18 พ.ค. 2023 เวลา 02:56 • หุ้น & เศรษฐกิจ

รู้จัก ITV หุ้นสื่อโทรทัศน์ ของทักษิณ สู่มรดกของพ่อ ทิม พิธา

รู้หรือไม่ ITV เป็นหุ้นสื่อที่เป็นของ ทักษิณ ชินวัตร มาก่อนแต่แล้วบริษัทนี้ก็เจอปัญหารุมเร้าและในวันนี้ ITV กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ของคุณทิม พิธา ที่เป็นตัวเต็งนายกรัฐมนตรีคนล่าสุด
เพราะมีข้อร้องเรียนว่า คุณทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะผู้จัดการมรดก ถือหุ้น ITV 42,000 หุ้น ซึ่ง ITV เป็นหุ้นสื่อที่ ส.ส.ไม่สามารถครอบครองได้
หลายคนอาจเคยจำได้ลาง ๆ เกี่ยวกับ ITV ว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ที่เคยเห็นบนหน้าจอเมื่อนานมาแล้ว
แต่อาจจำไม่ได้ว่า ดูรายการจาก ITV ครั้งล่าสุดเมื่อไร
แล้วอะไรเป็นเหตุให้ ITV ต้องหายไป เรื่องราววุ่นวายแค่ไหน ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ชื่อของช่อง โทรทัศน์ไอทีวี (ITV) ย่อมาจาก Independent Television แปลตรงตัวว่า “สถานีโทรทัศน์เสรี” เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 หรือเมื่อ 27 ปีก่อน
โดยชื่อนี้ได้มาจากแนวคิดที่ว่าต้องการให้คนไทย ไม่ถูกปิดกั้น และรับรู้ข่าวสารได้อย่าง ถูกต้อง และเป็นกลาง
เนื่องจากในสมัยนั้น ช่องโทรทัศน์ต่างอยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของรัฐ
ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นตามสื่อนั้น ถูกรายงานอย่างจำกัด และไม่ชอบธรรมนัก
จึงเกิดการเรียกร้องจากประชาชน ให้รัฐบาลมีสื่อเสรีที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐขึ้นมาช่องหนึ่ง
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ซึ่งเป็นผู้ดูแลการเปิดสัมปทานสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่ จึงเปิดให้เอกชนสามารถประมูลสัมปทานได้
โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องมีสัดส่วนเนื้อหารายการ
- ข่าวและสาระ 70% - รายการบันเทิง 30%
ซึ่งก็ได้กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด บริษัทในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้ชนะการประมูลในตอนนั้น
โดยมีเงื่อนไขคือ บริษัทจะได้สัมปทานในการบริการ สถานีโทรทัศน์ช่องใหม่เป็นระยะเวลา 30 ปี
1
โดยตลอดระยะเวลาทั้งหมด บริษัทจะต้องแบ่งรายได้ให้กับ สปน. ขั้นต่ำคือ 25,200 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณปีละ 840 ล้านบาท
4
หลังจากชนะการประมูล บริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ใช้วิธีจัดตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนท์ จำกัด ขึ้นมา เพื่อดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์
1
นับตั้งแต่วันนั้น สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV) จึงถือกำเนิดขึ้นมา และเริ่มออกอากาศ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539
ในเวลาต่อมา บริษัท สยามอินโฟเทนเทนท์ จำกัด ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนพร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
2
ต่อมา ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี พ.ศ. 2540 บริษัทประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากบริษัทกู้เงินจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
2
ทำให้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงตัดสินใจขายหุ้น ITV ให้กลุ่มชินคอร์ปของ ตระกูลชินวัตร มาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทน พร้อมมอบสิทธิ์ ในการบริหาร
1
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ทักษิณ ชินวัตร ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
2
จากนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 บริษัท ITV ก็ได้เข้า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2547 ชินคอร์ปก็ได้ ยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการ เพื่อขอแก้ไข สัญญาและขอลดค่าสัมปทาน
1
เนื่องจากเห็นว่า สถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ๆ จ่ายค่า สัมปทานในราคาที่ต่ำกว่า เช่น ช่อง 3 จ่ายปีละ 107 ล้านบาท, ช่อง 7 จ่ายปีละ 187 ล้านบาท
1
ขณะที่ ITV ต้องจ่ายให้รัฐปีละ 840 ล้านบาท อนุญาโตตุลาการ จึงวินิจฉัยให้ลดค่าสัมปทาน ที่ต้องจ่ายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เหลือปีละ 230 ล้านบาท
พร้อมทั้ง อนุญาตให้แก้ไขสัดส่วนการออกอากาศ จากรายการข่าวและสาระ ต่อรายการบันเทิง จากสัดส่วน 70:30 เป็น 50:50 ได้
อย่างไรก็ตาม จากข้อตกลงนี้ ส่งผลให้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ซึ่งเป็นผู้ออกสัมปทานในตอนแรก กลายเป็นผู้เสียประโยชน์
เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้ สปน. จึงได้ยื่นเรื่องนี้ต่อศาลปกครอง เพิกถอนคำสั่ง ของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว
จนในปี พ.ศ. 2549 ได้มีคำพิพากษาออกมา ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1
- บริษัทต้องกลับไป จ่ายค่าสัมปทานปีละ 840 ล้านบาท รวมถึงต้องปรับผังรายการตามสัดส่วน 70:30 ตามเดิม
1
- บริษัท ITV ต้องจ่ายค่าปรับ กรณีเปลี่ยนแปลง ผังรายการ ที่ไม่เป็นไป ตามสัญญาสัมปทานวันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่วันที่เริ่มปรับผังรายการ รวมเป็นระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 2 ปี
2
หรือสรุปเป็นคำพูดง่าย ๆ คือ ITV ต้องจ่ายค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ รวมถึงค่าปรับ รวมเป็นเงินทั้งหมดประมาณ 100,000 ล้านบาท..
ทันทีที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษา ก็ได้ส่งผลให้ ราคาหุ้นของ ITV ร่วงลงอย่างหนักกว่า 30 % จนติด Floor เป็นเกณฑ์ราคาต่ำสุดในวันเดียว
ยิ่งไปกว่านั้น ทางรัฐบาลก็มีมติว่าหาก ITV ไม่สามารถ ชำระเงินในส่วนนี้ได้ ภายใน 7 มีนาคม 2550 ก็ต้องยกเลิกสัมปทานไป
แน่นอนว่าบริษัท ITV ที่ในตอนนั้น มีรายได้ระดับพันล้านบาท ไม่สามารถหาเงินหลัก “แสนล้านบาท” มาจ่ายได้
เรื่องดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้ ITV หยุดทำธุรกิจสถานีโทรทัศน์ ในที่สุด..
2
จากงบการเงินในปี 2565 ที่ผ่านมา แม้ปัจจุบันบริษัท ITV จะยังคงมีรายได้อยู่ 20.6 ล้านบาท แต่เป็นเพียง รายได้จากผลตอบแทนเงินลงทุน และดอกเบี้ยรับเท่านั้น ไม่ได้มีรายได้จากการทำธุรกิจสื่อ
1
แต่หลายคนก็มองว่าวัตถุประสงค์ของบริษัท ITV ยังคงทำธุรกิจสื่ออยู่ ซึ่งเข้าข่ายว่าคุณทิม พิธาถือหุ้นสื่อผ่านกองมรดก
มาถึงคำถามหลายคนคงอยากรู้กันว่า แล้วตอนนี้ ใครคือผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ITV ?
1
ในยุคนั้น ชินคอร์ป ถือหุ้น ITV และกลุ่มชินวัตรก็ถือหุ้นชินคอร์ปอีกที
ต่อมา กลุ่มชินวัตร ขายหุ้นชินคอร์ปให้เทมาเส็ก ของรัฐบาลสิงคโปร์ บริษัทชินคอร์ป จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “อินทัช”
ซึ่งปัจจุบัน อินทัช ก็ยังถือหุ้น 75% ใน ITVและผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ อินทัช ในเวลานี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทของมหาเศรษฐีอันดับ 1 อย่าง คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี นั่นเอง..
5
อย่างไรก็ตาม ใครจะไปคิดว่า
1
มหากาพย์หุ้น ITV ที่มีประเด็นกับอดีตนายกรัฐมนตรี อย่าง ทักษิณ ชินวัตร เมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว
ในวันนี้ ITV จะย้อนกลับมาเป็นประเด็นกับ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตัวเต็งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด
โดย หุ้น ITV เป็นหุ้นที่อยู่ในกองมรดกที่คุณทิม พิธา เป็นผู้จัดการอยู่ มีจำนวน 42,000 หุ้นนั้น คิดเป็นสัดส่วน 0.0035% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในบริษัท ITV
ถ้าถามว่าหุ้น ITV ที่กองมรดกของนี้มีมูลค่าเท่าไร ?
2
เนื่องจาก ITV ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว แต่ก็สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ จาก ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือมูลค่าทางบัญชีของบริษัท
ซึ่งมูลค่านี้ไม่ใช่ 0แต่เป็นมูลค่าติดลบ..
เนื่องจาก ITV ประสบปัญหาทางธุรกิจมากมาย จึงทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท ITV ปี 2565 มีมูลค่า -1,626 ล้านบาท
ถ้าเอา 0.0035% คูณกับมูลค่าดังกล่าว ก็แปลว่า มรดกที่คุณทิม พิธา จัดการอยู่ ได้ครอบครองหุ้น ITV ที่มีมูลค่า -56,910 บาท นั่นเอง..
3
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
2
โฆษณา