Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
13 พ.ค. 2023 เวลา 01:17 • สุขภาพ
#อาหารที่เรากินถูกย่อยได้อย่างไร
สวัสดีครับ วันนี้คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน หมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของคนเรามาฝากทุกคนกันครับ
เมื่อเรากินอาหารเข้าไป อาหารจะถูกบดเคี้ยวด้วยฟันในปากเพื่อให้มีขนาดที่เล็กลงเพียงพอที่จะกลืนผ่านหลอดอาหารลงไปได้ โดยผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟัน ก็จะทำให้อาหารไม่ถูกบดเคี้ยวโดยละเอียด จนทำให้เกิดปัญหาการย่อยอาหารยากในผู้สูงอายุนั่นเอง
หลังจากนั้นอาหารที่ถูกบดเคี้ยวจะถูกกลืนเข้าสู่หลอดอาหารผ่านบริเวณกล่องเสียงที่จะทำงานเหมือนวาล์วที่คอยป้องกันไม่ให้อาหารหลุดเข้าหลอดลม ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีการสำลักอาหารหรือมีความผิดปกติในบริเวณนี้จะเกิดปัญหาปอดอักเสบบ่อยๆ เช่น ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาตเป็นต้น
หลังจากนั้นอาหารจะไหลลงจากหลอดอาหารลงมาสู่กระเพาะอาหารที่มีหน้าที่ในการย่อยอาหารโดยในกระเพาะอาหารจะมีการหลั่งกรดเอนไซม์เปปซินออกมา เพื่อย่อยอาหารนั่นเอง โดยผู้ป่วยที่มีปัญหากรดเกินจะเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อนได้
เมื่ออาหารถูกย่อยในกระเพาะอาหารไปแล้วประมาณ2-4 ชั่วโมงก็จะไหลไปสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นที่เราเรียกว่า DUODENUM โดยที่บริเวณนี้จะเกิดการผสมอาหารและน้ำย่อยจากตับอ่อบและน้ำดีจากตับ ทำให้อาหารเหลือเพียงโมเลกุลเล็กๆที่ร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ต่อไป โดยถ้ามีปัญหาที่บริเวณนี้ก็อาจจะเกิดแผลที่ลำไส้เล็กและเกิดการรั่วของลำไส้ได้
หลังจากที่อาหารผ่านลำไส้เล็กส่วนต้นมาแล้วก็จะผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนถัดมาที่ชื่อว่า JEJUNUM และ ILEUM ตามลำดับ เพื่อทำการดูดซึมสารอาหารต่างๆที่จำเป็นกลับเข้าสู่ร่างกาย โดยผู้ป่วยบางรายที่เคยได้รับการผ่าตัดช่องท้อง ก็อาจจะมีความผิดปกติที่บริเวณนี้ทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันขึ้นมาได้
และส่วนสุดท้ายที่กากอาหารที่เหลือจากการย่อยจะมารวมกันที่ลำไส้ใหญ่และเกิดการดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอุจจาระที่เป็นก้อนๆออกมาทางก้นของเรานั่นเอง โดยความผิดปกติที่ลำไส้ใหญ่ก็มีตั้งแต่ท้องผูกไปจนถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เลยก็มี
ถ้าคุณมีความผิดปกติในการรับประทานอาหารหรือการขับถ่าย
อย่าลืมปรึกษาแพทย์ใกล้บ้านนะครับ
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
#หมอโภคิน
เรื่องเล่า
ไลฟ์สไตล์
สุขภาพ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย