Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Lesson
•
ติดตาม
21 พ.ค. 2023 เวลา 04:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จากความขัดแย้งสู่การแบ่งขั้วของเศรษฐกิจโลก (Decoupling)
ความเดิมตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึง เส้นทางความขัดแย้งของสองขั้วมหาอำนาจ ที่ยังไม่รู้จบ ซึ่งเชื่อว่า การแบ่งขั้วทางการค้าจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หลังพบสัญญาณที่รุนแรงขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ลดลงต่อเนื่อง
แม้ในปี 2565 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ จะมีมูลค่าการค้า (ส่งออกรวมนำเข้า) กับจีนเพิ่มขึ้น 5.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จนแตะระดับ 7.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าในช่วงที่เกิดสงครามการค้ารุนแรงในปี 2561 และสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว
แต่เมื่อพิจารณาสัดส่วนมูลค่าการค้าของสหรัฐฯกับจีนเทียบกับมูลค่าการค้าต่างประเทศทั้งหมดของสหรัฐฯ พบว่ามีทิศทางที่ลดลงชัดเจน จากที่คิดเป็นสัดส่วน 16.6% ในปี 2560 ลดลงเหลือเพียง 13.4% ในปี 2565 และเป็นภาพเดียวกันเมื่อมองจากฝั่งมูลค่าการค้าที่จีนมีกับสหรัฐฯ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อมองลึกลงไปในแต่ละประเทศคู่ค้าสำคัญ พบว่ากลุ่มประเทศที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนกลับมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่มากขึ้น คือ ประเทศในอาเซียน โดย 3 ประเทศที่สหรัฐฯ มีสัดส่วนการค้าเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา คือ เวียดนาม ไต้หวัน และอินเดีย ตามลำดับ
1
ขณะที่รัสเซีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็น 3 ประเทศที่จีนมีสัดส่วนการค้าเพิ่มขึ้น
นอกจากการแบ่งขั้วด้านการค้าแล้ว การลงทุนก็เช่นกัน โดยบริษัทข้ามชาติจะมีแนวโน้มปรับเปลี่ยน Supply chain ด้วยการย้ายฐานการผลิตมากขึ้น สะท้อนจากดัชนีชี้วัดความสนใจในการย้ายฐานการผลิต ซึ่งจัดทำโดย IMF โดยวัดจากความถี่ในการระบุถึง
-“Reshoring” (กลับสู่ประเทศต้นทางเดิม) - friend-shoring (การย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศพันธมิตรที่ไม่มีความขัดแย้งระหว่างกัน) - near-shoring (การย้ายกลับสู่ประเทศอื่นๆ ที่มีภูมิศาสตร์ใกล้กับประเทศต้นทางเดิม)
ขณะที่ในรายงานการดำเนินงานของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ (earnings call reports) พบว่าตั้งแต่ปี 2561 ที่เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน จนถึงบทเรียนจากวิกฤตโควิด-19 ที่นำไปสู่ปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain disruption) และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้บริษัทข้ามชาติระบุว่าสนใจที่จะย้ายฐานการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก
นอกจากการย้ายกลับประเทศเดิมแล้ว คาดว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นปลายทางสำคัญของการย้ายฐานการผลิต ต่อเนื่องจากปี 2564-65 ที่พบว่ามีหลายบริษัทย้ายฐานการผลิตมายังภูมิภาคนี้มากขึ้น เช่น บริษัท GlobalFoundries, TSMC และ Apple ซึ่งทำให้เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไหลเข้าใน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ในปี 2564-65 เพิ่มขึ้นจนมีมูลค่าต่อปีคิดเป็นกว่า 1.6 เท่าของค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2555-63
โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื้อหอม เพราะประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้วางตัวเป็นกลางต่อความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน อีกทั้งหลายประเทศยังมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนหรือมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ
ที่มา : Krungthai COMPASS
จีน
เศรษฐกิจ
ธุรกิจ
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย