียนรู้จากการวัดผลจริงอยู่ตลอดเวลาทำให้ไม่ค่อยพลาด
งานจำนวนมาก สามารถใช้วิธีนี้มาปรับใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบให้ชัดว่าลูกค้ากลุ่มไหนกำลังเติบโต สินค้าแนวไหนกำลังมา พื้นที่ไหนกำลังบูม ระบบภายในอันไหนที่ควรแก้และแก้อย่างไรดี ค่าใช้จ่ายอันไหนที่ควรลดโดยไม่เกิดผลเสีย ลูกน้องเราคนไหนที่ควรโปรโมท ฯลฯ ถ้าองค์กรเราคิดและทำเรื่องพวกนี้ถูกหมด มันจะดีขนาดไหนหนอ ?
ทำได้ครับ ถ้าคุณมีการจัดการภายในที่เหมาะสม ส่วนต้องทำยังไง คงต้องขอให้คุณพยายามคิดดูเองนะครับ (เพราะคุณจะชอบไอเดียที่คุณคิดเองมากกว่าไง) และฝากแชร์ให้อ่านกันด้วยน้า เผื่อไอเดียคุณอาจจะเป็นประโยชน์กันคนอื่นด้วย
อาทิตย์ กริชพิพรรธ
#AAdvisory
หากสนใจ คุณสามารถเพิ่มเป็นเพื่อนเราในทาง Line เพื่อรับ update โดยตรง หรือสอบถามข้อมูลต่างๆของเราได้ที่
https://lin.ee/Q1V9omr
ครับ
ธุรกิจ
พัฒนาตัวเอง
แนวคิด
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย