14 พ.ค. 2023 เวลา 05:15 • การศึกษา
ตำบลกุดป่อง

Which should be known when applying for a loan

สิ่งที่ควรรู้เมื่อขอกู้เงิน
​​​​​​หากมีความจำเป็นต้องขอสินเชื่อ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่เราต้องพิจารณาคือความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง จากนั้นจึงเลือกประเภทของสินเชื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ แล้วทำความเข้าใจในกระบวนการและเงื่อนไขในการขอสินเชื่อ เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมและได้รับอนุมัติสินเชื่อตามที่ยื่นขอ
เอกสารที่ใช้ในการขอสินเชื่อ
เอกสารที่ใช้ในการขอสินเชื่อการเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอสินเชื่อนั้นอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินเชื่อ ซึ่งเอกสารประกอบคำขอสินเชื่อแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือเอกสารประจำตัว เช่น
กลุ่มที่ 1
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านสำเนา
  • ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตรสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)
  • กรณีนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
กลุ่มที่ 2 เอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น
2.1 ผู้มีรายได้ประจำ
  • ใบรับรองเงินเดือนหรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
2.2 ผู้มีอาชีพอิสระ
  • กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง
  • กรณีเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก ควรแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วย
  • บัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
  • หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร
2.3 นิติบุคคล
  • สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี
  • สำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ
กลุ่มที่ 3 เอกสารอื่น ๆ เช่น
  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
  • สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
  • สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม
  • ในกรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานประจำตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วม
  • ในกรณีที่ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นคือแผนธุรกิจ เช่น แผนธุรกิจของ SMEs แผนโครงการที่ต้องการดำเนินการ
ทั้งนี้ เอกสารในการยื่นขอสินเชื่อแต่ละประเภทอาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราควรศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดจากผู้ให้สินเชื่ออีกครั้ง นอกจากนี้ ในการขอสินเชื่ออาจมีแบบฟอร์มอื่น ๆ ที่แนบมา ซึ่งเราควรพิจารณาก่อนกรอกข้อมูลและลงนาม เช่น
  • แบบคำยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เพื่อขอตรวจสอบประวัติเครดิตจาก เครดิตบูโร และนำมาวิเคราะห์การให้วงเงินสินเชื่อที่เหมาะสม
  • แบบคำขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของผู้ให้สินเชื่อติดต่อ แนะนำสินค้าอื่น หรือให้ข้อมูลแก่ผู้อื่น ซึ่งเรามีสิทธิเลือกที่จะลงนามหรือไม่ก็ได้
  • ใบคำขอประเภทอื่น เช่น คำขอมีบัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล หรือบริการแจ้งเตือน SMS
การค้ำประกันและหลักประกัน
การค้ำประกันและหลักประกันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ให้สินเชื่ออาจใช้ประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ เพื่อให้มั่นใจว่าหากผู้ขอสินเชื่อชำระหนี้ไม่ได้ สถาบันการเงินยังมีทางที่จะได้เงินคืน เช่น สามารถยึดหลักประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่ หรือให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทน โดยหลักทรัพย์ที่นิยมนำมาเป็นหลักประกัน เช่น เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงิน หุ้นกู้ และอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีสินเชื่อที่มีบุคคลค้ำประกัน สถาบันการเงินก็จะพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันประกอบด้วย
สิ่งที่ควรทำเมื่อเป็นผู้ค้ำประกัน
สิ่งที่ควรทำเมื่อเป็นผู้ค้ำประกัน
อย่าลืมว่าผู้ค้ำประกันไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบที่จะเกิดตามมาได้หากลูกหนี้ผิดสัญญา ดังนั้น หากต้องเป็นผู้ค้ำประกันให้ผู้อื่นควรปฏิบัติดังนี้
  • อ่านเงื่อนไขในการค้ำประกันให้ละเอียด
  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน
  • ตรวจสอบความถูกต้องของวงเงินและประเภทของสินเชื่อที่ค้ำประกันที่ระบุในสัญญา ซึ่งแบงก์ชาติกำหนดว่าจะต้องระบุวงเงินของเงินต้นที่ค้ำประกันในสัญญาให้ชัดเจน และห้ามทำข้อตกลงว่าให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันแบบไม่จำกัดจำนวน
  • หากสงสัยอะไรรีบถามก่อนลงชื่อในสัญญา
เกณฑ์ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาสินเชื่อ
ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับนโยบายและหลักเกณฑ์ของผู้ให้สินเชื่อแต่ละราย โดยทั่วไปแล้วมีปัจจัยหลัก ๆ ที่ใช้ประกอบการพิจารณา คือ
  • นโยบายสินเชื่อของผู้ให้สินเชื่อ เช่น ผู้ให้สินเชื่อบางรายอาจกำหนดว่าผู้ยื่นขอสินเชื่อต้องไม่มีประวัติการค้างชำระในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง หรืองดให้สินเชื่อแก่ลูกค้าใหม่ในกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
  • วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ หรือลงทุนขยายโรงงาน ซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต
  • คุณลักษณะและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะใช้หลัก 5 Cs ประกอบด้วย
1. Character คือ คุณลักษณะและความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อ วินัยในการใช้และการชำระสินเชื่อในอดีต ซึ่งบอกถึงความสามารถในการใช้หนี้และการบริหารจัดการสินเชื่อ เช่น ในกรณีบุคคลธรรมดาอาจพิจารณาอายุ อาชีพ สถานะภาพสมรส ส่วนกรณีผู้ขอสินเชื่อประกอบธุรกิจอาจพิจารณาประเภทของธุรกิจ ประวัติของผู้บริหาร ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ
2. Capacity คือ ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมถึงความมั่นคงของรายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ในอนาคต เช่น รายได้ในปัจจุบัน ภาระหนี้สินที่มีอยู่ ประวัติการชำระยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่ออื่น ๆ
3. Capital คือ เงินทุน สินทรัพย์ หรือเงินฝากของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อเป็นหลักประกันการให้กู้ยืม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสินเชื่อธุรกิจ แม้ว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะไม่ใช่แหล่งเงินสำหรับชำระหนี้ แต่จะเป็นแหล่งเงินสำรองสำหรับการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อในกรณีที่เกิดปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้
4. Collateral คือ ผู้ค้ำประกันหรือหลักประกันที่ผู้ขอสินเชื่อนำมาจำนำ หรือจำนองเพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจและลดความเสี่ยงหากผู้ขอสินเชื่อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ซึ่งสามารถให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนหรือนำหลักประกันมาขายทอดตลาดได้ตามที่กฎหมายกำหนด
5. Conditions คือ ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ เช่น เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ความมั่นคงในรายได้และการงาน ปัญหาสงคราม สิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนหรือรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต
ดังนั้น ถ้าหากผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้มีอาชีพการงานและรายได้มั่นคง ไม่เคยมีหนี้สินล้นพ้นตัว มีความสามารถในการชำระหนี้ การขอสินเชื่อก็คงไม่ติดปัญหาอะไร แต่หากไม่มีหน้าที่การงานที่มั่นคง ไม่มีเอกสารใบรับรองเงินเดือน โอกาสการได้เงินกู้ยังคงมีอยู่ เพราะอาจใช้หลักฐานทางการเงินอื่น ๆ ทดแทนได้ เช่น ใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (Statement) ของบัญชีเงินฝาก
สิทธิของผู้ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินกรณีไม่ได้รับอนุมัติหรือถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
หากผู้ขอสินเชื่อถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ผู้ขอสินเชื่อสามารถขอทราบเหตุผลของการไม่อนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อมีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงศักยภาพ และสามารถขอสินเชื่อได้ใหม่ในอนาคต โดยตัวอย่างคำชี้แจง
เช่น รายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ มูลหนี้คงค้างสูงเกินไป นอกจากนั้น ในกรณีการขอสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ หากถูกปฏิเสธสินเชื่อ ก็สามารถขอรับคืนเอกสารสำคัญที่เคยยื่นไว้เพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อได้ เช่น งบการเงิน แผนประกอบธุรกิจ รายละเอียดหลักประกัน โดยสถาบันการเงินจะต้องคืนให้ภายในเวลาอันควร
* ไม่ใช้บังคับกับ Non-bank ที่เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิต
ติดตามผลงานของน้องได้เพียงคลิ๊ก
🚗สนใจรถมือสองคัดเกรด
🚘สนใจรับแคมเปญพิเศษ GWM เกรทวอลล์เมืองเลย
จำนำเล่มทะเบียน จำนองที่ดิน
อสังหาริมทรัพย์
แอดไลน์มาเป็นเพื่อนกันกับ น้อง
กดเลย👉https://lin.ee/cAU0O1f
พรรณปพร บุญกว้าง
Phanpaporn Bunkwang
โฆษณา