15 พ.ค. 2023 เวลา 07:10 • การตลาด

อย่าเชื่อ ChatGPT ทุกเรื่อง พร้อมข้อแนะนำว่าควรใช้ ChatGPT หรือไม่

กระแส ChatGPT ยังคงแรงอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้นักการตลาดหลายๆ คนเริ่มใช้งาน ChatGPT กันคล่องมากแล้ว ตั้งแต่ให้ช่วยเขียนเนื้อหา แนะนำ keywords สำหรับ SEM และ SEO ช่วยวางแผน digital media และอื่นๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ดี หนึ่งในข้อควรระวังที่สุดคือการอ้างอิงข้อมูลจาก ChatGPT โดยเฉพาะข้อเท็จจริง (facts) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ข้อมูลของสถานที่ต่างๆ ถึงขนาดทาง ChatGPT เองมีระบุคำเตือนไว้ใต้ช่อง prompt หลักเลยทีเดียว
ยิ่งถ้าเป็น ChatGPT version ก่อนๆ เมื่อถามข้อมูลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปที่ไม่ใช่บุคคลมีชื่อเสียงระดับประเทศหรือระดับโลก แทนที่จะตอบว่าไม่มีข้อมูล แต่กลับให้ข้อมูลมั่วๆ แทน เพราะ ChatGPT ไม่ได้ไปหาข้อมูลจาก Internet แต่เป็นการตอบตาม pattern ที่มันได้เรียนรู้จากข้อมูลที่เทรนเข้าไป (ซึ่งเรื่องนี้ถูกปรับให้ดีขึ้นแล้วใน ChatGPT-4 ถ้าไม่มีข้อมูลมากพอ มันจะตอบว่าไม่มีข้อมูล)
นอกจากนั้น ปัจจุบันข้อมูลที่ ChatGPT นำมาอ้างอิง ยังคงเป็นข้อมูลที่ถูกเทรนถึงแค่ช่วงเดือนกันยายนปี 2021 ไม่ได้เป็นข้อมูลที่ล่าสุด up-to-date แต่อย่างใด แม้จะมีข่าวออกมาว่า เร็วๆ นี้ ChatGPT จะเปิดให้ใช้ feature Web Browing ซึ่งทำให้ ChatGPT เชื่อมต่อ Intenet ได้เพื่อค้นหาข้อมูลมาตอบจากเว็บไซต์ต่างๆ ดังนั้นในอนาคต
ปัจจุบัน องค์กรเอกชนและภาครัฐต่างๆ ทั่วโลก ล้วนออกนโยบายของตัวเองที่เกี่ยวข้องกับการนำ ChatGPT และ Generative AI อื่นๆ มาใช้งาน บางองค์กรถึงขั้นแบนไม่ให้ใช้เพราะกังวลเรื่องความถูกต้องของข้อมูลและการรักษาความลับ (privacy) ตัวอย่างเช่น ประเทศอิตาลีแบน ChatGPT เพราะเรื่องของการรักษาความลับ หรือบริษัท Samsung ที่แบนหลังจากพนักงานนำข้อมูลความลับของบริษัทไปใส่ใน ChatGPT เพื่อเอาไปช่วยทำงาน
ทาง Unesco International Institute for Higher Education in Latin America and the Caribbean ได้ออก Quick Start Guide เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอาไปอ้างอิงตัดสินใจว่า ควรจะใช้ ChatGPT หรือไม่ ซึ่ง guideline นี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ในหลายๆ วงการได้เลย
1. ก่อนจะใช้ ChatGPT ให้ตอบก่อนว่า ผลลัพท์ในการให้ ChatGPT ช่วยทำงาน มีความจำเป็นที่จะต้องมีความถูกต้องและเป็นไปตามข้อเท็จจริงหรือไม่?
ถ้าคำตอบคือ “ไม่” = ปลอดภัย สามารถใช้ ChatGPT ได้
ถ้าคำตอบคือ “ใช่” ให้ตอบคำถามถัดไป
ผู้ใช้งานมีความรู้พอที่จะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ ChatGPT ตอบหรือไม่
ถ้าตอบว่า “ไม่” = ไม่ควรใช้ ChatGPTถ้าตอบว่า “ใช่” ให้ถามคำถามถัดไป
ผู้ใช้งาน สามารถรับผิดชอบได้หรือไม่ หากผลลัพท์ของข้อมูลที่ถูกผลิตออกมาจาก ChatGPT นั้นผิดพลาดและไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
ถ้าตอบว่า “ไม่” = ไม่ควรใช้ ChatGPTถ้าตอบว่า “ใช่” สามารถใช้ ChatGPT ได้แต่ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนปล่อยงานออกไปทุกครั้ง
โดยสรุปแล้ว ณ ปัจจุบัน ChatGPT เป็นผู้ช่วยในการทำงานได้ ในรูปแบบ “ร่าง” (draft) แต่ไม่ควรให้มันทำงานทั้งหมดให้ เพราะคนเรายังต้องเป็นผู้ที่ทำให้งานออกมาสมบูรณ์ (craft) ที่สุด
โฆษณา