21 พ.ค. 2023 เวลา 06:34 • การศึกษา

5 วิธีสื่อสาร ที่ทำให้คุณดู “น่าเชื่อถือ” มากยิ่งขึ้น

เชื่อไหมวิธีการพูดเป็น “ปัจจัย” ที่สำคัญที่สุดที่จะกำหนดว่าคุณเป็นคนน่าเชื่อถือหรือไม่ บางครั้งมันส่งผลมากกว่าความสามารถเฉพาะทางซะอีก
==================================
เพราะเราเชื่อว่า “ความรู้” คือสิ่งเดียวจะเปลี่ยนชีวิตคุณได้
กดติดตามเพจ The Founder เพื่อให้
"ความรู้ดี ๆ” ปรากฏบนหน้าฟีตของคุณทุกวัน
==================================
ตอนที่ผมทำงานเป็น Junior software engineer ที่บริษัท startup ชื่อดังแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่เกือบจะได้กลายเป็น Unicorn (ถ้าดีลไม่ล่มซะก่อน) ผมได้มีโอกาสทำงานอยู่ในทีมพัฒนาที่เก่งกาจทีมหนึ่ง ในทีมประกอบด้วยผมซึ่งเป็น Junior, พี่ Senior และ Team Lead. เรียกได้ว่าตอนนั้นผมมีต่ำแหน่งต่ำที่สุดนั้นเอง ในช่วงแรกของการทำงานผมใช้เวลาพัฒนาแต่ความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์จนแทบไม่ได้พูดคุยกับใคร
ถึงแม้ผมจะเก่งขนาดไหนแต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีใคร “นับถือ” ความสามารถของผมสักเท่าไหร่ จนกระทั่งผมเปลี่ยนวิธี ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพัฒนาการสื่อสารแทน ทุกครั้งที่มีการประชุมผมจะต้องนำเสนอความคิดเห็นตัวเองเสมอ เรียกได้ว่าไม่มีครั้งไหนที่ผมนั่งเงียบเลยแม้แต่ครั้งเดียว หลังจากนั้นผู้คนก็ นับถือผมมากขึ้น ที่เป็นแบบนี้นั่นเพราะความเก่งเฉพาะทางเป็นสิ่งที่อยู่ภายในและยากที่จะถูกมองเห็น
โดยเฉพาะในกรณีของผมซึ่งเป็นซอฟแวร์ ผู้คนจะรู้ว่าเราเก่งหรือไม่ ก็ต่อเมื่อได้มาทดสอบซอฟแวร์ ในทางตรงกันข้ามการสื่อสารเป็นสิ่งที่ทุกคนมองเห็นและสัมผัสได้ทันที วันนี้ผมเลยขอสรุปเทคนิคมา 5 ข้อแบบย่อยง่ายๆ
1. พูดให้ช้าลงกว่า ธรรมชาติของตัวเอง และเน้นคำสำคัญ
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพูดเร็ว อาจจะด้วยธรรมชาติส่วนตัว หรือเพราะกลัวว่าจะถูกคนอื่นแทรก หรือ แม้แต่คิดว่าเนื้อหาที่ตัวเองกำลังพูดไม่ได้มีความสำคัญกับผู้ฟัง สิ่งนี้ทำให้เนื้อหาสาระของสารส่งไปไม่ถึงยังผู้อ่าน แถมผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกว่าเราพูดไม่รู้เรื่อง
อีกเทคนิคหนึ่งคือการเน้นคำสำคัญ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพูดยาวโดยไม่เน้นคำพูด จะทำให้ผู้ฟังจับไม่ได้ว่าส่วนไหนสำคัญ ส่วนไหนไม่สำคัญ จนไม่สามารถเข้าใจภาพรวมได้
2. อย่าปล่อยให้คนอื่น “พูดแทรก” เด็ดขาด
เคยไหมกำลังร่ายเนื้อหาสำคัญอยู่แต่มีคนแทรกขึ้นมากระทันหั่น จนทำให้เรื่องราวไม่ปะติดปะต่อ “อย่าปล่อยให้เขาพูดแทรกเด็ดขาด” นอกเสียจากว่าเขาคนนั้นยกมือขออนุญาต หรือเป็นคนที่มีต่ำแหน่งสูงมากๆ อย่างผู้บริหาร
เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการพูดประมาณว่า “ขอเวลาให้ผมพูดจบก่อนแปปนึงนะครับ ไม่งั้นเรื่องราวจะไม่ต่อเนื่อง” หรือพูดสั้นๆ เลยว่า “ขอให้ผมพูดจบก่อนนะ” ช่วงแรกเราอาจรู้สึกประหม่า แต่เมื่อทำไปบ่อยๆ ผู้คนจะไม่พูดแทรกอีก แถมยังนับถือเรามากขึ้นอีกด้วย เพราะการที่เราปล่อยให้คนอื่นพูดแทรกโดยไม่มีการตอบโต้ จะทำให้เราดู “ตัวเล็กลง” ยังไงซะคนที่พูดแทรกก็เป็นฝ่ายผิดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอย่ากลัวที่จะต่อต้าน
3. อธิบายภาพใหญ่ก่อน
เวลาเราเล่าอะไรให้เริ่มต้นด้วยการเล่าภาพใหญ่ให้จบก่อน เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพตรงกัน จากนั้นค่อยเข้ารายละเอียด เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเล่าภาพใหญ่ไม่ชัดหรือไม่ได้เล่าภาพใหญ่ ต่อให้จะเล่ารายละเอียดดีแค่ไหน คนจะไม่เห็นภาพและปะติดปะต่อไม่ถูก
4. อย่าพูด “ประโยคบอกเล่า” ให้ดูเหมือนเป็น “คำถาม”
ผมเห็นหลายคนมากที่พูดหรือเล่าเรื่องซะดิบดี แต่จบด้วยคำว่า “ใช่ไหมนะ” “หรือไม่นะ” “คิดว่านะ” “มั้งครับ” “น่าจะ” คำแบบนี้มันทำให้ดูเหมือน แม้แต่คุณเองก็ไม่เชื่อสิ่งที่ตัวเองพูดจึงต้องถาม แล้วจะให้ผมไปเชื่อด้วยได้ยังไง ? เพราะฉะนั้นเวลาพูดอะไรให้พูดแบบเชื่อมั่นไปเลย เช่น “ผมเชื่อว่าถ้าเราทำ....เราจะได้....” อย่าไปพูดแบบ “ถ้าเราทำ....มันน่าจะเป็นแบบ......ใช่ไหมนะ
แล้วผมจะไปรู้ไหมว่าเป็นแบบไหน ?
5. พูดแบบ “มีโครงสร้าง”
เวลาเราพูดหรืออธิบายเรื่องใดก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องที่ยาว ให้วางโครงสร้างการพูดที่ชัดเจน มันจะทำให้ผู้อ่านตามเรื่องได้ง่าย
วิธีง่ายที่สุดคือให้พูดเป็นข้อๆ ไปเลย ว่า “ข้อที่1......., ข้อที่2......, ข้อที่ 3.......” “ข้อที่ 1 สัมพันธ์กับข้อที่ 2” เป็นต้น
อย่างที่บอกไปครับ การสื่อสารเป็นสิ่งที่คนฟัง ฟังแล้วสัมผัสได้ทันทีว่า เรามีของดี หรือ เป็นแค่คนธรรมดาทั่วไป ดังนั้นการให้เวลาฝึกฝนการสื่อสารเป็นสิ่งที่ยังไงก็คุ้มค่าแน่นอน
==================================
อย่าลืมกดติดตามเพจ "The Founder" นะ
==================================
#thefounder
ขอบคุณรูปภาพสวยๆ Image by jcomp on Freepik
==================================
📌ช่องทางการติดตามเพจ “The Founder”
==================================
#thefounder #ธุรกิจ #พัฒนาตนเอง
โฆษณา