14 พ.ค. 2023 เวลา 08:32 • การเมือง

สรุปผลคะแนนเลือกตั้ง 2566 คำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคการเมือง ยังไง

สรุปผลคะแนนเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 หลังปิดหีบเลือกตั้ง ฐานเศรษฐกิจพาไปเช็ควิธีการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ของแต่ละพรรคการเมือง ทำยังไง ดูรายละเอียดที่นี่ รวมไว้ครบ
5
การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 เริ่มต้นตั้งแต่ 8.00 น. ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาการลงคะแนนในเวลา 17.00 น. กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) จะปิดการลงคะแนน และปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการนับคะแนน โดยเริ่มการนับคะแนน และรวมผลคะแนนเป็นลำดับต่อไป ซึ่งผลคะแนนที่ได้นั้น จะนำไปใช้ในการการคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ด้วย
ทั้งนี้ในขั้นตอนสำคัญเมื่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รับรายงานผลรวมคะแนนแบบบัญชีรายชื่อจากผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทั่วประเทศแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะมีการคํานวณสัดส่วน เพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ของแต่ละพรรคการเมือง ดังต่อไปนี้
1
วิธีคํานวณ จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์
1.รวมผลคะแนนทั้งหมดที่ทุกพรรคการเมืองได้รับจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ ตัวอย่างเช่น
3
พรรค ก 1 ล้านคะแนน
พรรค ข 1 ล้านคะแนน
พรรค ค 1 ล้านคะแนน
พรรค ง 5 แสนคะแนน
รวมทั้งสิ้น 3.5 ล้านคะแนน
3
2.นำคะแนนรวมจากข้อ 1. หารด้วย 100 จะเท่ากับคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ตัวอย่างเช่นนำคะแนนรวม 3.5 ล้านคะแนน หารด้วย 100 จะเท่ากับ 35,000 คะแนน
3. นำคะแนนรวมแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ หารด้วยจำนวนคะแนนในข้อ 2 ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนเต็มคือ จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ ตัวอย่างเช่น พรรค ก ได้คะแนน 1 ล้านคะแนน หารด้วย 35,000 จะเท่ากับ 28.57 นั่นหมายความว่า พรรค ก ได้จำนวน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ทั้งหมด 28 คน
4
4.ในกรณีที่จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับรวมกันทุกพรรคการเมือง มีจำนวนไม่ครบ 100 คน ให้ดำเนินการ ดังนี้
1
* กรณีพรรคการเมืองที่มีผลลัพธ์เป็นเศษโดยไม่มีจำนวนเต็ม เช่น พรรค ข มีผลลัพธ์ไม่เป็นจำนวนเต็ม หรือได้ 0.86 คน พรรค ข จะได้รับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีก 1 คน
* กรณีพรรคการเมืองที่มีเศษหลังจากการคำนวณ ในข้อที่ 3 เช่น พรรค ก มีเศษมากที่สุด ตามข้อ 3 หรือได้ 0.57 คะแนน พรรค ก ได้รับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีก 1 คน
1
ทั้งนี้พรรคการเมืองใดมีเศษจำนวนมากที่สุดได้รับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีกหนึ่งคน เรียงตามลำดับจนกว่าจะมีจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อทุกพรรคการเมือง รวมกันครบจำนวน 100 คน
5.หากการดำเนินการตามข้อ 4 มีพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากัน ซึ่งจะทำให้จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเกินจำนวน 100 คน ให้ตัวแทนของพรรคการเมือง ที่มีเศษเท่ากันจับสลากตามวันและเวลา ที่ กกต. กำหนด เพื่อให้ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อครบจำนวน
โฆษณา