21 พ.ค. 2023 เวลา 08:17 • ไลฟ์สไตล์

#ธรรมะแปรรูป ในรูปของ #ปลูกต้นไม้ #แก้ไขพฤติกรรม

ต้นไม้ที่ปลูกวันนี้ ให้ดอกและผลทันที ไม่มีฉันใด
หากเป็นเช่นนี้จริง เชื่อว่าหลายท่านที่ปฏิบัติธรรม คงไเ้ชื่นชมกับมรรคผลในชาตินนี้ หรือในวันใดวันหนึ่งอันใกล้เป็นแน่ มิได้รอเนิ่นนาน แต่การปฏิบัติธรรมก็มิได้ทอดทิ้งกลับเหมือนน้ำซึมบ่อทราย เพราะผลที่ได้รับนั่น ซึมลึก และชุ่มฉ่ำ แม้ว่าจะไม่ให้เห็นผลในทันทีในขั้นสูงสุดเลยก็ตาม หากแต่ว่า ในขั้นต้น ๆ นั้น ก็สุขเต็มที นี้กระมังคือเสน่ห์อีกแบบของการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามแนวปฏิบัติสติปัฏฐาน 4
หากแต่ผลไม้ที่ออกนั้นยังไม่สุกงอมดีก็ยังได้ลิ้มพอลิ้มรสให้ชื่นใจในบางครา หากเราผู้ปฏิบัติไม่หลงลืม ไม่ล้มเลิกกลางคันเสียก่อน ย่อมมีโอกาสที่จะได้ลิ้มรสในผลพวงของผลแห่งการปฏิบัติมรรคาของตนเองอย่างแน่นอน ดั่งเช่นพืชพันธ์ุทั้งหลาย ที่ยังต้องการเวลาในการออกดอกผลเช่นกัน
ดังนั้น หน้าที่ของเรามีแค่สะสมการกระทำที่ดี อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในอนาคต จึงส่งผลที่ดีตามมา นั้นคือ "วิบาก" ที่หลายคนชอบเรียกมันรวม ๆ ว่า กรรม ที่เราต้องชดใช้ หรือได้รับจากสิ่งที่เราได้ทำลงไปแล้ว นั่นเอง 😬
แต่ในทางพุทธศาสนาจริง ๆ แล้ว กรรม ที่เราเข้าใจนั้น หมายถึงแค่การกระทำเฉยๆ แค่นั้นซึ่งในแต่ละครั้งๆ ของการทำนั้น ๆ ไม่ได้รวมถึงว่าเป็นการกระทำที่ดีหรือไม่ดี แต่เมื่อมีเจตนาที่ดี คือ เป็นกุศล ประกอบกรรม (การกระทำ) นั้น กรรมนั้นย่อมเป็นการกระทำที่เป็นกรรมดี การกระทำที่ดีย่อมดี หากการกระทำที่ประกอบกับเจตนาไม่ดี การกระทำนั้นย่อมไม่ดี ก็เป็นไปในทางที่ตรงกันข้าม
ดังนั้น ตัวชี้วัดของการกระทำที่แท้จริงจึงอยู่ที่เจตนารมณ์ของผู้กระทำกรรมมากกว่า ตัวกรรม หรือการกระทำจริง ๆ ดังเช่น เปรียบเสมือนการหว่านเม็ลดพืชเช่นใด เขาย่อมได้ผลเป็นพืชผลที่เขาหว่านเช่นนั้น ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จากกรรม หรือการกระทำตัวนี้ จากที่เรากระทำลงไป เราเท่านั้นที่ต้องรับผลแห่งการกระทำนั้น จึงไม่ต่างจากพืชผลที่เราได้หว่านลงไปในดินเลย..
หากอยากรู้ว่า การทำของเรานั้นดีมากดีน้อยประการใด เราก็สามารถวัดได้ดูได้จาก "ผลลัพธ์" ของแต่ละการกระทำนั้น ๆ ได้เช่นกัน เอาแบบง่าย ๆ มากที่สุด คือด้วยการตัด โดยไม่นับรวมเอาปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ออก เอาเฉพาะแต่สิ่งที่เราควบคุมได้เท่านั้น คือ เจตนาที่ดี(กุศล) หรือไม่ดี (อกุศล) ของเราต่อการกระทำหนึ่ง ๆ ต่อหนึ่งการกระทำ แล้วเปรียบเทียบกับ..
ผลลัพธ์ต่อการกระทำหนึ่ง ๆ ที่เราต้องการวัดผล แค่นี้ก็พอจะเดาได้คร่าว ๆ ไม่ยากมากเท่าไร ในการเปรียบเทียบว่าผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาเป็นเช่นไรดีหรือไม่ เราพอใจกับการกระทำของเรามากน้อยแค่ไหน
หากต้องการจะปรับปรุงพฤติกรรมของเราด้สนใด ก็สามารถปรับปรุงได้จากตรงนี้.. แล้วย้อนทบทวนไป เราก็จะดูได้ไม่ยาก และเราก็สามารถแยกออกได้ด้วยว่า
  • 1.
    ปัจจัยอะไรที่เราควบได้
  • 2.
    ปัจจัยแะไรที่เราควบคุมไม่ได้
การแก้ไขพฤติกรรม ทั้งจากภายนอกสู่ภายใน หรือ จากภายในสู่ภายนอก สามารถทำได้ และแก้ได้จากตรงนี้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับตัวของผู้ที่ต้องการแก้ไขเอง เพราะเรื่องนี้เป็นปัจจัตตังของแต่ละบุคคล... เพียงแต่เป็นวิธีที่ข้าพเจ้าเคยลองใช้แก้ปัญหาทางพุทธวิถี และพุทธวิธี แล้วได้ผลดี จึงอยากแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะในแต่ละบุคคลและสถานการณ์ที่ตนเองได้เผชิญอยู่ 😬
เช่นเดียวกับ การดูแลหว่านพืชหวังผลเช่นไร เราก็ดูแลเช่นนั้น การประเมินผลก็ดูจากผลลัพธ์ได้เช่นกัน และผลที่ได้ ก็ย่อมได้ตามพืชพันธุ์ที่หว่านลงไป..เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ปลูกมะม่วงย่อมได้ลูกมะม่วง ปลูกมะขามย่อมได้ฝักมะขาม ปลูกกล้วยย่อมได้เครือกล้วย เป็นต้น ไม่มีการได้พืชผลข้ามสายพันธุ์แน่นอน
การปลูกต้นไม้ยังต้องใช้เวลา การกระทำของเราบางอย่างก็เช่นกัน ความสำเร็จบางเรื่องทำเดือนหนึ่ง ประสบความสำเร็จ บางเรื่องต้องต้องใช้เวลาเป็นปี หรือหลายปี
อย่าลืมว่า คำว่า "สูงอายุ" ก็ใช่ว่าจะได้มาแค่ 20 ปีนะ คือ ต้องเอาให้มีชีวิตรอดถึง 60 ปี ก่อน
คำถามคือ เอาชีวิตรอดงัยให้ได้ก่อน จึงมีโอกาสได้ใช้คำว่า "ท่านผู้สูงอายุ" 😂🤣
การปลูกต้อนไม้ก็เช่นกัน คงไม่มีใครปลูกต้นมะมะม่วง มะขาม มะละกอ กล้วย ส้ม เดือนหนึ่งได้กินลูกผลเลยมั้งนะ มะละกอ บ้านข้าพเจ้า ปีหนึ่งยังไม่ออกลูกเลย จะโคนทิ้งละ คือถ้าปัจจัยไม่พร้อม ลูกดอกผลก็ยากจะออก ให้ชื่นชม กฎของธรรมชาตินี่ยากแท้ คือยากจะเข้าใจด้วย บางทีก็ทำทุกอย่างนะ ดูแลอย่างดีแต่ไม่ออกดอกผลซะงั้น ก็มีนะบางที ก็ได้แต่พูดเอาว่า "เอาที่สบายใจ" ( ใครเคยใช้ประโยคนี้ในชีวิตบ้าง😅) ...
ฉันใดก็ฉันนั้น การทำงานของ กฎแห่งกรรม ก็เช่นกัน บุญบาปท่านก็แยกกันทำงาน ลองคิดเล่น ๆ นะ ถ้าท่านก้าวก่ายกัน ชีวิตเราท่านจะวุ่นวายแค่ไหนกัน แค่นี้ ขนาดท่านแยกกันทำงาน เราท่านก็เวียนหัวกันจะแย่ละ วันนี้ดิ่งเชียว พรุ่งถูกหวย 10 ล้าน โอ้ว ... บุญคะ มากันแบบไม่ทันตั้งตัว วันนี้ 10 ล้านหมดแล้ว .. บุญจะมาอีกเมื่อไร..
ดังนั้น จงเชื่อได้เสมอว่า กฎแห่งกรรมนั้น "ยุติธรรมเสมอ"
หากเราแทนค่า มะม่วง มะขาม กล้วย ที่เราปลูกนี้ คือ บุญกุศล หรือบาปอกุศล ที่เราสั่งสม หรือบารมีที่เราทำละ จะเป็นเช่นไร เอาแบบคิดง่าย ๆ ไม่ต้องตั้งสมการเชิงซ้อนเชิงเดียว คิดยาก แค่กฎง่าย ๆ คือ กฎของการสะท้อนกลับ แบบแรงมาแรงไป หรือที่เราท่านรู้จักดีคือ "กฎแห่งกรรม"
กฎแห่งกรรมนี้ เอาแบบง่าย ๆ ไม่ต่องคิดเยอะก้คือ กฎของการสะท้อนกลับของการกระทำ เหมือนลูกบอลที่ขว้างออกไปกระทบผนังแรง ก็สะท้อนกลับมาหาตัวเองแรงแค่นั้น .. จริงหรือไม่
ยกตัวอย่าง เราด่าเขา วันนี้เขาไม่ด้าเรา วันหน้าเราก็ต้องโดนเขาด่ากลับ หรือ เคยงงไหม อยู่เฉย ๆ ก็โดนด้าแบบหาสาเหตุไม่ได้ นอกจากคำด้วยที่อธิบายได้คือ "ซวย"
ด้วยเหตุนี้ กฎแห่งกรรมจึง "ยุติธรรม" เสมอ (ในสายตาของข้าพเจ้า 😅) และกฎนี้ก็ยังคงทำงานเรื่อยไปไม่กยุด เหมือนกงล้อหมุนไปเรื่อยเหมือนล้อเกวียนล้อโค (เอาสิ) จนกว่าจะสนองจึงหมดหน้าที่ เรียกว่า ยุติกันไปข้างหนึ่ง จึงเกิดเป็น ธรรม ขึ้น คือ เป็น ธรรมดา นั่นเอง คือ "ก็คงเคยไปทำกับเขาไว้"เชื่อว่าหลายคนคง เคยได้ยินประโยคนี้ใช่ไหม.. 😥
ที่ว่ายุติเสมอ และเป็นธรรมเสมอ คือ
  • 1.
    ทำอย่างไรได้อย่างนั้น อยู่ที่ว่า จะได้ มะม่วงก่อนหรือมะขามก่อนหรือจะได้กล้วยก่อนแค่นั้น (อยู่ที่การแทนค่า อย่างที่เขียนข้างต้น) อยู่ที่ว่า มะม่วง กล้วย หรือมะขาม พืชใดน้ำหนักในบุญหรือบาปมากน้อยกว่ากัน (ซึ่งเรื่องนี้ก็ยากแก่การรู้ได้เช่นกัน เขาชั่งกันเอาเองตามกรรม12 ตามคัมภีร์ทางพุทธฯ)
  • 2.
    ด้วยเหตุจากข้อ 1จึงเป็นธรรมเสมอคือ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ชาติ ภพใด คือ มะม่วง มะขาม กล้วย พวกท่าน ๆ เหล่านี้ หาเรา ๆ เจอตลอด และส่งผลให้เราแน่นอนรับผล ตามนั้นเป็นคนหว่านเองนิ เรียกง่าย ๆ คือ เราปลูก😅
จากที่กล่าวมาก็พอบอกได้ว่า เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนี้" เพราอะไรมนุษย์จึงแตกต่างกัน"ในแต่ละบริบท ต่างกันต่างทุกข์ใจในเรื่องของตนเองที่ต่างกัน จึงยากจะบอกยากจะชั่ง ยากเปรียบ ใครหนักว่าใคร..
ด้วยเหตุนี้ ทุกข์เขาเราจึงไม่รู้ แต่ละคนจึงแบกทุกข์ใจต่างกัน ความเป็นอยู่จึงต่างกัน ต้นไม้แต่ละต้นที่ต้นเคยปลูกไว้แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละคนก็จดจำกันไม่ได้ แม้แต่ตัวข้าพเจ้าเองก็ตาม
แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การรับผลจากการกระทำนั้น ๆ เหมือนกัน ไม่น้อยหน้ากันนี่คือ ความยุติธรรมของ กฎแห่งการกระทำ ... กฎแห่งการสะท้อน..
กี่ศตวรรษที่ผ่าน "กรรมใดใครก่อกรรมนั้นย่อมคืนสนอง" ... ประโยคนี้ยังคงจริงแท้ไม่แปรผัน
วันนี้ข้าพเจ้าเองก็เรียกว่ายังต้องรับผลขอการทำงานของ "กฎแห่งการกระทำ" นี้อยู่
หวังว่าต่อจากนี้ในทุก ๆ การกระทำของข้าพเจ้าจะมีสติมากขึ้น และในทุกการกระทำของข้าพเจ้าที่ได้กระทำไปแล้วก็ดี หรือที่กำลังจะกระทำในอนาคตก็ดี จะมีผลต่อคนรอบข้างให้น้อยที่สุดตามสติกำลังที่ข้าพเจ้ามี
เพราะต่อจากนี้เราจะได้ร่วมกันปลูกแต่ต้นบุญบารมีกุศลผลบุญทำบุญร่วมต้น มีแต่สุขสวัสดี หมดทุกข์หมดโศกกันเทอญ
🙏🙏🙏
ต้นไม้ที่ปลูกวันนี้ ให้ดอกและผลทันที ไม่มีฉันใด
กรรมเหมือนพืชพันธ์ทั้งหลาย ต้องการเวลาในการออกดอกและผลนั้น
เมื่อกรรมนั้นออกดอกและผลแล้ว กรรมนั้นย่อมให้ผลเผ็ดร้อนยิ่งนัก เหมือนข้าวที่ปลูกโดยเมล็ดเดียว แต่ออกผลเป็นข้าวทั้งรวง
บุคคลผู้ยังมีกุศลห่อหุ้มอยู่ เปรียบด้วยคนที่เดินบนถ่านแดงแต่มีขี้เถ้ากลบอยู่ ยามใดเมื่อกุศลกรรมของเขาหมดสิ้นแล้ว ก็เปรียบด้วยการ
เดินเท้าเปล่า บนถ่านแดงอันมีไฟลุกอยู่ ย่อมยังความทุกข์ทรมานให้กับผู้เสวยกรรมนั้น
กรรมนี้เปรียบเหมือนเก้าอี้ดนตรี เมื่อกรรมดียังให้ผลดีอยู่ กรรมชั่วก็ไม่อาจนั่งได้ แต่เมื่อกรรมชั่วนั่งแล้ว แม้จะพากเพียรทำกรรมดีสักเท่าไร กรรมดีก็ยังไม่ให้ผลได้ทันที
ก็ด้วยปุถุชนทั้งหลาย เห็นเพียงในภพชาติปัจจุบัน เห็นคนที่ทำชั่วยังไม่ได้รับผล ก็คิดไปเองว่า "กรรมนั้นไม่มีผล"
เจริญในธรรม
#เห็นทุกข์เห็นธรรม
#ธรรมะแปรรูป ในรูปของ #ปลูกต้นไม้ #แก้ไขพฤติกรรม
โฆษณา