Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
•
ติดตาม
18 พ.ค. 2023 เวลา 07:09 • สัตว์เลี้ยง
ส.คช. พัฒนา วิจัย และบริการวิชาการ ระบบสืบพันธุ์ช้าง แก้ไขปัญหาการลดลงของช้างไทย
หากพูดถึงประชากร ‘ช้างไทย’ ในปัจจุบันนับได้ว่ามีอัตราการเกิดของช้างที่ลดลง ซึ่งสวนทางกับอัตราการป่วยและตายของช้างที่มีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับช้างเลี้ยงแต่ละเชือกมีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันออกไปจึงทำให้ไม่เอื้อต่อการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติทำให้เกิดโอกาสช้างตั้งท้องน้อยลง ส่งผลให้ประเทศไทยกำลังขาดแคลนช้างเพศผู้และเพศเมียในการเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมถึงช้างที่มีสายเลือดชิดกันหากมีโอกาสตั้งท้องและเกิดลูกช้างที่ไม่แข็งแรง
จากปัญหาเหล่านี้จึงทำให้ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ส.คช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการในด้านการอนุรักษ์และบริบาลช้างไทย ในสังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ได้มองเห็นว่า การที่ช้างเลี้ยงมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนช้างเลี้ยงในประเทศไทยได้ในที่สุด
ส.คช. จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาเทคนิคการเก็บน้ำเชื้อ การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ การแช่เย็นและแช่แข็งน้ำเชื้อไว้เป็นธนาคารน้ำเชื้อช้าง การพัฒนาเทคนิคการจับสัด โดยการตรวจวงจรรอบการเป็นสัดจากฮอร์โมนเพื่อหาวันที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ ตลอดจนการผสมเทียมในกรณีที่ไม่สามารถผสมจริงได้ ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระบบสืบพันธุ์ช้างเลี้ยงในประเทศไทยได้
ตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี ที่ ส.คช. ได้ดำเนินการวิจัยและบริการวิชาการระบบสืบพันธุ์ช้าง แม่ช้างที่อยู่ในความดูแลของ ส.คช. และปางช้างเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้กำเนิดลูกช้างน้อยจำนวน 4 เชือก นอกจากนี้ ส.คช. ยังได้ให้บริการตรวจวงรอบการเป็นสัดในช้างเพศเมีย เฉลี่ยปีละ 20 – 30 เชือก และตรวจประเมินคุณภาพน้ำเชื้อช้างเพศผู้ ตลอดจนช่วยวางแผนและจัดการการผสมพันธุ์โดยวิธีทางธรรมชาติ รวมทั้งได้ติดตามผลภายหลังการผสมพันธุ์ของช้างด้วยการวัดระดับฮอร์โมนในช้างเพศเมีย เพื่อประเมินการตั้งท้องและคลอดลูกในที่สุด
ทั้งนี้ ส.คช. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคนิคในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องการเก็บน้ำเชื้อ การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อช้าง รวมถึงการตรวจวงรอบการเป็นสัตว์ในช้างเพศเมีย และอื่นๆ เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการวิจัยและบริการวิชาการระบบสืบพันธุ์ช้าง เพื่อให้สามารถวางแผนการจัดการโครงสร้างประชากรช้างที่เหมาะสม ตลอดจนอนุรักษ์สายพันธุ์ของช้างไทยให้คงอยู่สืบไป
ช้างไทย
สัตว์
สัตว์โลก
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย