13 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

รู้จัก "β-MSP" เกี่ยวอะไรกับ "ความก้าวร้าว"

เพิ่งดูจบไปหยกๆ สำหรับ gardians of the galaxy V.3 งานในการกำกับของ james gunn เรื่องสุดท้ายใน MCU ซึ่งถือว่าสนุกและคุ้มค่า สมกับที่อุตส่าขายเวรไปดูเป็นอย่างยิ่ง ส่วนตัวแอบเสียดายที่ไม่ได้ติดตามซีรีส์นี้ตั้งแต่ต้น ด้วยความที่ช่วงนั้นเป็นเด็ก ประกอบกับหน้าหนังดูไม่ค่อยจริงจัง(เป็นคนชอบหนังจริงจัง ชีวประวัติ สงคราม ยิงกันเลือดสาด) แต่ในระหว่างที่ดูดันไปเจอกับส่วนที่น่าสนใจและน่าจะเก็บมาพูดได้ วันนี้เลยหยิบมาฝากกันครับ
***คำเตือน***
บทความนี้จะมีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของหนัง gardians of the galaxy V.3 หากใครที่ยังไม่ได้ดูหรือไม่อยากโดนสปอยล์ กรุณาไปดูมาก่อนแล้วค่อยกลับมาอ่านนะครับ
ภาพจำลอง beta-microseminoprotein (β-MSP)
beta-microseminoprotein หรือ "β-MSP" ที่มีการพูดถึงในองค์ที่สองของหนัง ชั่งที่ผู้วิวัติขั้นสูงพยายามแสดงให้ rocket เห็นว่า สิ่งมีชีวิตสามารถถูกเร่งวิวัฒนาการได้
แต่ในส่วนของอุปนิสัยนั้นยังไม่สามารถสลัดความป่าเถื่อนตามแบบสัตว์ได้ ทำให้ rocket ตั้งสมมติฐานเรื่องความผิดปกติของการสังเคราะห์โปรตีนในสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำไปสู่การสร้าง "β-MSP" ที่ส่งผลต่อความก้าวร้าวของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการทดลองในหนัง
ประเด็นก็คือเจ้าสาร beta-microseminoprotein หรือ "β-MSP" มันดันมีจริงในโลกของเรา โดยจากการวิจัยของ University of the Sunshine Coast ปี 2011 โดยมีตัวแทนคนไทยจากมหาวิทยาลัยมหิดลอย่าง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ประเสริฐ โศภน ร่วมในการวิจัยครั้งนี้ด้วย โดยเป็นการวิจัย "β-MSP" เพื่อทดสอบกระบวนการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection) โดยพบว่า β-MSP หมึกตัวเมียจะผลิต β-MSP ไว้ที่เปลือกหุ้มไข่ สาร β-MSP จะทำหน้าที่เหมือนกับฟีโรโมนในแมลง
กล่าวคือเมื่อหมึกตัวผู้นำหนวดมาสัมผัสกับไข่ที่ตัวเมียวางไว้ พฤติกรรมของหมึกตัวผู้ก็จะเปลี่ยนไป กล่าวคือจะมีอาการก้าวร้าว และทำร้ายกันระหว่างตัวผู้ เมื่อได้ผู้ชนะตัวสุดท้าย หมึกตัวผู้ตัวนั้นก็จะได้ผสมพันธุ์กับหมึกตัวเมีย
ภาพบันทึกพฤติกรรมของหมึกตัวผู้หลังสัมผัสกับไข่
ส่วนในมนุษย์ มีการพบโปรตีนในกลุ่มของ β-MSP เช่นกัน แต่ยังไม่พบหน้าที่ที่แน่ชัดต่อร่างกาย โดยมีการตั้งทฤษฎีว่าอาจมีส่วนช่วยต่อการยับยั้งการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย แต่ยังขาดหลักฐานสนับสนุน
อย่างไรก็ตาม สาร β-MSP อาจเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่แสดงการวิวัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งมักปรากฎอวัยวะ รูปแบบการเคลื่อนไหว พฤติกรรม สารเคมีหรือโครงสร้างทางพันธุศาสตร์บางอย่างที่ยังหาหน้าที่ที่ชัดเจนไม่ได้ ยังคงเป็นปริศนาให้ต้องมีการศึกษาคนคว้าทางวิทยาศาสตร์กันต่อไป
อ้างอิง
Cummins SF et al. (2011) Extreme Aggression in Male Squid Induced by a β-MSP-like Pheromone. Current Biology 21: 322–327.
โฆษณา