Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2023 เวลา 13:06 • สุขภาพ
💊Metformin (เมทฟอร์มิน)
เป็นยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่ม biguanides ที่ไม่กระตุ้นการหลั่งอินซุลิน
ออกฤทธิ์ลดการสร้างกลูโคสที่ตับ (gluconeogenesis) เพิ่มความสามารถของอินซูลิน ทำให้การนำกลูโคสเข้าสู่เซล และการนำกลูโคสไปใช้ มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น
ใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีสาเหตุมาจากภาวะดื้อกับฮอร์โมนอินซุลิน ร่วมกับการหลั่งฮอร์โมนอินซุลินจากตับอ่อนลดลง มักเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วน
⏺️มีในรูปแบบ immediate-release ที่ละลายเร็ว ดูดซึมเร็ว ออกฤทธิ์เร็ว กับยาในรูปแบบ extended-release ที่ค่อยๆปล่อยตัวยาออกมา ทำให้ออกฤทธิ์ได้นาน
⏺️มีทั้งรูปแบบที่เป็นยาเดี่ยว และยาที่ผสมกับยาชนิดอื่น
ในการป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2
จะใช้กับผู้ใหญ่วัย 25-59 ปีที่มีค่า BMI ≥35 kg/m2
ที่มีค่าระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสม่าขณะอดอาหาร (fasting plasma glucose) สูง ≥110 mg/dL
และมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา (A1C) สูง ≥ 6.0%
💊Metformin immediate-release tablet
อาหารรบกวนการดูดซึม แต่ควรกินยาพร้อมอาหาร เพื่อลดการระคายเคืองที่ทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้อาเจียน
โดยค่อยๆเพิ่มขนาดยาทุกสัปดาห์จากครั้งละ 500 มิลลิกรัม เพิ่มไปจนถึงครั้งละ 850 มิลลิกรัม
ขนาดยาสูงสุดวันละ 2550 มิลลิกรัม
การให้ยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระดับยาอยู่ในช่วงของการคุมอาการ (maintenance dose)
ให้ยาในขนาด 850mg หรือ 1000 mg วันละครั้ง
การป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 (Off-labeled Uses)
เริ่มยาในขนาด 850 มิลลิกรัม วันละครั้ง
โดยปรับขนาดยาได้ถึง 850 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
ควรกินยาเวลาเดียวกันทุกวัน
ยาขับออกแบบไม่เปลี่ยนแปลงทางปัสสาวะ
⚠️ระวังในผู้ป่วยโรคไต ซึ่งขนาดยาที่ใช้จะขึ้นกับประสิทธิภาพของไต
⚠️คนสูงอายุ ไม่ควรใช้ยาในขนาดยาสูงสุด และให้ระวังการใช้ยากับคนสูงอายุที่มีการทำงานของไตลดลง
⚠️ผู้ป่วยโรคตับให้ระวังภาวะเลือดเป็นกรด (lactic acidosis) ที่ทำให้คลื่นไส้ ปวดท้อง ร่วมกับหอบเหนื่อย
🤰US FDA pregnancy category B
ยามีความปลอดภัยเมื่อใช้ขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับอินซุลิน
🤱ยาขับออกทางนมแม่เพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่มีผลต่อทารก แต่ควรสังเกตอาการของทารกที่ดูดนมแม่ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ยังดูดนมเหมือนเดิมหรือไม่ หรือหิวบ่อยมากกว่าเดิม
หลับมากกว่าเดิมหรือไม่
ตัวซีดลง เหงื่ออกมากกว่าเดิม กระสับกระส่าย
ฉี่มากกว่าเดิม
ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
💊Metformin Extended-release tablets
อาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมยา
การกินพร้อมอาหารไขมันสูง หรือ อาหารไขมันต่ำ ไม่มีผลต่อการดูดซึมยา
กินวันละครั้งพร้อมอาหารเย็น
ควรดื่มน้ำตามอย่างน้อย 1 แก้ว
เริ่มยาในขนาด 500 มิลลิกรัม หรือ 1000 มิลลิกรัม วันละครั้ง โดยปรับเพิ่มขนาดยาสัปดาห์ละ 500 มิลลิกรัม ในเวลา 6 สัปดาห์
ขนาดยาสูงสุด 2000 มิลลิกรัม วันละ 1 หรือ 2 ครั้ง
‼️การใช้ยาเป็นระยะเวลานานจะทำให้ระดับวิตะมินบี12 ลดลง (Vitamin B12 / cobalamin)
ให้ระวังในผู้ที่เป็นโลหิตจาง
ผู้ที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ (peripheral neuropathy)
ผู้ที่มีการดูดซึมวิตะมินบี 12 ลดลง เช่น
คนสูงอายุ ผู้ที่ตัดกระเพาะอาหารให้เล็กลง
Crohn’s Disease ที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
ผู้ที่งดอาหารเนื้อสัตว์
ยาที่ลดการดูดซึมวิตะมินบี 12 เช่น ยาลดการหลั่งกรดกลุ่ม PPI's, ยาที่ใช้รักษาและป้องกันโรคเก๊าท์ Colchicine (โคลชิซิน)
‼️ระหว่างที่ใช้ยานี้ ไม่ควรกินเหล้า เพราะอาจเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ที่ทำให้ความดันตก ตัวเย็น และอาจเสียชีวิตได้
⛔ห้ามการกินร่วมกับยาเหล่านี้
📛ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
ยาเมทฟอร์มินทำให้ตับลดการนำแลคเตทเข้าเซล จนแลคเตทคั่งในเลือด เกิดภาวะเลือดเป็นกรด มักเกิดกับคนสูงอายุ > 65 ปี ที่ดื่มเหล้าจัด มีการทำงานของตับลดลง รวมทั้งมีการใช้ยาเหล่านี้ร่วมด้วย
bupropion, topiramate, cephalexin, cimetidine, dolutegravir, ethanol, glycopyrrolate, iodinated contrast agents, lamotrigine, ranolazine
📛ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ
ยาเมทฟอร์มินไม่กระตุ้นการหลั่งอินซุลิน จึงไม่ทำให้น้ำตาลต่ำ แต่ให้ระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น
androgens, alpha-lipoic acid, salicylates, selective serotonin reuptake inhibitors, quinolones, prothionamide, pegvisomant,
และยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดอื่นที่กระตุ้นการหลั่งอินซุลิน เช่น อินซุลิน ยาเบาหวานกลุ่ม sulfonylureas เช่น ไกลเบนคลาไมด์ ไกลปิไซด์ ไกลคลาไซด์
👨🔬เมทฟอร์มินเป็นยาที่ใช้อย่างแพร่หลายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความปลอดภัย ผู้ใช้ทนต่อยาได้ดี ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardioprotective agent) ทำให้น้ำหนักลดลง ที่สำคัญคือยาราคาถูก ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน งดบุหรี่ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ
‼️‼️‼️
ในปัจจุบันนี้ยาเมทฟอร์มินชนิดออกฤทธิ์นานบางขนาดยาขาดตลาด การเปลี่ยนยาไปใช้ชนิดอื่น ควรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ ไม่ควรเปลี่ยนยาเอง เพื่อป้องกันการได้รับยามากไปหรือน้อยไป ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ผล น้ำตาลต่ำ หรือภาวะเลือดเป็นกรด
😄มีปัญหาเรื่องการใช้ยา เชิญปรึกษาเภสัชกร
.
.
💢
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK518983/
https://diabetesjournals.org/clinical/article/40/1/10/139035/Standards-of-Medical-Care-in-Diabetes-2022
https://go.drugbank.com/drugs/DB00331
https://www.nhs.uk/medicines/metformin/pregnancy-breastfeeding-and-fertility-while-taking-metformin/
.
.
ภาพ cover จาก
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/18478/
.
.
ภาพจาก
https://clinicalpathways.io/diabetes/ng28/
.
.
POSTED 2023.05.19
บทความอื่น
https://www.blockdit.com/posts/6163fd98d2ee2d0c9fe74207
เมทฟอร์มิน - ท้องเสีย
https://www.blockdit.com/posts/6485aa21eb9c4de03a5505f7
💟
ยาเบาหวาน
https://www.blockdit.com/posts/6149b60616e0600518ee7e27
https://www.blockdit.com/posts/620e44ff78eb6dd43bba578b
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย