20 พ.ค. 2023 เวลา 08:16 • บันเทิง

ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับหลังการเลือกตั้ง

2พรรคใหญ่ที่จะจัดตั้งรัฐบาลมี
นโยบายที่ตรงกัน เรื่องแรกคือ การลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชน 25-70 สต.ต่อหน่วย
หลายเดือนที่ผ่านมา ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นมากเพราะ
สืบเรื่องจากรัฐบาลที่แล้วได้ทำสัญญาประกันราคาค่าไฟฟ้าล่วงหน้า กับ กฟผ (การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) ทำให้ ประชนชนที่ใช้ไฟต้องรับภาระค่า Ft ซึ่งย่อมาจากย่อมาจาก Fuel adjustment charge (at the given time) ซึ่งเปลี่ยนแปลงขึ้นลงด้วยการเอาต้นทุนเชื้อเพลิงที่ผันแปร มาคำนวน
ค่าFt ความหมายคือ การลอยค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟ้ฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ ย่อๆสั้นๆ คือ ควบคุมต้นทุนการผลิตไฟฟ้าไม่ได้ จาก ปัจจัยอื่นๆเช่น าคาต้นทุนเชื้อเพลิงที่ซื้อมาในช่วงเวลานั้นๆ
ในอดีต มีการนำ อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินที่ขึ้นลง หรือ แม้แต่ค่านโยบายของภาครัฐ
ในช่วงขณะเวลานั้นๆมาคำนวนรวมทุนการผลิตไฟฟ้าด้วย เป็นค่าFt
ต้นทุนของเขื้อเพลิงแพงทำให้ค่า
Ft สูงขึ้น ขึ้นเนื่องจากการทำสงครามกันระหว่างประเทศ
รัฐเซียกับประเทศยูเครน เพราะต้องนำเข้าเชื้อเพลิงจากรัฐเซีย ก็มีผู้สงสัยว่าประเทศไทยผลิตเชื่อเพลิงเองได้ และส่งออกด้วยแล้วทำไมต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เข้ามาผลิตกระแสไฟฟ้า
 
ทำไม การไฟฟ้าไม่ซื้อเชื้อเพลิงจากผู้ผลิตน้ำมันในไทยด้วยกัน ต้นทุนก็จะต่ำลง ไม่ว่าจะด้านการขนส่ง การบริหารจัดการที่ง่ายขึ้นประหยัดขึ้น
เพราะอะไรจึงทำเช่นนนั้น?
ต้นทุนผันแปรอีกอย่างคืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
อัตราแลกเปลี่ยน คือ การ เปรียบเทียบค่าเงินบาทให้มีมูลค่าเท่ากับเงิน1 เหรียญสหรัฐ( US D)ซึ่งจะมีส่วนต่างการแลกเปลี่ยนด้วยโดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน
ซึ่งการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศส่วนมากจะซื้อขายกันเป็นเงินดอลล่าสหรัฐ (US D)จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินบาทไปเป็นเงินUS D ชึ่งเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก แต่ก็มีอีกสกุลคือยูโรใช้ในกลุ่มประเทศยุโรป
มีบางช่วง ที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า หรือแข็งค่าด้วยปัจจัยบางอย่าง
ถ้าเงินบาทอ่อนค่า ก็ประมาณ 35-36 บาท/1เหรียญ สหรัฐ(US D) แข็งค่าก็ 31-33บาท/1 US D ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลาเป็นเรื่องที่ต้องอธิบายเชิงลึก
ช่วงปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงถึง37..บาท./1US D(เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ16ปีเมื่อ22 กย.2565)นั่นหมายความว่าไทยต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเชื้อเพลิงแพงกว่าเดิมมากๆทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าแพง ค่าFt ก็สูง ตามไปด้วยเราก็ต้องจ่ายค่าไฟแพง ยิ่งใช้หน่วยไฟฟ้ามากค่าFt ก็ยิ่งสูงตาม โรงงานที่ผลิตสินค้าก็เสียค่าไฟฟ้าแพงกว่าการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
ในทางกลับกัน ถ้าเราขายสินค้าไปต่างประเทศ หรือส่งออก เราก็จะได้เงินกลับมามากกว่าเดิม แต่ก็อยู่ที่การตกลงซึ่งมีสัญญาการซื้อขายกันล่วงหน้าหรือไม่
ถ้าเงินบาทแข็งค่า การแลกเปลี่ยนเป็นUS Dก็ใช้เงินน้อยลงซื้อของที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ถูกลง ถ้าซื้อเชื่อเพลิงถูกลง ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าก็จะต่ำ ค่าFtจะต่ำลง
 
***ลองคิดต่อดูซิว่า***
ถ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ของไทย
ซื้อเชื้อเพลิงจากผู้ผลิตในประเทศไทย ต้นทุน ที่หายไป คือ
- ค่าขนส่งที่ลดลง
- ไม่ต้องมีส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
-ไม่ต้องมีค่าภาษี นำเข้า ส่งออก ภาษีต่างๆที่ผู้ผลิตต้องจ่ายก็เข้าประเทศไทยหมด ทีนี่ก็อยู่ที่รัฐบาลจะเอาภาษีนั้นมาทำอะไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่วนนโยบายรัฐบาล ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจจะมีค่าดำเนินการ ไปเป็นต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า เพื่มไปในค่าFt ด้วย หรือไม่
ก็ไม่ทราบ
รัฐบาลที่ผ่านมาเท่านั้นที่จะมีคำตอบให้
โฆษณา