13 พ.ค. 2023 เวลา 02:04 • บันเทิง

คนยุคฉันที่เรียกว่าคนรุ่นBaby Boom (เรื่องยาว)

คนกลุ่มนี้คือคนที่ เป็นวัยใกล้เกษียณ เกษียณแล้ว
เป็นคนที่เกิดช่วงวัย ช่วงเวลาที่มีระยะห่างตั้งแต่20-30 รุ่นนี้จะมีพี่น้องเยอะแยะ อย่างน้อยก็3คนขึ้นไปและมากจนเป็น10คน ก็ยังมี
พ่อแม่ของคนรุ่นนี้เกิดทารกมาเป็นว่าเล่นชนิดที่ว่าท้องแทบจะไม่ได้พักเลย(จริงๆแล้วคือมดลูก)
Baby Boom อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่55-70ปี ซึ่งเป็นที่หนักอกหนักใจของรัฐบาลทั่วโลก เพราะคนวัยนี้ เป็นวัยที่ร่างกายกำลังถดถอย โรคภัยมาเยี่ยมเยือนแสดงว่าต้องจ่ายงบประมาณในการรักษาพยาบาลที่มากมาย
ถ้าเกษียณ ก็คือ มีรายได้ที่ลดลงหรือ อาจไม่มีรายได้เลย
ค่อยมาดูที่มาของคนวัยBaby Boom หรือ Gen B
ที่มาของคนGen B
คนที่เกิดช่วง ก่อนหรือหลัง
สงครามโลกครั้งที่2 ไม่กี่ปีคนรุ่นนี้คือรุ่นที่สร้างครอบครัวเร็วสำหรับประเทศไทยแล้ว การศึกษายังไม่แพร่หลายไปตามชนบท การศึกษาขั้นพื้นฐานสมัยนั้นก็ประมาณ ป.4 สำหรับสามัญชนทั่วไป และ บางคนอาจไม่ได้เรียนด้วยซ้ำ หลังจากจบ ป.4 ผู้ชายก็อาจไปเรียนหรือฝึกหัดงานด้านงานช่างไม้ ส่วนผู้หญิงก็จะเรียนด้านเสริมสวย และตัดเย็บเสื้อผ้า
เมื่ออายุ15-16ก็สร้างครอบครัวกัน
นั่นคือคนรุ่นพ่อแม่ของGenB ไม่มียาคลุมกำนิด
เพราะฉะนั้นก็มีลูกตามมาเป็นพรวน หัวปี ท้ายปี หรือเว้นอย่างดีก็2ปี จนชนิดที่ว่าลูกคนโตกับน้องคนเล็กแทบจะเป็นแม่ลูก หรือ พ่อลูกกันได้เลยด้วยวัยที่ห่างกัน
เมื่อเป็นเช่นนั้นลูกผู้หญิงคนโตก็มักจะมีหน้าที่ช่วยงานบ้านเลี้ยงน้อง ถ้าชายก็ต้องใช้แรงงานช่วยพ่อทำไร่ไถนา ทำสวน งานไม้แล้วแต่จะถนัด
ผู้ที่มีฐานะดีก็คงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะผู้มีอันจะกินก็จะมีความสะดวกสบาย มีพี่เลี้ยง แม่นม ได้รับการศึกษาสูงจนได้รับราชการในสมัยนั้นถือว่าเป็นเกียรติมากจึงมีคำพูดที่ว่า
"เรียนสูงๆจะได้เป็นเจ้าคน นายคน"
"สังคมด้อยการศึกษา"
คนในยุคพ่อแม่หรือยายของเรา
ก็จะยกย่อง พวกเจ้าคนนายคนมาก ถึงขั้น ท่านว่าไง ก็ว่าตามไม่กล้าโต้แย้งไม่กล้าขัด เห็นชอบตามไปด้วย จนชนิดที่เรียกว่า"กลัว" ก็ยังได้เลย
เมื่อเป็นเช่นนั้น การที่จะแจ้งชื่อ แจ้งเกิดจึงมีการผิดเพี้ยนและคลาดเคลื่อน เพราะ กลัว ถูกนายที่เป็นนายทะเบียนว่าให้ กลัวโดนค่าปรับ กลัวการอธิบาย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดกับคนดังในไทยเช่น คุณสุทธิชัย หยุ่น นักอ่านข่าวชื่อดัง ซึ่งเป็นพี่ชายของคุณ เทพขัย หย่อง ทำไมเขานามสกุลไม่เหมือนกัน ก็เพราะพ่อแม่เขาเป็นคนจีน
พูกไทยไม่ซัก
ไปแจ้งเกิดคนพี่ นามสกุลหยุ่น หรือแซ่หยุ่นก็ไม่รู้ ต่อมามีลูกอีกไปแจ้งเกิดซึ่งก็ไม่ทราบว่า ด้วยการที่พูดไม่ชัดหรือเจ้าหน้าที่ไม่พยายามที่จะถามหรือ เป็นเจ้าหน้าที่คนละคน หรือคนไปแจ้งคนละคน จะด้วยเหตุผลใดก็ไม่รู้ทำให้2พี่น้องนามสกุลไม่เหมือนกัน ทั่งที่พ่อแม่คนเดียวกันเป็นพี่น้องกัน (ขออนุญาติเอาเรื่องของท่านมาเล่านะคะ)
ส่วนตัวฉัน วันเกิดที่แจ้งในใบเกิดอ่อนกว่าวันเกิดที่แท้จริง 1เดือน ทำไมเป็นงั้น ฉันถามแม่ ท่านตอบว่า การคมนาคมไม่สะดวก ต้องทำมาหากิน ต้องรอ พ่อซึ่งพอจะรู้หนังสือบ้างเป็นคนไปแจ้งเกิดกว่าจะได้ไปก็ล่วงเลยไปเป็นเดือน เมื่อเจ้าหน้าที่ถามว่าเกิดวันไหน พ่อตอบ "เกิดวันนี้ครับท่าน"
เพราะกลัวโดนปรับที่ไม่แจ้งภายในกำหนดคือ15วันหลังจากคลอดบุตร
มีรุ่นพี่หลายคนที่รับราชการเขาบอกว่าเขากำไร จากการแจ้งเกิดที่ผิดเวลา แจ้งเกิดช้า เลยเกษียณช้าได้รับเงินเดือนต่อไปอีก1ปี
และก็มีบางคนที่บอกว่าเขาและพี่เขาแจ้งเกิดปีเดียวกันขณะที่อายุต่างกันเกือบ2-3ปี อย่างนี้ก็มีด้วย
หรือการตั้งชื่อที่ไม่มีไอเดียเอาซะเลย บางทีพ่อแม่ปู่ ย่า ตา ยาย ด๋ไปขอชื่อ จาก พระ ที่ท่านนับถือ
บางคนนึกไม่ออกเมื่อถึงที่ว่าการอำเภอแล้ว ก็เอาเท่าที่นึกได้ ดำ แดง ขาว เขียว ว่ากันไปส่วนคนจีน ก็ตั้งชื่อจีน ไปแจ้งนายทะเบียนพูดก็ไม่ชัด ทีนี้ก็แล้วแต่ว่านายทะเบียนจะสะกดชื่อไปว่าอย่างไร ซึ่งอาจเป็นชื่อที่ไม่สามารถจะแปลได้ด้วยซ้ำ ในเมื่อ ท่านเขียนมาให้แล้ว ตัวเองก็ภาษาไทยไม่ชัด
อ่านก็ไม่ค่อยจะคล่องอย่าว่าแต่จะสะกดคำแล้วเขียนให้ถูกต้องเลย
งั้น....ก็เลยตามเลยนี่เป็นแค่ชื่อไปโรงเรียน เรียกอยู่บ้านก็เรียกชื่อเล่นหรือชื่อจริงที่ถูกต้องแต่ชื่อที่เขียนออกมาที่นายทะเบียนเขียนให้ก็ต้องเขียนตามนั้น เห้อ........
"สมชาย แซ่ตั้ง"
คนไทยเชื่อสายจีนส่วนมากพ่อแม่จะเป็นคนมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่มาตั้งรกรากบนผืนแผ่นดินไทย
เมื่อมีลูกหลานออกมาก็อยากจะตั้งหรือเปลี่ยนชื่อลูกตัวเองให้เรียกง่ายเหมาะกับเป็นคนไทย เมื่อกำเนิดบุตรชายก็อาจให้เจ้านายที่รู้จัก หรือคนที่พอจะมีความรู้ตั้งชื่อให้สิ่งที่ตามมาคือ บุตชาย ก็น่าจะชื่อ "สมชาย" จากสถิติแล้วชื่อที่ซัำกันมากที่สุดในไทยข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2565 ข้อมูลจาก new tv.co.th
สมชาย แซ่ตั้ง มีทั้งหมด 293ชื่อ
สมชาย แซ่ลิ้ม มี 271 ชื่อ และ
สมชาย แซ่ลี้ มีทั้งหมด 198ชื่อ ที่กระจายอยู่ในประเทศไทย ยังไม่รวม คนที่ชื่อ สมชาย ที่ใช้นามสกุลไทยอีก ชื่อนี้เป็นที่นิยมมาก ๆใน ยุคเรา ความคิดส่วนตัวคิดว่าคนเจนเนอเรชั่น อื่นคงไม่ค่อยตั้งชื่อนี้แล้วกระมัง
เด็กเจนB เกิดมาส่วนใหญ่มีชีวิตค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเรื่องอาหาร การกินหรือความเป็นอยู่ รายได้ต่อครัวเรือนที่ต่ำ งานที่ไม่หลากหลาย ถ้ามีร้านขายของชำก็จะถือว่ามีเงินกว่าชาวบ้านทั่วไปแล้ว คนเป็นลูกจ้างแรงงานจะมีมากว่าเถ้าแก่ แต่กระนั้นเถ้าแก่ผู้เป็นเจ้าของกิจการก็จะลงมือทำเองซะมากกว่า เรื่องการกินเหรอ ถ้าจะได้กินเนื้อไก่ก็ต้องเป็นวันพิเศษจริงๆ อาหารเน้นผักซะมากกว่า หรือไม่ก็งมหอยตามแม่น้ำลำคลอง จับปลาเล็กๆมาเป็นกับข้าว ผัก ตามธรรมชาติหรือไม่ก็ปลูกเองนิดๆหน่อยไว้กินเอง
การถนอมอาหาร
คนรุ่นพ่อแม่เรารู้จักการถนอมอาหารได้ดี
ปลาแห้ง
เช่น ปลาที่หามาได้เหลือก๋เิามาตากแห้ง กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง ปลาเค็ม ปลาหร้า กุนเชียง หรือใส้กรอก อาหารสมัยนั้นไม่มี อย. ไม่มีวันหมดอายุ เพราะฉะนั้นอาหารเหล่านี้จะไม่มีการทิ้งเลยความที่ลูกๆเยอะแยะ อาหารทุกอย่างก็จะได้กินกันอย่างจำกัดจำเขี่ย ลูก7-8คนต้องกินข้าวมากกว่ากินกับข้าว แต่ก็ยังดีกว่าประเทศจีนในยุคเดียวกัน สามัญชนทั่วไปต้องใส่เผือก มันเทศ ผสมไปในข้าวเพื่อกินให้อิ่มท้อง
เมื่อเริ่มไปโรงเรียน
พี่ๆเริ่มไปโรงเรียนกันอย่างดีก็เรียนแค่อ่านออกเขียนได้ ป.4 คือเป้าหมายสำหรับครอบครัวที่ฐานะยากจนหรือพี่คนโตๆอาจไม่ได้เรียนด้วยซ้ำเพื่อช่วยพ่อแม่ทำงานหาเงิน เลี้ยงน้องๆ ข้าราชการครู หรืพวกมีเงินเดือนประจำก็จะมีสวัสดิการจากรัฐบ้าง และผลักดันให้ลูกๆเรียนหนังสือมากกว่าชาวบ้านทั่วไป ถึงเกณฑ์ 6ปีก็เริ่มเรียนอนุบาล และ7ปีเข้าเรียน ป.1
ครูคนเดียวจะสอนทุกวิชาและทั้งวัน ประเทศไทยช่วงนั้นอยู่ในระดับประเทศด้อยพัฒนา
ในสมัยนั้นเงินค่าขนมไปโรงเรียนอย่างดีก็ 50สตางค์
เหรียญ 50 สตางค์ พ.ศ.2500
คนรุ่นใหม่เจนY, Z หรือเจนไหน ก็ไม่รู้ค่าของเหรียญนี้แน่เพราะมันไม่สามารถที่จะซื้ออะไรได้เลย แต่ เจน เราเคยได้ใช้มันอย่างมีค่าเป็นค่าขนมไปโรงเรียน เพื่อนบางคนไม่ได้ค่าขนมด้วยซ้ำ ส่วนข้าวก็ต้องคดใส่กล่องอาหารไปกินมื้อกลางวันที่โรงเรียน ส่วนใหญ่จะนั่งกันเป็นกลุ่ม แลกกับข้าวกัน แบ่งปันกันไป
ยังจำได้ดี 50 สตางค์นี้ กิน ก๋วยจั๊บญวนได้ 1ถ้วย กาไก่ กินน้ำแข็งใสได้เลือก ฟักเชื่อม รากบัวเชื่อม มันเชื่อม ลูกจาก ฯ ผสมกัน4-5อย่าง กินขนมจีนได้1 จาน ไปกินร้านที่ขายในตลาด นั่งม้ายาว ขายดีหน่อยก็นั่งเบียดๆกันไป แม่ค้าน้ำแข็งใส ต้องมีกล้ามใหญ่พอสมควร เพราะต้องใช้แรงใสน้ำแข็งก้อนสี่เหลี่ยมใหญ่ประมาณกล่องที่ใส่่รองเท้า บนม้าไม้อันเล็กยาวประมาณ60เซ็นติเมตร ตรงกลางมีร่องและมีใบมีดบางๆมีคมอยู่ด้านบนเวลาใสน้ำแข็งไปใบมีดก็จะขูด น้ำแข็งให้เป็นเกล็ดเล็กๆฝอยๆ แม่ค้าก็จะตักพวกเครื่องที่เราต้องการใส่ถ้วย
แล้วเอาถ้วยนั้นไปรองใต้มัาที่มีใบมีดนั้นแล้วใสน้ำแข็งใส่จนเต็มและพูนถ้วย ราดด้วยน้ำเชื่อม และกระทิ หรือ นมข้นหวาน กินแล้ว หวาน เย็นชื่นใจ ก็คล้าย บิงซูในปัจจุบันนี่แหละ เรื่องความสอาด หรือถูกหลัก อนามัยไม่ต้องไปคิดถึงมัน บางครั้งม้าที่ใช้ใสน้ำแข็ง ก็ มีราขึ้น หรือมีตระไคร่น้ำจับ ก็ไม่เห็นจะมีใครสนใจ
ขนมก็ไม่มีหลากหลาย ขนมกรอบ ขบเคี้ยวไม่ค่อยมี แต่มีลูกอม ที่อยู่จนทุกวันนี้ก็คือ ลูกอม ฮอลล์ 2เม็ด ราคา1สลึง หรือ 25 สตางค์ ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ชามละ2บาท ตอนนั้นฉันอายุประมาณสัก6-7ขวบ
ผงซกฟอกในตำนาน
มีอะไรมาใหม่ๆเรื่อยเหมือนกำลังมีวิวัฒนาการ จากที่เคยใช้สบู่ก้อนเหลืองๆซักผ้าก็มีผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่มาให้ใช้ เมื่อก่อนเท่าที่จำได้ผงซักฟอก ยี่ห้อแรกๆน่าจะเป็นยี่ห้อ แฟ๊บ เป็นผงละลายใส่น้ำในกาละมังเอาเอามือคนๆให้เป็นฟองแล้วเอาผ้าลงไปแช่และซักทีละตัวเมื่อไรที่แม่ใช้ให้ไปซื้อผงซักฟอก แม่ก็จะบอกว่า"วิ่งไปซื้อแฟ๊บให้แม่หน่อย "ต่อมามีผงซักฟอกเกิดมาใหม่อีก1นี่ห้อ ชื่อ บรีส จำได้ติดตาว่าเวลาโฆษณาทางทีวีจะมีผู้ชายคนนึงใส่เสื้อแขนยาวสีขาวเรียบร้อยเป็นพรีเซ็นเตอร์ สร้างการจดจำในยี่ห้อ บรีส
อยู่มาวันหนึ่งแม่ก็ใช้ให้ฉันไปซื้อผงซักฟอกอีกแต่แม่พูดว่า
"ไปซื้อแฟ๊บมาให้แม่หน่อยแต่เอายี่ห้อ บรีส นะ" 555คนไทยเรียกผงซักฟอกว่าแฟ๊บจนติดปากไปแล้ว ยังมีอีกอย่างคือ แชมพู ยี่ห้อดั้งเดิมที่รู้จักคือ "แฟซ่า" เมื่อไรที่คนจะซื้อแชมพูสระผมก็มิวายที่จะยอกว่าไปซื้อ แฟซ่า ทั้งๆที่ซื้อมามันเป็นยี่ห้ออื่น
ต่อมาไม่นานฉันจำได้ดี มีรถตู้ขนของมาแล้วบอกเราว่าเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฟังแล้ว ก็งง บังเอิญบ้านฉันอยู่ใกล้ตลาด อะไรมาใหม่ๆก็มักมาลงที่ตลาดก่อน มีพนักงานหญิงมาด้วยแล้วเชิญชวนให้เราดูและชิม
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้น ชื่อเรียกว่า"มาม่า"้คะยั้นคะยอให้เราเข้าไปชิมด้วยการเอาบะหมี่ก้อนแข็งๆใส่ในถ้วยและเทน้ำร้อนลงไปเอาฝาปิดประมาณ5นาทีแล้วให้เรากชิมและกินมัน นั่นคือการสอนให้เรากิน ให้เรารู้จัก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ชื่อ มาม่า ต่อจากนั้นก็มีวางขายตามท้องตลาด เมื่อมาม่าขายดีย่อมมีคู่แข่ง ตามมา นั่นคือ
" ยำยำ" แต่ทำไงได้คนไทยติดปากเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่า "มาม่า"ซะแล้ว ยี่ห้ออื่นเลยแจ้งเกิดยาก ตอนนั้นฉันก็น่าจะอายุสัก7-8ปี ที่ได้กิน มาม่าครั่งแรกในชีวิต
ถือว่าครองใจคนไทยมายาวนาน
ยาสามัญประจำบ้านของคนช่วงนั้น ถ้าปวดหัวก็ต้องกิน ยาทันใจเป็นซองเล็กสีขาว รถออกเปรี้ยวนิดๆ อีกยี่ห้อคือ ปวดหาย ที่หน้าซองจะมีรูปการ์ตูนผู้ชายหัวยาวๆและเอามือค้ำที่หัว ยาตัวนี้ก็มีคนเอามาเล่าขานเป็นเรื่องตลกในเวลาต่อมา อีกยี่ห้อคือ ยาแก้ปวด บูรา ถ้าปวดท้องก็ใช้ยา ตราคนตกเบ็ดเป็นเม็ดลูกกลอนเล็กๆอยู่ในขวดแก้ว ถ้ามีอาการไอ สมัยนั้นก็ต้องยาแก้ไอโยคี แพงมาหน่อยก็ยี่ห้อ ชวนป๋วยปี่แป่กอ ถ้าเป็นหวัดคัดจมูก ใช้ วิคสวาโปรับ ซึ่งก็อยูมาถึงทุกวันนี้
แมลงสัตว์กัดต่อยก็ต้อง ยาหม่องถ้วยทอง และอีกยี่ห้อคือยาหม่องตราลิงถือลูกท้อ ชื่ออาจจะยาวไปทำให้ไม่ติดปากคนซื้อและก็หายไปในเวลาต่อมา แต่ยาหม่องถ้วยทองก็ยังอยู่จนทุกวันนี้
การกินยาแก้ปวดที่เป็นซองทั้งหลาย 2ซองบาทไม่รู้มีตัวยาอะไรทำให้พวกที่ใช้แรงงานซื่อกินกันจนติด ต่อมาไม่นานก็มีกรมการโฆษณา มาควบคุมเรื่องการตั้งชื่อยาเหมือนเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ โอ้อวดสรรพคุณทำให้ผู้ผลิตยาต้องปรับเปลี่ยนชื่อยาของตัวเอฃ
จากยาแก้ปวด "ทันใจ"เปลี่ยนแค่ตัวอักษร น เป็น ม อ่านว่า ยาแก้ปวด "ทัมใจ" และจาก "ปวดหาย" ก็เปลี่ยนอักษร ป เป็น บ เรียกชื่อว่า "บวดหาย" แค่เปลี่ยนตัวอักษร
แต่ความหมายแปล่ว่าอะไร "ทัมใจ" "บวดหาย" คนจะสนใจมั้ยในภาษาเช่นนั้นแต่ภาพที่ติดตาคือซองที่ใส่ สัญลักษณ์คนเอามือค้ำหัว แค่นั้นจริงๆ มันเป็นตัวยาแอสไพริน ต่อมา ก็มีการปรับเปลี่ยนยกเลิกการใช้แอสไพริน
เปลี่ยนเป็น
ยาแก้ปวด "ปวดหาย"
กลายเป็น "บวดหาย"
เพื่อรักษา เอกลักษณ์ ซองหรือแพคเก็จดั้งเดิมก็คือแค่เปลี่ยนตัวอักษร ใครจะสนใจว่ามันมีความหมายอะไรมั้ย 555
และก็มีเรื่องตลกที่เล่ากันมาเกี่ยวกับยาบวดหาย ก็ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้นมาหรือเรื่องจริง เรื่องมีอยู่ว่า มีตำรวจคนหนึ่งมีอาการมึนเมา ได้รับการแจ้งเหตุว่ามีรถชนกันนายตำรวจไปถึงที่เกิดเหตุจึงขอดูใบขับขี่ของผู้ขับขี่ ชายผู้นั้นก็ค่อนข้างเมาเช่นกัน ล้วงกระเป๋า หา จนเจอแล้วเอาซองยาบวดหาย ยื่นให้ "ทีหลังถ่ายรูปใบขับขี่ทำหน้าให้ตรงๆหน่อย อ้อ แล้วอย่าเอามือค้ำหัวล่ะ"ต่างคนต่างเมา ถ้าเรื่องนี้เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่า การทำงานของตำรวจสมัยนั้นไม่มีระเบียบวินัย ดื่มเหล้าในขณะปฏิบัติหน้าที่
และอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์คือ ผงซักฟอก ยี่ห้อ "เปาบุ้นจิ้น" ที่กล่องเป็นสีแดงมีรูปท่านเปา อยู่หน้ากล่อง บางคนอาจจะเคยเห็นและจำได้ ความหมายอาจจะสื่อถึงความซื่อต่อผู้บริโภค หรือจะด้วยช่วงนั้นภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง
"เปาบุ้นจิ้น"กำลังดัง คนติดกันงอมแงม และก็มี ยาสีฟันยี่ห้อ "ซื่อสัตย์"ด้วย อาจจะตั้งชื่อให้ใกล้เคียง กัน แต่ยังไงก็สู้ชื่อที่ออกเสียงหรือเป็นภาษาต่างประเทศไม่ได้ ผงซักฟอกนี้ผู้เขียนไม่แน่ด้วยสาเหตุใด ชื่อยาวไป หรือป่าว
ต่อมาผงซีกฟอก "เปาบุ้นจิ้น" ก็เปลี่ยนชื่อเป็น ผงซักฟอก
"เปา" ซึ่งก็สามารถอยู่ครองส่วนแบ่งตลาดมาจนถึงทุกวันนี้
จาก เปาบุ้นจิ้น ทุกวันนนี้ ก็เป็นผงซักฟอก เปาวินวอช ข้อมูลนี้ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจนักว่าเป็นเช่นที่เข้าใจมั้ยอาจมีการเปลี่ยนชื่อ เทคโอเว่อ หรืออะไรสักอย่าง ตามที่สันนิฐานหรือเข้าใจไปเอง
เรื่องของบุหรี่
ขอขอบคุณภาพจากเจ้าของเฟรสบุ๊คท่านที่เขียนว่า"ตอนเด็กแม่ใช้ให้ไปซื้อบุหรี่"
สังคมยุคนั้นประมาณ ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่ามีการผลิตบุหรี่ มาตอน พ.ศ.ไหน แต่ 2516 ฉันโตพอที่จะรู้จักมัน เพราะ ที่บ้านฉันขายด้วย ใส่ตู้กระจกขนาดเล็กมีบานเลื่อน2บาน สลับข้างกัน บุหรี่สมัยนั้นมีทั้ง แบบ ไม่มีก้นกรอง แน่นอน แบบที่มีก้นกรองต้องแพงกว่าอยู่แล้วและมวนยาวกว่า ตอนนั้นฉันไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่ามันแตกต่างกันที่ตรงไปไหน ฉันอายุประมาณ 8-9ปี หน้าที่คือเฝ้าตู้บุหรี่ เพราะใน1ซอง จะมี20มวน
บางคนซื้อเป็นซอง บางคนก็ซื้อครึ่งซอง ก็คือต้องแบ่งออกเป็น10มวนโดยใช้ซองแก้วที่หุ้มนอกซอง มาใส่ส่วนที่แบ่งออกมา10มวน
ชื่อบุหรี่ก็มีเยอแยะไปหมด เช่น กรุงทอง เกล็ดทอง สามิต สายฝน
รวงทิพย์ ที่เป็นที่นิยมของเหล่าสิงห์อมควัน และถ้ามีก้นกรองขึ้นมาก็จะมีชื่อเรียกห้อยท้ายเพิ่มขึ้นมาอีก เช่น สามิต14 กรุงทอง85
แต่ยี่ห้อกรองทิพย์ และ สายฝนมีแต่แบบก้นกรองก็เป็นที่นิยมจนทุกวันนี้ ในช่วงเวลานั้น พวกบุหรี่ที่ไม่มีก้นกรองน่าจะอยู่ประมาณซองละ4บาทแต่ฉันเคยแบ่งขายพวกบุกรี่ก้นกรอง 5มวน 2บาท
ทุกวันนี้กรองทิพย์มวนเท่าไร ?
ตอนนี้จะเล่าเรื่องของเหล้า
ก็อีกนั่นแหละที่บ้านฉันก็ขายเหล้าเป็นเพราะร้านเราอยู่ใกล้ตลาด ขายอะไรก็ขายได้แต่หลักๆคือขายก๋วยเตี๋ยวและมีตัวเสริมขึ่นมาเรื่อยๆเพราะมีมีกลุ่มคนหลากหลายผ่านไปมา เหล้าที่ขายก็เหล้าขาว เหล้าสีก็จะมีชื่อว่าเหล้า"แม่โขง" ขายเป็นเป็ก คือเป็นจอกพลาสติกเล็ก ตรวงเกือบเต็มแล้วคนที่มาซื้อก็กระดกเหล้านั้นเข้าปาก ถามว่าแก้วนั้นได้ล้างมั่งมั้ย บอกตามตรง นานๆที แล้วก็มีเป็นขวดแบน ตามนั้น คือขวดทรงแบนแต่มีปริมาณครึ่งหนี่ง ของขวดกลม ขวดกลม มีปริมาตรก็น่าจะประมาณ 750 มล เท่าขวดน้ำปลา
และก็ยังมีคำว่ากั๊ก เท่ากับครึ่งหนึ่งของขวดแบน วิธีตรวงที่พ่อสอนก็คือ ถ้าจะขายเป็นกั๊ก ก็ใช้ขวดแบนเปล่ามาตั้งแล้วเอากลักไม้ขีดไฟ ตราพญานาค มาเทียบข้างขวดและรินเหล้าผ่านกรวยลงไปจนถึงขอบบนของกล่องไม้ขีดนั้น นั่นคือ 1กั๊ก นี่เป็นความฉลาดและวิธีการของคนรุ่นพ่อ แม่ฉัน
ก็แล้วแต่กำลังซื้อของผู้ดื่ม จะแบน กลม กั๊กหรือเป๊ก
สามล้อ ส่วนมากก็เหล้าขาว1เป๊ก
ข้าราชการก็อาจเป็นกั๊กหรือ แบน
แต่ถ้ามานั่งกินที่ร้านหลายๆคนก็จะสั่งเป็นกลม คนรุ่นนั้นไม่ค่อยผสมน้ำ หรือโซดา ดื่มกันเพรียวๆ
คุยกันไปสับเพเหระ เหล้าหมดก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ส่วนกับแกล้มที่ภาคอื่นฉันไม่รู้ ฉันอยู่ภาคอิสานเขาก็สั่ง ลาบวัว ต้มเนื้อมากินแกล้มเหล้า ก็ไม่รู้ว่าเขาเฉลี่ยกันจ่ายเงินหรือเปล่า แต่สิ่งที่ตามมาคือ การเซ็นต์
การเซ็นต์คือการกินก่อนอาศัยเคจ่ายทีหลังอาศัยความเชื่อใจ คำว่าเซ็นต์ อาจเกิดจากการลงบัญชีไว้ว่านาย คนนี้ได้กินเหล้าในวันที่นี้ ไปเป็นเงินกี่บาท แล้วก็ลงลายเซ็นไว้สิ้นเดือนจะมาจ่าย ก็จะมีบัญชีไว้ทวงหนี้กัน หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการเขียนติดไว้ว่า
"งดเชื่อ เบื่อทวง"
อันนี้ไม่รู้ใครเป็นคนคิดคำพูดนี้ขึ้นมา
อ่านแล้วมันช่าง ชัดเจน และจริงจัง แปะไว้ให้เห็นชัดๆ เนื่องจากว่า เชื่อใจแล้วให้เซ็นต์กินก่อนจ่ายทีหลัง แต่ลูกหนี้ผิดสัญญา เกิดการทวงหนี้ซ้ำๆซากๆ จนตัดปัญหาไปว่าต่อไปนี้ฉันจะไม่ขาย เงินเซ็นต์ เงินเชื่อ หรือขายให้ก่อนจ่ายทีหลัง เพราะความเชื่อใจกัน
หลังจากนี้ฉันจะโพส เป็นตอนๆไป ชึ่งก็คงจะต่อเนื่องจาก โพสต์นี้เพื่อให้การอ่านมันง่ายขึ้น
ถ้าชอบก็ติดตามกันต่อไปนะคะ ขอบคุณค่ะ
  • ความบันเทิงของคนGen B
อันดับแรกน่าจะเป็นหนังกางแปลง
เกิดจาก บริษัทที่ผลิตยาต้องการจะกระจายสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มคนในต่างจังหวัดหรือชนบท จึงดึงดูดให้คนไปดูหนังฟรี และได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่อยากขาย หนังกางแปลง มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า หนังขายยา จะมีรถแห่ประกาศไปทั่วว่าจะมีการฉายหนังกางแปลงที่วัดไหน วันไหน ผู้คนก็เตรียมอาบน้ำแต่งตัวแต่หัวค่ำ ทีขาดไม่ได้คือเสื่อ กระดาษลัง หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อไปปูรองนั่งดูหนังกัน ก่อนที่จะฉายหนังก็มีการโฆษณา ขายยา จำได้ว่า
เครื่องดื่มชูกำลัง "กระทิงแดง" ก็ใช้วิธีนี้เพื่อเข้าถึงลูกค้า แต่ยี่ห้อแรกๆทีมีอยู่ก่อน น่าจะเป็น ลิโพวิตันดี อันนี้เห็นโฆษณา ในรายการมวยอยู่บ่อย กระทิงแดงเริ่มเข้าหาลูกค้าด้วยการให้หนังกางแปลงช่วยขาย อาจมีการให้ชิมด้วย
หลังจากพูดจูงใจ บรรยายสรรพคุณ ของสินค้าแล้วก็เชิญชวนให้ซื้อ ก็ดับไฟที่ติดตั้งไว้รอบๆแล้วเริ่มฉายหนัง ดาราคู่ขวัญสมัยนั้นคือ มิตรชัย บัญชา
เพชรา เชาวราช คู่รองๆมาก็สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงศ์
ต่อมาไม่นาน ด็มีข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ "มิตรชัย บัญชา ตกเฮลิคอปเตอร์ "
มิตชัย บัญชาพระเอกชื่อดัง เสียชีวิต เพราะตกจากเฮลิคอปเตอร์ระหว่างถ่ายทำภาพยนต์ทำให้แฟนๆภาพยนต์ สมัยนี้ก็คงเรียก FC เศร้าโศกเสียใจมาก ถึงขั้นร้องห่มร้องให้
ก็ไม่เข้าใจว่า เราจะเสียใจให้กับคนที่ไม่รู้จักได้ถึงขั้นร้องให้เลย
เหรอ แต่มีและมากมายด้วยทราบว่าวันที่เผามีผู้ไปร่วมงานเยอะมาก
มิตรชัย บัญชา
สื่อความบรรเทิงอีกอย่างคือวิทยุซึ่งมีช่องความถี่เป็น AM ทีนิยมมากคือ ละครเสียง คณะ เกศทิพย์
นั่งฟังกันจากเสียงที่ออกมาจากวิทยุ จินตนาการตามไปด้วยจนนึกภาพออก เป็นความสามารถมากๆของผู้ที่ทำละครเสียง ออกมาให้คนคอยเงี่ยหูฟังและติดตามทุกวัน
ก็มีโฆษณาคั่นระหว่างช่วงเวลาที่มีละครเสียง แต่มันก๋ไมาถึงขั้นทำให้รำคาญนัก เพราะการโฆษณา ก็จะมีมุก ที่ทำให้คนฟังสนใจและจำติดหูได้เช่นกัน
หัวค่ำก็มีละครเสียงเรื่องผีๆ ฟังไปกลัวไป บางคืนก็ได้ยินยายข้างบ้านเปิดเพลงสุนทราภรณ์ แว่วๆมาเสียงและทำนองเนิบๆยกเว้นนักร้องหญิง เสียงแหลมปี๊ดเลย
แต่มันก็ไม่มีทางเลือก
สุเทพ วงศ์กำแหง นักร้องลูกกรุง
ต่อมาก็มีเพลงสไตล์ใหม่ที่เรียกว่าเพลงลูกกรุง สุเทพ วงศ์กำแหง ดังมากในยุคนั้น เสียงนุ่ม เพราะเนื้อเพลงลึกซึ้งฟังแล้วอารมณ์คล้อยตาม นักร้องหญิง ก็มี สวลี ผกาพันธุ์ ต่อมาก็เริ่มมีนักร้องแนวนี้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆเช่น ธานิน อินทรเทพ ชลัม เทพชัย รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ดาวใจ ไพจิตร
มีผลงานเพลงเพราะมากมาย
แล้วก็ยังมีเพลงที่เรียกว่าเพลงลูกทุ่งเแ็นเพลงที่ร้องจินตนาการถึงท้องนา สายน้ำ ท้องฟ้า กิจกรรมที่ทำ วิถีชีวิต คนชนบท
ศิลปินยุคนั้นก็มี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ผ่องศรี วรนุช
เพลิน พรหมแดน รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ต่อๆมาก็มี
สายัณ สัญญา ศรเพชร ศรสุพรรณ ยอดรัก สลักใจ คนนี้จะร้องเพลงสไตล์ติดตลก เร็วจังหวะ สามช่า
นักร้องดังๆส่วนมากก็มีการนำวงคณะเดินสายร้องเพลง ตามจังหวัดต่าง พร้อม แดนท์เซ่อแต่ชุดวาววับ รุ่มร่าม ขายตั๋วเข้าชม ก็จะมีการเอาสังกะสีมาล้อมเป็นบริเวณกว้างข้างในจัดที่นั่งให้FC
แฟนคลับ มาดู
มีการคล้องพวงมาลัยดอกดางเรือง จนล้นคอ ต่อมามาลัยที่เป็นดอกดาวเรือง ก็วิวัฒนาการเป็น แบงค์ 20 แบงค์ร้อยแล้วแต่ความลุ่มหลงของแฟนเพลงที่มีให้กับนักร้อง
มีลูกกรุงลูกทุ่งแล้ว ต่อมาไม่นานก็มีวงดนตรียุคใหม่ขึ้นมาเรียกเพลงสตริง กลุ่มนี้น่าจะเกิดรุ่น ประมาณว่าพ.ศ.2490การแต่งตัวคือใส่กางเกงขาม้าบานๆ เสื้อเชิ๊ต รัดรูปมีวงโฟลคซอง เล่นกันสดๆ นักร้องดังยุคนั้นก็มี เศรษฐา ศิระฉายา นักร้องนำวง ดิอิมพอสสิเบิล
แล้วก็มีนักร้องที่สร้างผลงานเปลี่ยนแนวไปบ้างทีละเล็กละน้อยมีการ" อัดแผ่นเสียง"
การที่อยากจะฟังเพลงของนักร้องที่ชื่นชอบ ที่บ้านต้องมีเครื่องเล่นแผ่นเสียง และมีแผ่นเสียงวางแล้วยกเหล็กยาวประมาณ3-4นิ้วไปวางบนแผ่นเสียงทีปลายก้านเหล็กนั่นจะมีเข็มเล็กเราต่องยกไปวางบนแผ่นเสียงที่กำหลังหมุนอย่างเบามือ
ก็จะเกิดเสียงเพลงออกมาให้เราฟัง ถ้าเราเล่นหรือฟังซ้ำๆ บ่อยครั้งเส้นที่อยู่บนแผ่นเสียงเกิดสึกหรอ หรือขาดตอนเข็มที่วนอยู่บนแผ่นที่หมุนอยู่ตลอดก็จะชงักและค้างอยู่ตรงร่องเส้นเสียงเดิมๆนั้น ทำให้ เพลงจะร้องย้ำอยู่กับเนื้อเพลงท่อสั้นๆนั่นซ้ำๆ เกิดคำพูด ขึ้นมาว่า"แผ่นเสียงตกร่อง"
บางทีก็มีการเอามาเปรียบเปยกับเหตุการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
แผ่นเสียง
วิวัฒนาการโลกตะวันตกเข้ามาในไทยมากขึ้น มีเพลงฝรั่งเข้สมาในไทย ผู้คนก็นิยมที่จะฟังเช่นกันทั้งๆที่บางครั้งแทบจะไม่รู้ความหมายด้วยซ้ำ แต่
นักร้องและวงดนตรีโฟคซองไทยก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกันทั้งนักร้องเดี่ยวและเป็นกลุ่ม
จากที่เคยใช้แผ่นเสียงไว้บันทึกเพลง ก็เปลี่ยนรูปแบบบันทึกลงในเทปเรียกว่า"เทปคลาสเส็ท"เป็บ ตลับเล็กๆ มีเทปเส้นเล็กยาวอยู่ลม่ม้วนอยู่ในตลับ เส้นเทปเหล่านั้นใช้บันทึกเพลงได้หลายเพลงและมี2ด้าน ด้านละ5-6เพลงรวมเรียกว่า1อัลบั๊มหรือเทป1ม้วนก็จะมี 10-12เพลง
ยุคนั้น ที่ได้ยินบ่อย เช่น วง
รอแยลสไปรท์ มีนักร้องนำคือ สุนทร สุจริตฉันท์ วงพลอย นักร้องนำ คือ ดนุพล แก้วการ แม้แต่วงการลูกทุ่งก็ผุดขึ้นมากมาย คนที่ดังมากๆเรียกว่าดังทะลุฟ้า ก็จะได้เปอร์เซ็นจากยอดขายเทปที่อัดเสียงไป เป็นยุคที่นักร้องดังสามารถทำเงินได้เยอะมากเพลงพวกนี้จะเปิดมากเพื่อเชิญชวนคนซื้อในเวลามีงานประจำปีของจังหวัด เรียกว่า"งานกาชาด" ก็จะมีร้านค้าขายเสื้อผ้า สินค้า ต่างๆมากมายทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค และมีเครื่องเล่น เวลาเดินผ่านร้านขายเทปเพลงก็จะได้ยินเพลงยอดนิยม
เทปคลาสเส็ท
พ.ศ.2518มีวงสตริงเกิดขึ่นและมีชื่อเสียงเป็นที่นิยม ยาวนาน มาก นั่นคือคือ วง ชาตรี วัยรุ่นสมัยนั้นต้องรู้จักเพราะเป็นเพลงแนวใหม่ รักหวานซึ้ง หรือผิดหวัง อกหัก
มีเอกลัษณ์ ร้องง่าย ฟังง่าย ถูกใจวัยรุ่นยุคนั้น วงชาตรี ครองใจวัยรุ่นยุคนั้นอยู่นานหลายปี
นักร้องกลุ่มนี้ตั้งวงดนตรีขณะที่ยังเรียนอยู่ มหาวิทยาลัย ปี2ซึ่งมีความสามารถมากแต่งเพลงเอง เล่นดนตรีเอง มีสมาชิก5คน ความนิยมมากถึงขั้นเดินสายไปแสดงสดแทปทึกจังหวัด เวทีทีขึ้นแสดงส่วนมากในโรงภาพยนต์หรือโรงหนัง ดังมากๆใครๆก็รู้จักคือเพลง"แฟนฉัน"
6นาฬิกา แอบมาพบเธอ เจอกันทุกทีโสภีงามแท้.......
7นาฬิกา รีบมาเล่าเรียน ใจยังหมุนเวียนถึงเรียนสับสน.ชอยคิดกังวล ไม่พ้นเรื่องธอ นี้ไงเพื่อนเกลอ รูปเธอ แฟนฉัน
เนื้อเพลงบรรยายถึงวัยรุ่นวัยเรียนที่เพิ่งเริ่มรู้จักความรัก ทำให้เข้าใจ อารมณ์ การกระทำ ของวัยรุ่นยุคนั้น คือแม้จะมีความรัก ในวัยเรียนแต่เขาก็ยังเข้าเรียน แม้จะสับสนไปบ้าง แสดงว่ายุคของคนGenB ค่อนข้างจะมีความรับผิดชอบสูง เพราะส่วนใหญ่ก็มีเป้าหมายว่าจบไปต้องได้งานดีๆทำ ต้องหนีพ้นจากความจน
ต้องมีพร้อมเพื่อที่จะได้เลี้ยงดูบุพการี คนGenนี้จึงต้องคอยช่วยงานพ่อแม่ มีหน้าที่รับผิดชอบงานหลังเลิกเรียน วันหยุดและปิดเทอม
เพลงนี้ยังแสดงให้เห็น ว่ายุคนั้นใช้กล้องถ่ายรูป และรูปที่ออกมาจะเป็นกระดาษมันเงาขนาดทั่วๆไปประมาณ 4x6นิ้ว 5x8นิ้ว และถ้าถ่ายรูปสมัครเรียนหรือทำธุรกรรมใดๆก็มักจะเขียนจำกัดว่า1"หรือ 2" 1นิ้วหรือ2นิ้ว เพื่อแนบเอกสาร ยืนยันตัวตน
การถ่ายบัตรประชาชน
เมื่อถึงอายุ15ปี ครูก็จะต้อนนักเรียนไปที่ว่าการอำเภอเพื่อทำบัตรประชาชน สมัยนั้นค่อนข้างจะใช้เวลายาวนาน และเร่งรีบ ้เพราะใช่กล้อง กดชัตเตอร์ ธรรมดา เมื่อคนไปทำบัตรเยอะ คุณภาพของภาพก็ไม่ดี ด้วยความเร่งรีบ แทบจะไม่อยากดูบัตรประจำตัวประชาชนของตัวเองเลย พอไปทำเสร็จกว่าจะได้บัตรใช้เวลาอย่างน้อย6เดือนกว่าจะได้มาลุ้นว่าบัตรประชาชนของตนเองเป็นอย่างไหนนะเหรอ ทุกคน ต้องรับสภาพการถือบัตรนี้ไป
ขออนุญาตเจ้าภาพเว็ปเพจ Dek D .com
บัตรรุ่นนี้มีผู้คนบ่นมากเพราะหน้าตัวจริงกับภาพถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนแทบจะยืนยันตัวตนไม่ได่เลย
เทคโนโลยี่ด้านการถ่ายรูป
สมัยนั้นการถ่ายรูปต้องใช้ฟีล์ม 1ม้วนสามารถถ่ายได้กี่ภาพก็จำไม่ได้
มี2บริษัทที่ผลิตฟิล์ม คือ Kodak
จาก สหรัฐและ Fuji จากญี่ปุ่น นี่มีข้อมูลคือถ่ายได้36ภาพ
เมื่อถ่ายภาพเสร็จต้องเอาฟิล์มไปจ้างร้านถ่ายรูปล้างฟิล์ม ด้วยน้ำยาแล้วอัดภาพออกมาซึ่งต้องทำในห้องมืด เพราะฟิล์มจะถูกแสงไม่ได้ ต้องรอ 2-3วันแล้วแต่คืวของร้านถ่ายรูป ภาพจะขนาดประมาณ 4x6นิ้ว เป็นภาพสี
เมื่อมีรูปภาพที่ถ่ายออกมามากเพื่อเก็บเป็นที่ระลึก สิ่งที่ขายดีตามมาคือ อัลบั๊มใส่รูป ทุกบ้านต้องมี เมื่อคิดถึงอดีตก็จะย้อนไปดูภาพเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นภาพที่ตั้งใจถ่ายเพราะราคารูปภาพสมัยนั้นถือว่าแพง เป็นภาพสี ก่อนหน้านั้นสัก15-20ปีจะเป็นภาพขาว ดำ กล้องสมัยนั้นที่ดังและนิยมใชัคือ กล้องยี่ห้อ Canon Nikon
เรื่องเทคโนโลยี่การถ่ายรูป
ผู้ขียนก็ไม่ค่อยถนัดเท่าไรก็ใช้กันมานานพอสมควร
ปี1991บริษัทโกดัก เป็นผู้ริเริ่มผลิตกล้องระบบ
อิเล็กโทนิค สามารถก็บรูปที่ถ่ายไว้ได้มากมาย
ถ่ายภาพแบบดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพ
สามารถ เห็นภาพที่ถ่ายทันทีและถ้าไม่พอใจก็ลบทิ้ง ถ่ายใหม่แล้วเอาไปร้านถ่ายรูปให้เขาทำการเซฟรูถ่ายแล้วปริ้นออกมาเป็นรูปใช้กระดาษมัน ขนาด 4x6นิ้ว ต้นทุนการถ่ายรูปก็ต่ำลง
เป็นเหตุให้บริษัทโกดักปิดตำนานไปเพราะ ไม่ต้องใช้ฟิล์มแล้ว ร้านถ่ายรูปจำนวนมากต้องปิดตัวไปเพราะเทคโนโลยี่เปลี่ยนไป
มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างไปเรื่อยๆในGenB
ไม่ว่าจะเป็น แนวเพลง ละครโทรทัศน์ และมีโทรศัพท์เพิ่มขึ้นแต่ไม่หลากหลาย ซึ่งก่อนหน้านั้นใช้การติดต่อสื่อสารด้วยจดหมายหรือถ้าด่วนๆก็ใช้โทรเลขที่ใช้รหัสมอส ในการส่งข้อความจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง มีการส่งจดหมายบอกเล่าข่าวสารกัน จีบกัน และมีการส่งการ์ด ปีใหม่ เรียกว่าบัตร ส่งความสุข
ย่อ เรียกสั้นๆว่า ส.ค.ส ส่งให้กันก่อนปีใหม่และหลังปีใหม่ประมาณ15วัน ในบัตรจะเขียนคำอวยพรแล้วส่งไปให้ คนที่ตนอยากส่งให้ การส่งจดหมายจะใช้เวลา2-5วันอยู่ที่ระยะไกลใกล้
โทรศัพท์จะครอบคลุมพื้นที่ไม่มากนัก ในเขตจังหวัดใหญ่ๆก็จะมีใช้เกือบทุกครัวเรือน และมีส่วนช่วยเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจเพราะการสื่อสารติดต่อกันง่ายขึ้น ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลา แต่ถ้าชนบทที่ห่างไกลออกไปใน1หมู่บ้านอาจโทรศัพท์แค่บ้านเดียว อาจเป็นบ้านของกำนัลหรือผู้ใหญ่บ้าน เพราฉะนั้นถ้าอยู่ไกลแล้วอยากส่งข่าวด่วนๆต้องโทรไปที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านก็จะให้คนไปตาม มารับสาย คือต้องโทรมาอีกครั้ง เพื่อให้เวลาการไปตามผู้ที่ต้นทางอยากติดต่อ
ถ้าไม่จำเป็นจะไม่ใช้โทรศัพท์เลยเพราะค่าโทรศัพท์แพงมาก
ค่าโทรศัพท์เริ่มจากครั้งละ3บาทในเขตจังหวัดเดียวกัน นาทีละ3บาทในเขตจังหวัดไกล้เคียงที่มีรหัสโทรศัพท์เดียวกัน นาทีละ9-18บาท สำหรับการโทรทางไกลภายในประเทศ ถ้าโทรไปคนละภาคของประเทศก็สูงสุดคือนาทีละ 18บาท
ตอน วัยรุ่นเข้ากรุง
หลังจากจบมัธยมปลาย ผู้เขียนเรียนหลักสูตรเก่า เรียก มศ 5รุ่นสุดท้าย เอ็นทรานส์ไม่ติด สอบได้พยาบาล พ่อก็ไม่ให้เรียน ก็คงดูหน่วยก้านคงเรียนไปไม่รอดเพราะค่อนข้างขี้โรค สอบได้วิทยาลัยครู พี่ชาย รู้เข้าก็ไม่ให้เรียนเพราะ คนจบครูเยอะมากล้นตลาดถ้ามีการสอบบรรจุครูแต่ละครั้ง คนทุกสารทิศจะต้องมาสอบแข่งขันกันมากมายเป็นหลายหมื่นคนแต่เอาแค่ไม่กี่ตำแหน่ง ซึ่งกว่าจะสอบบรรจุได้ทำงานก็สอบกันจนเหนื่อย และสมัยนั้นโรงเรียนเอกชนก็มีไม่มาก พี่ชายเลยพาผู้เขียนเข้าเรียนกรุงเทพ
สมัครเรียนมหาวิทยาลัยเปิด คือ มหาลัยรามคำแหง อยู่หัวหมาก ต้องเช่าหอพักที่หลัง มหาวิทยาลัย หอพักสมัยนั้นจะแยกออกเป็น หอหญิงล้วน ชายล้วน จากหอพักก็เดินทะลุผ่านรั้วข้างหลังมหาวิทยาลัย บางทีก็ขึ้นรถสองแถวออกปากซอยแล้วเดินต่ออีกนิดก็เข้าประตูข้างของ มหาวิทยาลัย ไม่ไกลนัก
ห้างสรรพสินค้าดังๆ สมัยนั้นก็
อินทรา ไทยไดมารู สยามสแคว์
ถ้าจะซื้อเสื้อผ้าก็ต้องไปบางลำพู ประตูน้ำ พวกเครื่องไฟฟ้าก็ต้องไปคลองเตย คลองถม
หน้ามหาวทยาลัยก็มีร้านขายเสื้อผ้าขายเทปเพลง รองเท้าชุดนักศึกษา มองไประรานตา
ถ้าเป็นพวกผ้าหลา ตัดเสื้อ ก็แถวสำเพ็ง เยาวราช แถวนั้นเป็นย่านร้านค้าของคนจีน ร้านขายทองก็เยอะ ขายยาจีน เครื่องเทศ อาหาร ขนม ผลไม้ ขายตามข้างถนน น่ากินมากเลย
ส่วนห้างสรรพสินค้าดังอีกห้างคือเซ็นทรัลพลาซา ใหญ่มากและมีโรงแรมอยู่ชั้นบนๆ ไม่นานก็มีห้างสรรพสินค้าสร้างใหม่ใกล้มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชื่อเดอะมอล หัวหมาก ต่อมาก็มีสาขาที่บางกะปิ และเปิดขยายไปต่างจังหวัดใหญ่ด้วย
การสัญจร ก็ใช้รถเมล์อย่างเดียวสำหรับนักศึกษาอย่างเรา 1.50บาทตลอดสาย ถ้าไปไกลก็อาจต้องต่อสายอื่น ต้องคอยจำว่าสายไหนไปไหนต้องขึ้นฝั่งไหนของถนน ขาไปถ้าขึ้นฝั่งซ้ายมือ ขากลับก็ต้องขึ้นฝั่งตรงข้าม ไม่งั้นก็หลงทาง และเสียเวลา รถเมล์ทุกสาย คนแน่นต้องยืนเบียดกันโหนราวเหล็กที่อยู่เหนือหัวที่ติดกับด้านบนของรถ มีโอกาสน้อยมากที่จะได้นั่ง เรียกว่า"โหนรถเมล์"
ถ้าเดินทางไกลก็ใช้ทางรถไฟ หรือรถทัวร์ แต่บางจังหวัดก็ไม่มีรถไฟผ่าน การเดินทางด้วยเครื่องบินค่าตั๋วค่อนข้างแพงมาก การขึ้นเครื่องบิน1ครั้ง แพงกว่าค่าใช้จ่ายรวมค่าหอพักทั้งเดือนของเราอีก
มีโรงหนังอยู่ในห้างสรรพสินค้าบางแห่งด้วย แต่ก็แทบจะไม่เคยไปดูเลย เพราะค่าใช้จ่ายที่พ่อแม่ส่งให้มันช่างพอดีใช้ต่อเดือน ต้นเดือนก็กินดีหน่อยแต่พอใกล้ๆสิ้นเดือน อาหารหลัก ก็ มาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซองละ3 บาท ข้าวจาน10บาทน้ำหวานแก้ว2บาท
ชีวิตในวัยเรียน ช่างสนุก มีเพื่อน ในหอเดียวกัน ไปกันกลุ่ม เพราะมหาวิทยาลัยที่เราเรียนไม่เหมือนมหาวิทยาลัยปิดไม่มีเพื่อนร่วมชั้น
การเรียนการสอนไม่มีใครบังคับ ตึกเรียนใหญ่ๆ มี5ชั้น อาจารย์สอนอยู่ ชั้น2 ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ขึ้นไปชั้นอื่นๆแต่ละชั้นมีโทรทัศน์ หลายเครื่องกระจายอยู่เต็ม นักศึกษาจะเรียนและฟังอาจารย์สอนทางโทรทัศน์ ซึ่งก็เรียนบ้าง นั่งคุยบ้าง หลับก็มี มหาวิทยาลัยก็ให้เวลาเรียนจนถึง8ปี แต่นักศึกษาที่จบจากที่นี่มาก็จะเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่างๆ การเรียนการสอบของสถาบันนี้ก็ค่อนข้างยากเพราะไม่มีคะแนนเก็บช่วย คือต้องสอบให้ผ่านอย่างเดียว การทำข้อสอบ ต้องได้80%ขึ้นไปถึงจะผ่านวิชานั้นๆ
เมื่อใกล้จบมีเวลา ว่างก็ต้องไปเรียนเสริมวิชาพิมพ์ดีดเพราะทุดหน่วยงานต้องมีการพิมพ์หนังสือ การ เริ่มต้นเรียนเบื้องต้น เริ่มจากการใช้นิ้วสัมผ้สจดจำและเคยชินกับแป้นพืมพ์ดีดให้ได้
ฟหกด ่ า ส ว ต้องวางนิ้วถ้าด้านซ้ายก็เรียงจากนิ้วก้อยมาจนถึงนิ้วชี้ ฟ ห ก ด ขวามือ ก็เรียงจากนิ้วชี้ไล่ไปถึงนิ้วก้อย
่ ่ า ส ว หัดซ้ำๆจนชินนิ้วตาด็ต้องไปมองที่ต้นฉบับ นั่นคือเทคโนโลยี่ของไทยสมัยนั้น
มีวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ให้เรียนๆแต่ทฤษฏี ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้จับต้องด้วยซ้ำ
ข้อดีอีกอย่างของนักศึกษาสถาบันนี้คือ ความรับผิดชอบวิชาไหนเรียนไม่เข้าใจก็ต้องอาศัยความขยันไปติววิชาที่ยากๆ
มีรุ่นพี่ติวเตอร์ติวให้ฟรี โดยจะกางเตนท์ แล้วนักศึกษาที่อยากติวก็ต้องไปยกเก้าอี้ตามตึกเรียนมาจองที่นั่งไว้เพื่อติว อาจจะติวติดต่อกัน2-3วัน แล้วแต่วิชา
เช่น บัญชี สถิติ ภาษีอากร ส่วนมากจะเป็นวิชาคำนวน ถ้าสอบหลายครั้งไม่ผ่านก็ต้องไปเสียเงินติวเข้มกับพี่ติวเตอร์ เฮ้อ กว่าจะจบมาได้บางคนเรียนจน8ปี
ช่วงที่เรียนอุดมศึกษา อยู่กรุงเทพ ทำให้เด็ก ตจว (ย่อมาจาก ต่างจังหวัด) อย่างเราได้เรียนรู้หลายๆสิ่งที่ต่างจังหวัด
เช่น
1.ห้างสรรพสินค้า เป็นห้างใหญ่ๆที่มีสินค้าทุกอย่างรวมอยู่ในนั้น
ไม่ว่าจะของกินของใช้ เสื้อผ้า และสินค้ายี่ห้อดังที่มาจากต่างประเทศ อาหารแปลกที่หากินยาก หรือ เสื้อผ้า ลดราคา sale 50% เป็นอะไรที่ดึงดูดใจนักช๊อปแต่สำหรับนักศึกษาอย่างเราก็มีบ้างนานๆครั้งถ้ามีการช๊อปสักครั้งเดือนนั้นทั้งเดือนอาจจะต้องกินแต่มาม่า ต่อมาทำให้เรารู้ว่าอย่าใช้จ่ายเกินตัว
2.การรอคอยรถเมล์ นั่นทำให้ต้องเผื่อเวลาในการเดินทาง เผื่อรถติด และเป็นการฝึกความอดทนที่จะต้องยืนโหนรถเมล์ ทีละเกือบชั่วโมงหรือชั่วโมงกว่าถ้าไปไกลหน่อยและนั่นทำให้เกิดความกระตือรือล้นเร่งรีบเพื่อขึ้นลงรถ เวลารถจอดซึ่ง มีเวลาไม่ถึง3นาทีด้วยซ้ำ ชีวิตไม่ได้สโลไลฟ์เหมือนอยู่ ตจว
3. ความรับผิดชอบ ด้วยการเรียนที่ไม่มีครูที่ปรึกษา ไม่มีใครบังคับ ฉนั้น ถ้าจะเรียนให้จบก็ต้องบังคับตัวเองให้เข้าเรียน อ่านหนังสือ และ ต้องไปติว ต้องหาข่าวที่ไหนมีติวฟรี หรือแม้กระทั่งเวลาสอบ ถ้าห้องสอบไม่พอ
ทาง มหาวิทยาลัยจะต้องให้ไปสอบตามโรงเรียน นอกมหาวิทยาลัยเช่น รร.แถว พระโขนง พญาไท รร.วัดเทพลีลา ใกล้ที่สุดและ นั่นคือต้องศึกษาและวางแผน เส้นทางการเดินทางไปสอบ เราอาจต้องไปคนเดียวเพราะเพื่อนคงไม่ได้ลงทะเบียนวิชานี้กับเรา
4.การพึ่งพาตัวเองและการคบเพื่อน ที่มาจากต่างที่ต่างจังหวัด เราจะรู้จักเพื่อนที่หอพักด้วยกันและมีการแนะนำเพื่อนของเพื่อนต่อๆกันมา เพื่อนในวัยนี้จะรักและจริงใจกันมาก เพราะ กิน นอน เรียน เที่ยวด้วยกัน คือไปกินข้าวเดินกันไปเป็นกลุ่ม หรืออยากกินอะไรที่แพงหน่อย
ก็ชวนกันไปช่วยกันออกเงิน ถ้าฝรั่งก็คือ อเมริกันแชร์ เราไม่เอาเปรียบกัน ถ้า เจ็บป่วยก็ ดูแลกัน
หรือชวนกันขึ้นรถเมล์ไปเที่ยว ประตูน้ำ บางลำภู ทำให้เรามีความผูกพันกันมาก
แม้กระทั่งการฝากซื้อของกินจากปากซอย เมื่อคนหนึ่งมีวิชาเรียนแต่อีกคนว่าง คนอยู่หอก็จะฝากซื้อของกิน
5. การวางแผน เริ่มตั้งแต่ ลงวิชาที่เรียน จะมีตารางให้เราดูเวลาเรียน เวลาสอบ สถานที่สอบ ถ้า ไม่มีการวางแผน ก็อาจต้องมีการลงเรียนและสอบในเวลาที่ทับซ้อนกัน ซึ่ง เราทำไม่ได้อยู่แล้ว
6.การวางแผนทางการเงิน
เราต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน ไม่งั้นต้นเดือนกินดีใช้เงินฟุ่มเฟือย กลางเดือนถึงปลายเดือนอาจต้องอด หรือบางคน ก็ต้องยืมเพื่อนๆ แต่ใครจะมีให้ยืมล่ะ ในเมื่อทุกคนก็ได้รับเงินจากพ่อแม่แบบจำกัดเช่นกัน แต่ก็อาจแบ่งปันกันไป นั่นคือน้ำใจจากเพื่อน
สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นกับผู้เขียนไม่ได้หมายความว่าคนทั่วไปจะต้องเป็นแบบนี้เพราะคนเราคงไม่รู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่นมากนักหรอกใช่มั้ย
ชีวิตนักศึกษาช่างแสนสบายแต่ปิดเทอมเมื่อไร คนที่พ่อแม่มีกิจการ ค้าขายหรืออย่างอื่น เราก็ต้องกลับไปช่วยพ่อแม่ทำงาน ไม่มีวันหยุด เพื่อชดเชยแรงงานที่ขาดหายไปตอนที่เราไปเรียน ส่วนคนที่พ่อแม่รับราชการ เท่าที่รู้จากเพื่อนเขาก็นั่งๆนอนๆ รอเวลา หมดไปวันๆบางคนก็หัดทำกับข้าว ขนม ซึ่งความรู้เหล่านั้นต้องมาจากพ่อแม่พี่น้องไม่มีสื่อเปิดกว้างให้เรียนรู้ เหมือนทุกวันนี้
การรับรู้ข่าวสาร และความบันเทิง ส่วนมากมาจากโทรทัศน์ ต้องไปดูที่ห้องส่วนกลางของหอพัก
วิทยุ ก็พอจะจับต้องเป็นของส่วนตัวได้ แน่นอน วิทยุต้องมาพร้อมกับเครื่องเล่นเทปคลาสเส็ท
ฟังเพลงที่ชอบ วนไปวนมาซ้ำๆ
มีเครื่องเล่นวิดิโอ มาใหม่ ใช้แถบเป็นม้วนๆในตลับคล้ายเทปคลาสเส็ทแต่ใหญ่กว่า มีสายให้เชื่อต่อเข้ากับโทรทัศน์และเปิดพร้อมกัน จะเป็นหนังให้เราดู
แต่ละบ้านก็มี แล้วแต่อัตภาพ ของแต่ละครัวเรือน
สมัยนั้นเราก็ไม่ค่อยจะสนใจเรื่องการเมือง มากนัก เราไม่มีเงินพอที่จะต้องเดินทางกลับไปเลือกตั้งผู้แทนฯหรอก ลำพังแค่เงินที่พ่อแม่เจียดให้เป็นทุนการศึกษาก็หนักอึ้งอยู่แล้วเพราะลูกหลายคนทุกคนก็เรียนไล่ๆกัน ต้องหารายได้เพิ่มเพื่อแบ่งให้ลูกทุกคนที่กำลังอยู่ในวัยเรียน
ความรัก แน่นอน การมีความรักในวัยเรียนเป็นสิ่งต้องห้ามในยุคนั้น เรียนมัธยมปลาย ได้แค่การมอง สบตา แทบไม่มีโอกาสจะพูดคุยกันเลย อาจได้พบเจอกันเวลามีงานประจำปี งานวัดหรือตามเทศกาล นานๆครั้ง และถ้าพ่อแม่หรือพี่ๆรู้ว่ามีแฟนก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่มาก
และถ้ามีท้องในวัยเรียน จะต้องลาออกโดยทันทีไม่ว่าจะโทษทัณฑ์จากทางโรงเรียน และการเหยียดหยามทางสังคม นั่นหมายถึงหมดอนาคตไปเลย เพราะกฎที่เข้มงวดของโรงเรียน สังคมในวงแคบๆ ความอับอาย สิ่งเหล่านี้ก็สามารถจะควบคุมได้หลายอย่าง เช่น ไม่มีการทำแท้ง เกลื่อนกราด ไม่มีเด็กที่เกิดมา
สร้างปัญหาให้สังคม ไม่ค่อยมีปัญหาการหย่าร้าง
ถ้าอยู่ระดับอุดมศึกษา ก็มีโอกาสได้พูดคุยกัน รู้จักกันที่สถาบันการศึกษา นั่น ก็คือเริ่มมีวุฒิภาวะพอที่จะเลือกคบคน และที่มีโอกาสเช่นนั้นเพราะพอเรียนอุดมศึกษา การเรียนการสอนจะมีช่วงเวลาที่เว้นบ้างไม่ได้เรียนทั้งวัน หนุ่มสาวที่ชอบพอกัน ก็อาจนั่งคุยกัน ในสถาบันการศึกษา หรืออาจชวนกันไปดูหนังบ้าง แต่ก็จะมีจิตสำนึกอยู่ในกรอบประเพณี
ผิดกับทุกวันนี้ที่มีปัญหาท้องไม่มีพ่อ เพราะความไม่พร้อม มี การทิ้งเด็กแรกเกิดตามที่ต่างๆออกข่าวบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะในถังขยะ ในห้องน้ำสาธารณะ หรือข้างถนน
มีการแก้กฏระเบียบใหม่ ให้ " คุณแม่วัยใส"ที่ท้องในวัยเรียนเมื่อคลอดลูกแล้วสามารถกลับมาเรียนต่อได้ ก็เลยกลายเป็นว่าเด็กวัยรุ่น มีเพศสัมพันธุ์กันก่อนเวลาอันควร ปัญหาจึงตามมามากมาย
มีคลีนิคทำแท้ง อยู่ทั่วไปหมด เด็กกำพร้า ตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเยอะแยะ
วุฒิภาวะความเป็นพ่อแม่ยังไม่มี เด็กที่เกิดมาส่วนมากจะมีปัญหาในครอบครัว และสุดท้ายก็สร้างปัญหาให้สังคม และประเทศชาติ
โฆษณา