15 พ.ค. 2023 เวลา 11:55 • บันเทิง

ตราปศุปติ(Pashupati seal)

ตอนที่ 6 เจ้าแห่งสัตว์(Master of Animals)
ตราปศุปติ(Pashupati seal)ตราประทับโบราณสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ตราประทับนี้สลักภาพมนุษย์อยู่ในท่านั่งคล้ายกับการนั่งสมาธิ สวมเครื่องประดับคล้ายสร้อยคอ กำไรข้อมือและสวมหมวกทรงสูงประดับด้วยเขาสัตว์คล้ายเขาควาย และมีรูปสลักเหล่าสัตว์รอบๆมนุษย์ผู้นี้ด้วย มีผู้ตีความหมายรูปสลักมนุษย์บนตราประทับนี้ว่าคือพระปศุปติผู้เป็นเจ้าแห่งสัตว์ และเป็นปางหนึ่งของพระศิวะ
การตีความนี้เป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง และมีผู้นำแนวคิดนี้ไปเผยแพร่ขยายความต่อมากมายโดยส่วนใหญ่จะกล่าวเชื่อมโยงกับที่มาของพระศิวะโดยใช้ตราประทับนี้เป็นหลักฐานตั้งต้น แต่อย่างไรก็ตามก็มีผู้คนบางส่วนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการขาดหลักฐานสนับสนุนที่มากเพียงพอ
หากเราตั้งสมมุติฐานว่าตราประทับนี้เป็นตราประทับที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางการค้า หรือลวดลายบนตราประทับได้รับอิทธิพลมาจากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มาพร้อมกับการค้า ซึ่งหากเรามองตามสมมุติฐานนี้แล้วจะพบว่า ชาวลุ่มแม่น้ำสินธุในช่วงที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดนั้นพวกเขาทำการค้ากับหลากหลายอารยธรรมทั้งทางตรงแล้วทางอ้อม เช่นชาวจีน ชาวอียิปต์ สาวสุเมเรียน เป็นต้น โดยเฉพาะกับชาวสุเมเรียนแห่งเมโสโปเตเมียซึ่งพบหลักฐานการค้าขายระหว่าสองอารยธรรมนี้อยู่เป็นจำนวนมาก
เจ้าแห่งสัตว์(Master of Animals)
Master of Animals , Lord of Animals เป็นลักษณะของลวดลายงานศิลปะในยุคโบราณที่บอกเล่าเรื่องราวระหว่างมนุษย์และสัตว์ พบเห็นได้แพร่หลายในตะวันออกใกล้โบราณและอียิปต์ โดยพื้นที่ในดินแดนตะวันออกใกล้โบราณนั้นประกอบไปด้วยเมโสโปเตเมีย(อิรักปัจจุบัน),อนาโตเลีย(ตุรกีปัจจุบัน),เปอร์เซีย(อิหร่านปัจจุบัน),บริเวณเลแวนต์(จอร์แดน,เลบานอน, อิสราเอล และดินแดนปาเลสไตน์ปัจจุบัน) และซีเรีย
เชื่อกันว่าแนวคิดเรื่องเจ้าแห่งสัตว์นี้อาจเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อครั้งยุคหินในสมัยที่มนุษย์ยังเป็นนักล่าและนักเก็บของป่าอยู่ การมีเทพเจ้านักล่าทำให้มนุษย์เกิดความมั่นใจในการออกล่าสัตว์หาอาหาร สร้างความกล้าเมื่อเข้าเผชิญหน้ากับสัตว์ร้าย บางแนวคิดก็เชื่อว่าเจ้าแห่งสัตว์บางคนอาจเป็นมนุษย์ผู้มีความสำคัญ เช่นหัวหน้าเผ่า ผู้นำการล่าสัตว์ รวมถึงวีระบุรุษในอดีดของเผ่าที่ถูกยกย่องจงกลายมาเป็นเทพในที่สุด
เทพเหล่านี้ส่วนมากจะมีเขา หรือสวมใส่เครื่องประดับที่มีเขา หรือมีบางส่วนของร่างกายเป็นสัตว์ และมักจะมีสัตว์อยู่เคียงข้าซึ่งเชื่อกันว่าสัตว์เหล่านี้พวกมันอาจเป็นตัวแทนของเหยื่อที่ถูกนักล่าหรือเทพองค์นั้นพิชิต
ลักษณะของศิลปะลวดลายเจ้าแห่งสัตว์โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปมนุษย์ยืนจับสัตว์ที่อยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของตนเอง หรือการเผชิญหน้ากันระหว่างมนุษย์และสัตว์ ลวดลายเหล่านี้ปรากฏอยู่บนวัตถุหลาก ลวดลายที่เก่าแก่ที่พบย้อนหลังไปได้ถึง5,000-4,000ปีก่อนคริสตศักราชบนตราประทับที่ขุดพบที่แหล่งโบราณสถานเทเป้ กิยาน(Tepe Giyan)ในเทือกเขาซากรอส ประเทศอิหร่าน นอกจากนั้นแล้วยังพบลวดลายเจ้าแห่งสัตว์นี้กระจายอยู่ในแหล่งโบราณคดีอีกหลายแห่งบริเวณเทือกเขาซากรอส
นอกจากในแถบเทือกเขาซากรอสแล้วยังพบลวดลายเจ้าแห่งสัตว์นี้อยู่บนวัตถุต่างๆกระจายอยู่ในหลากหลายพื้นที่ของตะวันออกใกล้และอียิปต์ ลักษณะรายละเอียดของลวดลายนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละอารยธรรม และเจ้าแห่งสัตว์นั้นก็มีทั้งบุรุษและสตรี หรือมนุษย์ผสมสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในท่ายืน สัตว์ที่ปรกฏนั้นก็มีหลากหลายแต่ส่วนใหญ่ที่พบนั้นสัตว์เหล่านี้จะถูกมือของเจ้าแห่งสัตว์จับไว้
มีการค้นพบตราประบในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่แสดงให้เห็นลักษณะของลวดลายเจ้าแห่งสัตว์ด้วย ซึ่งรูปสลักส่วนใหญ่ในตราประทับนั้นจะเป็นมนุษย์ในท่ายืนกางแขนออกทั้งสองข้างในมือจับอยู่ที่คอของสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายเสือ
อิทธิพลจากวัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
ชาวลุ่มแม่น้ำสินธุและชาวเมโสโปเตเมียนั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีทางการค้ากันมาเป็นเวลาเนิ่นนาน มีการค้นพบหลักฐานที่เชื่อมโยงถึงการค้าของทั้งสองอารยธรรมทั้งในบริเวณท่าเรือสำคัญของลุ่มแม่น้ำสินธุ และในเมืองใหญ่ของเมโสโปเตเมีย หลักฐานการแผ่ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมของชาวเมโสโปเตเมียไปในอารยธรรมอื่นนั้น เช่นรูปสลักบนด้ามของมีด Gebel el-Arak หรือที่เรียกว่ามีด Jebel el-Arak ของอียิปต์อายุราว3,500-3,200 ปีก่อนคริสตศักราช
เชื่อกันว่ามีดนี้ถูกสร้างในอียิปต์ส่วนด้ามจับของมีดที่ทำด้วยงาช้างมีรูปสลักมนุษย์ยืนอยู่ระหว่างสิงโตเชื่อกันว่ารูปสลักดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาจากลวดรายเจ้าแห่งสัตว์ของเมโสโปเตเมีย
ในขณะที่ฝั่งลุ่มแม่น้ำสินธุเองก็พบตราประทับสลักรูปมนุษย์ยืนอยู่ระหว่างเสือสองตัวอายุรา2,500-1500ปีก่อนคริสตศักราชซึ่งเชื่อว่าตราประทับนี้ได้รับอิทธิพลจากลวดรายเจ้าแห่งสัตว์ของเมโสโปเตเมียเช่นกัน นอกจากนั้นยังค้นพบตราประทับรูปมนุษย์มีเขากำลังต่อสู้กับสัตว์ร้าย2,500-1,500 ปีก่อนคริสตศักราช เชื่อกันว่าบุรุษมีเขาบนตราประทับนี้คือเอ็นคิดู (Enkidu) ตัวละครสำคัญในมหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh)ซึ่งเป็นวรรณกรรมสำคัญของเมโสโปเตเมีย
เชื่อกันว่ากิลกาเมช (Gilgamesh)นั้นอาจเป็นกษัตริย์ครองนครรัฐอูรุคของชาวสุเมเรียนในช่วง 2900–2350 ปีก่อนคริสตศักราช ส่วนเอ็นคิดูนั้นคืออสูรเพื่อนรักของกิลกาเมช เอ็นคิดูเป็นบุรุษรูปร่างกำยำสูงใหญ่ท่อนล่างมีขาทั้งสองข้างเป็นขาของวัวกระทิง บนศีรษะมีเขาเหมือนกระทิง ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเอ็นคิดูนั้นถูกสร้างขึ้นมาจากฝีมือของเทพโดยใส่ความป่าเถื่อนของสัตว์ป่า 12 ชนิดไว้ในตัวเขา
มีการค้นพบตราประทับที่ในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่มีรูปสลักรูปมนุษย์มีเขาและมีท่องล่างเป็นสัตว์กำลังต่อสู้กับสัตว์ร้ายซึ่งเชื่อกันว่ารูปบนตราประทับนี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องราวของเอ็นคิดู ซึ่งตราประทับที่พบนี้มีลักษณะคล้ากับตราประทับของชาวเมโสโปเตเมีย
จากเรื่องราวของแนวคิดความเชื่อเรื่องเจ้าแห่งสัตว์สู่การถ่ายทอดแนวคิดเหล่านี้ออกมาเป็นลวดลายอยู่บนวัตถุต่างๆ ซึ่งในแต่ละอารยธรรมนั้นก็มีลักษณะของลวดลายที่แตกต่างกันไป ลวดลายบนตราประทับปศุปติเองก็อาจได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเจ้าแห่งสัตว์นี้ด้วย ซึ่งแนวคิดนี้มีนักวิชากหลายท่านเห็นชอบด้วยโดยพวกเขาให้ข้อสังเกตว่าลวดลายนี้อาจเป็นตัวอย่างของแนวคิดเรื่อง Lord of the Beasts ซึ่งเป็นตำนานมาจากในช่วงยุคหินใหม่ของเอเชีย
อีกแนวคิดหนึ่งคือเกิดการผสมผสานทางความคิดระหว่างชนพื้นเมืองดั่งเดิมในแถบลุ่มแม่น้ำสินธุกับความเชื่อของผู้คนที่อพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาใหม่ดังเช่นชาวกลุ่มชาวนาจากเทือกเขาซากรอสเมื่อราว 7,000 ปีก่อนก่อนคริสตศักราช และผู้คนจากดินแดนอื่นๆ จนทำให้ความเชื่อเรื่องเจ้าแห่งสัตว์ของผู้คนจากหลากหลายกลุ่มนี้ผสมกลมกลืนกันจนพัฒนาไปเป็นเจ้าแห่สัตว์ในแบบฉบับของชาวลุ่มแม่น้ำสินธุดังเช่นที่ปรากฏอยู่บนตราประทับ
อีกทั้งชาวอารยันที่อพยพบเข้ามาในดินแดนอนุทวีปอินเดียในยุคหลังนั้นพวกเขาเองก็มีแนวคิดเรื่องเจ้าแห่งสัตว์ติดตัวมาอยู่แล้วเช่นกัน และเกิดการผสมสานแนวคิดเรื่องเจ้าแห่งสัตว์ขึ้นอีกครั้งในดินแดนนี้
ในส่วนของอิทธิพลทางวัฒนธรรมของดินแดนเมโสโปเตเมียนั้นมีผลต่อแนวคิดเรื่องรูปสลักบนตราประทับอยู่พอสมควรตราประทับของชาวอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุหลายแบบมีความคล้ายคลึงกับตราประทับของชาเมโสโปเตเมีย และแนวคิดเรื่องเจ้าแห่งสัตว์จากเมโสโปเตเมียอาจส่งผลต่อแนวคิดเรื่องเจ้าแห่งสัตว์ในดินแดนนี้ให้เข้มยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีแนวคิดต่างๆเหล่านี้ยังคงเป็นแนวคิดที่ได้ไม่รับความเชื่อถือมากเท่าแนวคิดเรื่องพระปศุปติที่เสนอโดยจอห์น มาร์แชลอีกทั้งแนวคิดเหล่านี้ยังคงเป็นแนวคิดที่ยังไม่มีหลักฐานมายืนนันแน่ชัด
htmlhttps://th.unionpedia.org/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%8A
โฆษณา