14 พ.ค. 2023 เวลา 14:29 • บันเทิง

การเลือก สส

วันนี้ถ้าไม่พูดถึงการเลือกตั้ง ก็คงพลาดที่สุด เพราะวันนี้ทุก
Generation ต่างก็ตั้งหน้าตั้งตารอคอยวันที่ตนจะได้ไปใช้สิทธิของตัวเองเพื่อจะเลือกตัวแทนของตัวเองเข้าไปในสภาเพื่อบริหารประเทศไปในทิศทางที่ตนเองได้ยินคำชี้แนะการหาเสียงจากผู้ที่สมัครเข้ารับเลือกตั้ง หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
คนที่สมัครเข้ารับการเลือกตั้งก็มีหลากหลายGeneration มันก็แล้วแต่ว่าใครจะชอบนโยบายการบริหารประเทศของผู้ใดและพรรคการเมืองใด
การเลือก สส เอาย่อๆนะ คนไทยชอบย่อ การเลือก สส มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2576
ในสมัยรัชการพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่7แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แหม พูดซะเป็นทางการเลย ครั้งนี้ ล่าสุดเป็นครั้งที่27ของการเลือกตั้ง สส ของประเทศไทย
ตั้งแต่เด็กได้ยินผู้ใหญ่บอกว่าไปเลือกตั้งฉันไม่เข้าใจ เลือก ทำไม เลือกเพื่ออะไร และก็มั่นใจว่ามีผู้ใหญ่อีกหลายคนที่ไม่เข้าใจเช่นกัน เพราะประเทศเรา ถือว่าด้อยการศึกษา ข่าวสาร สื่อ ก็ค่อนข้างน้อย สมัยนั้นมี วิทยุ โทรทัศน์และ หนังสือพิมพ์ ทุกเช้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเดลินิวส์จะมาส่งที่บ้าน และก็มีพวกสภากาแฟมาจิบกาแฟ แล้วนั่งอ่านหนังสือพิมพ์
ส่วนมากที่เห็นอ่านก็น่าจะเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีการศึกษา รับราชการหรือพ่อค้าเสียส่วนใหญ่ฉันอยู่ในตลาดจึงไม่รู้ว่าพวกชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เขาจะอ่านหนังสือพิมพ์กันมั้ย ด้วยความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ เกษตรกร มักจะเป็นประเภทที่การศึกษาไม่สูงนักบางคนถึงขั้นเขียนชื่อตัวเองไม่ได้ด้วยซ้ำ
ด้วยเหตุนี้จึงมีคำว่า"แตะโป้ง"
คือการพิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่โป้งลงแทนการลงลายลักษณ์อักษร
ขั้นตอนคือ เอานื้วหัวแม่มือไปแตะที่หมึกแล้วไปแตะที่แผ่นกระดาษเพื่อยืนยันตัวตนในการกรทำนั้นๆ
ฉนั้นเมื่อมีการเลือกตั้ง สส
ชาวบ้านตามชนบท ก็จะไม่ค่อยเข้าใจว่าเลือกเพื่ออะไร เลือกทำไม จึงมีการจ่ายเงินเพื่อจ้างให้ชาวบ้านไปเลือกตนเอง เป็น สส เมื่อได้เงินก็ทำตามข้อตกลงคือกาเลือกคนที่จ้าง เป็นการขายเสียง
ส่วนบางคน งานการยุ่ง ต้องทำไร่ทำนา การคมนาคมก็ไม่สะดวกเลยเลือกที่จะเฉยไม่ไปเลือกตั้ง ทำให้มี%คนที่ไปใช้สิทธิ์น้อยมาก ก็มีคำเชิญชวนขึ้นมาว่า
"อย่านอนหลับทับสิทธิ์"
การเลือกตั้งสมัยก่อนค่อนข้างจะไม่โปร่งใส คนเห็นเงินเป็นใหญ่เมื่อสส ลงทุนไป เขาก็ต้องถอนทุนคืน
ด้วยวิธี การเซ็นอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน ให้แก่บริษัทที่รับเหมาทำงานให้รัฐ แล้วแบ่งส่วนกำไรให้กับสส กลุ่มนั้นๆ ถนนหนทางหรือสิ่งก่อสร้างจากงบประมาณของแผ่นดิน จากคุณภาพที่ต้องได้100%ก็เหลือเพียง65-70% มีคำนึงที่ว่า อาชีพที่รวยเร็วที่สูด คือ อาชีพ สส
ดังนั้นกลุ่มพรรคการเมืองของไทยจึงเป็นพวกหน้าเดิมๆเสียเป็นส่วนมาก คือทำเป็นอาชีพไปเลย จนกระทั่งมีการสืบทอดอาชีพนี้ไปสู่ลูกหรือหลานด้วยซ้ำ
การเมืองไทยไม่ค่อยเสถียรภาพ
ก็ก่อให้เกิดการรัฐประหาร ควบคุมอำนาจโดยทหารหลายครั้ง
ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของทหารมายาวนาน วันที่14พค.2566นี้คงจะเป็นวันที่ประชาชนใช้สิทธิ์ของตนเต็มที่เลือกคนที่ตัวเองต้องการเพื่อเป็นตัวแทนเข้าไปเป็นกระบอกเสียงในสภาแทนตนบริหารประเทศไปตามนโยบายที่นำเสนอไว้
ฉันคิดว่าวันนี้ไม่ว่าจะคนเจนเนอเรชั่นไหนที่สามารถไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง ตั้งใจอย่างเต็มที่
เพราะปัจจุบันนี้ การสื่อสาร ทั่วถึงกันเพียงเสี้ยววินาที คนรุ่นใหม่ออกมาเรียกร้องสิทธิ์ของตนนั่นเป็นการดี ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นเช่นไร ถ้าผลที่ออกมาเป็นไปอย่างถูกต้อง
สุจริตยุติธรรม
เราก็ควรจะยอมรับกับเสียงส่วนใหญ่โดยสดุดี อย่าให้เหมือนเหตุการณ์ที่ผ่านมา ขี้แพ้ชวนตี
หรือ ดูถูกคนรุ่นใหม่ๆว่าเขาไม่มีความสามารถ Baby Boom สามารถเอาประสพการณ์ของตนมาร่วมงานกับคนGenY GenZ
ได้ ก็น่าจะเป็นการดีผู้เขียนยอมรับว่าGenB ไม่มีความสามารถและชำนาญ ในนวัตกรรมใหม่ๆของโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้เท่าคนกับพวกGenYหรือZแน่นอน
หวังว่าทุกคนคงเคารพการใช้สืทธื์เลือกตั้งในครั่งนี้นะ
ย้อนไปเมื่อ16 ตค 2516 ผู้เขียนยังเด็ก แต่ก็เห็นข่าวการประท้วงของนักศึกษาเริ่มจากมหาวิยาลัยธรรมศาตร์ สมัยนั้นมี
จอมพลสฤษ กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร กุมอำนาจรัฐบาล ปราบ นักศึกษาที่ประท้วง ซึ่งสาเหตุการประท้วงก็ลึกซื้งมากมีการตั้งข้อหา "13กบฏรัฐธรรมนูญ" มีการใส่ร้ายนักศึกษาว่สเป็นพวกหัวเอียงซ้ายคือ เป็นคอมมิวนิส ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ มีภาพนักศึกษาโดนทำร้าย โดนยิง โดนจับแขวนคอ และ เขาพูดกันว่าผู้ที่อยู่บนเฮลิคอปเตอร์ถือปืนเอ็ม16 กราดยิงใส่นักศึกษา คือพลเอก ณรงค์ กิตติขจร
นักศึกษาโดนตั้งข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิส ก็หนีเข้าป่าไป ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเรียนหนัสือเก่งมีความคิดที่ไม่ยอมให้เผด็จการมาปกครอง จึงเกิดการเรียกร้องประชาธิปไตย การหนีเข้าป่าของนักศึกษา ก็มีเพลงๆหนึ่ง เกิดขึ้น และอมตะมาจนทุกวันนี้คือเพลง
"เดือนเพ็ญ" บรรยายถึงความโดดเดีี่ยวอ้างว้าง ไกลบ้าน
ต่อมาอีกหลายปีก็ได้ข่าวการนิรโทษกรรม ให้แก่ผู้ที่หนีเข้าป่าได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ
โฆษณา