17 พ.ค. 2023 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์

เมื่อรัสเซียต้องปฏิรูป ราชวงศ์โรมานอฟก็จบสิ้น

หลังจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชมีชัยเหนือจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเวลานั้นตรงกับราชวงศ์ปราสาททองของไทย
ในยุคนั้น นอกจากแสนยานุภาพ รัสเซียยังมีการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญในยุคนี้ คือ อุตสาหกรรมเหล็กกล้าถือว่าเป็นครั้งแรกที่รัสเซียสามารถครอบครองตลาดเหล็กทั่วยุโรปได้สำเร็จ
พระเจ้าปีเตอร์มหาราชยังทรงเป็นซาร์องค์แรกของรัสเซียที่เสด็จไปเยือนประเทศยุโรปโดยสองประเทศหลักๆ ที่ไปคือ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร เป็นการผูกไมตรีและเชื่อมรัสเซียที่อยู่ไกลจากยุโรปให้เข้ามาใกล้ชิด
ในขณะที่ความพยายามของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชในการขยายอำนาจก็เดินหน้าต่อไป แต่ภายในราชวงศ์โรมานอฟก็มีความปั่นป่วน มีการแย่งอำนาจของพี่น้อง
ในปี 1762 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ทรงครองราชย์ แต่ด้วยความที่ทรงนิยมในพระเจ้าเฟรเดอริกที่สองของปรัสเซีย ซึ่งเวลานั้นเปรียบเหมือนคู่ขัดแย้งของรัสเซีย ทำให้พระนางแคทเธอรีน พระชายาของพระองค์ยึดอำนาจพระสวามี และตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดินีแห่งรัสเซียตั้งแต่ปี 1762-1796
ในรัชสมัยนี้เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงสำคัญของโลกเพราะในปี 1776 เป็นช่วงที่สหรัฐฯ ได้มีการประกาศเอกราชเหนือสหราชอาณาจักรในปี 1789 เป็นปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส มีการล้มร้างราชวงศ์บูร์บองยุโรปเข้าสู่ยุคแห่งการตื่นรู้ หรือ Age of Enlightenmentประเทศไทย เป็นช่วงหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งสถาปนาในปี 1782
พระองค์มีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มงานที่พระเจ้าปีเตอร์มหาราชวางรากฐานไว้ก่อนหน้านั้น เพราะด้วยความที่พระองค์ที่มีนิสัยชอบความทันสมัย พระองค์ได้มีการศึกษาการตื่นรู้ของฝรั่งเศส พระองค์นำความทันสมัย ศิลปะ รูปแบบการปกครองแบบที่มีความเสรีมากขึ้นมาสู่รัสเซีย จนได้รับการขนานนามว่า แคทเธอรีนผู้ยิ่งใหญ่ หรือ แคทเธอรีนมหาราช
พอจบสมัยจักรพรรดินีแคทเธอรีน เป็นช่วงที่ฝรั่งเศส เข้าสู่ยุคโนโปเลียน มีการทำสงครามขยายอำนาจไปทางทิศตะวันออกของฝรั่งเศส
หนึ่งในเป้าหมายสำคัญคือ การยึดมอสโค ซึ่งตอนนั้นอยู่ในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1
วิธีการรับมือของรัสเซีย คือ การหลอกให้ฝรั่งเศสตายใจ เข้าไปสู่ตอนในของรัสเซีย ได้โดยง่าย พอมาถึงมอสโค ก็จุดไปเผามอสโคทั้งเมือง ทำให้กองทัพฝรั่งเศสถูกไฟครอก ต้องล่าถอยและกลับไปสู่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นช่วงพลิกผันของจักรพรรดินโปเลียนพอดี
ดังนั้น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 เป็นที่จดจำในฐานะผู้ปกป้องรัสเซียจากการขยายอำนาจของพระเจ้านโปเลียน
หลังจากนั้น รัสเซียภายใต้การปกครองของราชวงศ์โรมานอฟ อยู่ภายใต้ 2 กระแส คือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งราชวงศ์โรมานอฟก็พยายามรักษาความมั่นคงของราชวงศ์และจักรวรรดิรัสเซียเอาไว้
ขณะเดียวกันผู้นำทางความคิดในสังคมก็เริ่มมองว่ายุโรปมีความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นศิลปะวิทยาการ รูปแบบการปกครอง
ดังนั้น ในช่วงหลังสงครามนโปเลียน จนถึงช่วงสุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟ คือ การต่อสู้ทางความคิดทันสมัยกับอนุรักษนิยม
1
ในช่วงปลายของราชวงศ์โรมานอฟ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์ มาถึงพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 เป็นจักรพรรดิองค์รองสุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟ เป็นผู้ที่มีการต่อต้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองในเชิงเสรีนิยมมาโดยตลอด พระองค์สิ้นพระชนม์ จากการประชวรที่ไต
หลังจากนั้นโอรส คือ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 ขึ้นครองราชย์ ในขณะที่พระองค์เองบอกว่า ยังไม่พร้อมจะรับพระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่
ในช่วงการครองราชย์ของพระองค์ ยุโรปแข็งแกร่งมาก พระองค์ต้องทำสงคราม เพื่อย้ำให้มั่นใจว่ารัสเซียจะกลับมาเข้มแข็ง
แต่นอกยุโรป ตอนนั้นมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น ในยุคปฏิวัติเมจิก็เริ่มต้นขึ้นในสมัยนั้น รัสเซียได้เช่าพื้นที่ที่เรียกว่า พอร์ทอาเธอร์ ของจีนเพื่อทำการค้าขาย และตรึงพื้นที่ฝั่งรัสเซียตะวันออก ในขณะที่ญี่ปุ่นเริ่มเสริมแสนยานุภาพในทางเรือ จนปี 1905 เกิดสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War)
สงครามนั้นเซอร์ไพรส์คนทั้งโลก เพราะกองทัพใหม่อย่างญี่ปุ่นเอาชนะกองทัพรัสเซียได้
หลังจากนั้น พระเจ้านิโคลัสที่ 2 ให้ส่งกองเรือจากบอลติก เคลื่อนทัพ 9000 กิโลเมตร ไปทำสงครามที่ช่องแคบสึชิมะ การเคลื่อนพลดังกล่าวใช้เวลายาวนาน ทหารอ่อนล้าบวกกับยุทโธปกรณ์ล้าหลัง จนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ที่เรียกได้ว่าเป็นความอัปยศครั้งหนึ่งของรัสเซีย
ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อราชวงศ์เริ่มน้อยลงไปเรื่อยๆ ไม่ว่าปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง การพ่ายแพ้สงคราม แม้จะมีการตั้งข้าราชการระดับสูงมาปฏิรูปที่ดิน แต่ที่สุด ก็ถูกสังหาร ทำให้ความหวังของคนรัสเซียดับมอด
จนในปี 1910 เกิดการก่อตัวของกลุ่มคอมมิวนิสต์ในรัสเซีย จนสามารถโค่นราชวงศ์โรมานอฟ
พระเจ้านิโคลัสที่ 2 ยอมสละราชบัลลังก์ และถูกควบคุมตัวไปยังเยคาเตรินบุร์ก ซึ่งอยู่ตอนในของรัสเซีย แทนที่จะเป็นตามพระประสงค์ที่จะไปเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อที่พระองค์จะได้สามารถเดินทางไปลี้ภัยที่พระญาติของพระองค์ในยุโรป
แต่ท้ายที่สุด เกิดโศกนาฏกรรมในปี 1918 เพราะกองกำลังของบอลเชวิกสังหารพระองค์และครอบครัว​จนกระทั่งสิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ
ผ่านไป 80 ปี ในปี 1998 ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ได้ทำพิธีศพให้กับทุกชีวิตของราชวงศ์โรมานอฟโดยเชื่อว่า ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร รัสเซียไม่ควรมีการสังหารอย่างเหี้ยมโหดเช่นนั้น
ทั้งหมดนี้คือภาพรวมของรัสเซีสก่อนจะกลายเป็นสหภาพโซเวียต
ที่มา : 8 Minutes History EP.37
โฆษณา