Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
13 พ.ค. 2023 เวลา 11:30 • อาหาร
กรณีศึกษา สุกี้จินดา เคยเป็นร้านบุฟเฟต์มาก่อน แต่ไม่เวิร์ก
แม้ร้านอาหารหม้อไฟสไตล์จีน จะได้รับความนิยมในไทย มาสักพักใหญ่ ๆ แล้ว อีกทั้งมีร้านอาหารใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด
2
แต่ก็ดูเหมือนว่า ความร้อนแรงของ “สุกี้จินดา” ร้านหม้อไฟสไตล์จีนที่เสิร์ฟอาหารบนสายพาน จะแทบไม่ลดลงเลย
เห็นได้จากการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว จนมีถึง 15 สาขา ทั้งที่เปิดบริการมาแค่ 3 ปี แถมแต่ละสาขาก็ยังมีคนมาต่อแถวกันแน่น จนต้องรอคิวหลักชั่วโมงอีกต่างหาก..
แต่รู้ไหมว่า ก่อนสุกี้จินดา จะประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ ครั้งหนึ่งทางร้านก็เคยมีวันที่ล้มเหลว เพราะขายอาหารเป็น “บุฟเฟต์” จนต้องปิดกิจการไปเลยเหมือนกัน
แล้วอะไรคือจุดเปลี่ยน ที่ทำให้สุกี้จินดาฮิตระเบิดได้เหมือนทุกวันนี้ ? MarketThink จะชวนทุกคนมาลองวิเคราะห์กัน
1
สุกี้จินดา เป็นไอเดียของ คุณดา-นพรดา วาวีเจริญสิน อดีตไกด์นำเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ ทำให้ต้องหันมาทำธุรกิจเป็นของตัวเอง เพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ
1
โดยคุณดามองว่า อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่มนุษย์ขาดไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี คนก็ยังต้องการอาหารอยู่ดี
ประกอบกับช่วงนั้น ธุรกิจร้านหม้อไฟหม่าล่า ยังไม่ได้เป็นที่นิยมเหมือนทุกวันนี้ ทำให้มีคู่แข่งไม่เยอะ
คุณดาจึงตัดสินใจนำเงินเก็บจำนวน 1,500,000 บาท มาลงทุนทำร้านหม้อไฟหม่าล่า ที่ชูจุดเด่นด้วยการเสิร์ฟอาหารบน “สายพาน”
4
ไอเดียดังกล่าว คุณดาได้มาจากตอนที่ไปเที่ยวเมืองจีน และเห็นว่าวิธีการเสิร์ฟอาหารแบบนี้ค่อนข้างแปลกใหม่และดูสนุกสนาน น่าจะเหมาะกับกลุ่มวัยรุ่น
1
โดยในช่วงแรก สุกี้จินดาใช้วิธีขายแบบเป็น “บุฟเฟต์” ในราคาหัวละ 199 บาท และไม่จำกัดเวลา (ไม่รวมเครื่องดื่มและน้ำจิ้ม)
2
ทั้งคอนเซปต์และวิธีขายในราคาแค่หัวละ 199 บาท มันก็ฟังดูดี แต่การขายแบบบุฟเฟต์ ก็กลายเป็นดาบสองคมด้วยเช่นเดียวกัน
เพราะด้วยราคาขายแค่ 199 บาท ทำให้ร้านสุกี้จินดา มีตัวเลือกในการนำวัตถุดิบเข้ามาใส่ได้ไม่เยอะ ไลน์อาหาร เลยขาดความหลากหลายในสายตาผู้บริโภค เห็นได้จากในช่วงแรกของร้านสุกี้จินดา ที่มีเมนูน้อยกว่าตอนนี้มาก
ประกอบกับโดยปกติแล้ว ธุรกิจบุฟเฟต์ จะเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัย Volume ของลูกค้าเยอะ ๆ เพราะมีกำไรต่อหัวค่อนข้างต่ำ
1
และตอนนั้นสุกี้จินดา มีแค่สายพานเดียวในการให้บริการแถมขนาดร้านก็ยังเล็กมาก ทำให้จำนวนที่นั่งก็น้อยลงตามไปด้วย โดยมีไม่เกิน 25 ที่นั่ง
1
ซึ่งหมายความว่า ต่อให้ลูกค้าจะเข้าเต็มร้าน สุกี้จินดาก็จะสร้างรายได้จำกัดแค่หัวละ 199 บาท จากลูกค้าไม่เกิน 25 คนเท่านั้น
ยังไม่พอ การให้ลูกค้าทานได้แบบไม่จำกัดเวลา ก็ยังเป็นการทำให้ Turnover Rate หรือการหมุนเวียนของลูกค้าของร้านในแต่ละวัน น้อยลงไปด้วย
1
ทำให้ในตอนนั้น คุณดายอมรับเองว่า “ไม่เหลือกำไรเลย” แถมยังโดนโรคระบาดมากระทบกับธุรกิจอีก
สุดท้ายคุณดาไม่มีทางเลือก นอกจากปิดร้านไปก่อน
แต่หลังจากนั้นจุดเปลี่ยนก็มาถึง..
เพราะคุณดาตัดสินใจกลับมาเปิดร้านสุกี้จินดาอีกครั้งแต่เปลี่ยนโมเดลการขาย จากบุฟเฟต์เป็น “ขายเป็นไม้” ในราคาเริ่มต้นเพียงไม้ละ 5 บาท
2
ด้วยราคานี้ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านสุกี้จินดาได้ง่ายขึ้น เพราะทานเท่าไร ก็จ่ายเท่านั้น
1
แถมรูปแบบการขายเป็นไม้ที่หมุนอยู่บนสายพาน ยังช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้อย่างดี เพราะยังไม่ค่อยมีใครทำในตอนนั้น
นั่นทำให้เกิดการแชร์กันในโซเชียลมีเดียอย่างมหาศาล ทั้งจากอินฟลูเอนเซอร์ และคนทั่วไป ซึ่งไม่ต่างจากการช่วยโปรโมตร้าน โดยไม่ใช้เงินเลยสักบาท
ด้วยกลยุทธ์แบบนี้ ไม่นานสุกี้จินดา ก็กลายเป็นกระแสขึ้นมา จนต้องรอคิวกันหลักชั่วโมงตั้งแต่ตอนนั้น
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ในแง่ของผลประกอบการ ที่คุณดาบอกว่า พอเปลี่ยนวิธีขาย สุกี้จินดาก็มีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 1,000,000 บาทต้น ๆ
1
แต่รอบนี้ หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว จะเหลือกำไรถึงเดือนละ 600,000 บาท หรือก็คือ มีอัตรากำไรเกินครึ่งหนึ่ง เลยทีเดียว
4
ที่เป็นแบบนี้ได้ ก็เพราะว่า พอเปลี่ยนจากบุฟเฟต์ มาขายเป็นไม้ก็ช่วยให้ร้านควบคุมต้นทุนวัตถุดิบของลูกค้าแต่ละคน ได้ดีกว่า
ที่สำคัญ ต่อให้ลูกค้าจะนั่งนานแค่ไหน สุกี้จินดา ก็จะมีโอกาสสร้างรายได้มากขึ้นตามไปด้วย
1
เห็นได้จาก หลังจากเปลี่ยนวิธีขาย สุกี้จินดาก็มีรายได้ต่อหัว เพิ่มเป็น 300 บาท จาก 199 บาท เลยทีเดียว
แถมการใช้สายพาน ยังช่วยประหยัดต้นทุนเรื่องพนักงานเสิร์ฟไปได้ไม่น้อย จึงส่งผลตรง ๆ ให้กิจการมีอัตรากำไรมากขึ้น
นอกจากนี้ พอไม่เป็นบุฟเฟต์แล้ว ก็เหมือนกับการเปิดช่องว่างให้ร้านสามารถนำวัตถุดิบใหม่ ๆ มาขายในร้านได้ เพื่อช่วยเพิ่มเรื่องความหลากหลายแถมไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุน ว่าจะคุ้มหรือเปล่า เหมือนตอนทำบุฟเฟต์อีกแล้ว
โดยหลังจากนั้น สุกี้จินดาก็มีจำนวนเมนูบนสายพานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็น 60 เมนู ซึ่งมีราคาตั้งแต่ไม้ละ 5 บาท ไปจนถึงแบบถาดที่ราคา 50 บาทในปัจจุบัน..
1
สุดท้ายนี้ แม้สุกี้จินดา จะเปิดให้บริการมาสักพักแล้ว แต่กระแสของแบรนด์ ก็ดูจะแข็งแกร่งแบบนี้ไปอีกยาว
เพราะเหมือนกับว่า แบรนด์สุกี้จินดา ได้ผ่านการ Social Proof จากคนในสังคมไปแล้วว่า ดีมีคุณภาพ
ทำให้ไม่ว่าจะไปเปิดที่จังหวัดไหน ก็มีผลตอบรับที่ดี แม้จะมีคู่แข่งที่ขายหม้อไฟสายพานแบบเดียวกัน เกิดขึ้นมาเต็มไปหมดก็ตาม..
อย่างไรก็ดี อีกเคล็ดลับความสำเร็จที่เรียบง่าย และไม่ซับซ้อน ของสุกี้จินดา ที่ใคร ๆ ก็มองออก
คงหนีไม่พ้น เรื่องของคุณภาพของวัตถุดิบ ที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ทำให้ลูกค้ามาแล้ว ก็อยากกลับมาอีกเรื่อย ๆ นั่นเอง..
1.
https://www.youtube.com/watch?v=vpiquJHjVfw
1
61 บันทึก
80
2
103
61
80
2
103
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย