Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
24 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • สุขภาพ
ทำไมเวลากินอะไรเข้าไปก็ต้องวิ่งไปเข้าห้องน้ำทันที
ถ้าย้อนกลับไปถึงชีวิตสมัยมัธยม ในกลุ่มเพื่อนกลุ่มต่างๆ มันจะต้องมีคนนึงของกลุ่มที่ไม่ว่าใครจะทำอะไร มันก็จะต้องวิ่งไปเข้าห้องน้ำก่อนเสมอ ทำนองเอาฤกษ์เอาชัยอะไรประมาณนั้น แต่ที่ประหลาดก็คือ บ่อยครั้งเวลาทานข้าว ไอ้เพื่อนคนนี้(หรือบางทีก็เป็นเราเองนี่แหละ) ก็จะต้องวิ่งไปเข้าห้องน้ำ แล้วไม่ใช่ครั้งหรือสองครั้ง แต่เป็นแทบทุกครั้ง
เกิดอะไรขึ้นกับหูรูดคนประเภทนี้ ไส้มันต่อตรงตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามแนวลำตัวเลยหรือไง วันนี้ผมมีคำตอบมาให้ครับ
1
เมื่ออาหารที่เรากินอาหารลงไป อาหารนั้นจะไหลจากหลอดอาหาร ผ่านหูดรูดระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะลงไปสู่กระเพาะอาหาร และเมื่ออาหารไปถึงส่วนบนของกระเพาะ(Fundus)นี่เอง อาหารก็จะไปสัมผัสกับส่วนที่เป็นตัวส่งสัญญาณประสาท เรียกว่า Pacemaker region ทำให้เกิดกระแสประสาทผ่าน afferent pathway ผ่านทาง vagus nerve ไปยัง Medulla ที่ CNS
จากนั้นระบบประสาทส่วนกลาง(CNS) จึงส่งสัญญาณประสาทผ่านมายัง distal transverse colon, descending colon และ sigmoid colon ทำให้เกิด"การบีบตัวไล่อย่างรุนแรงจากต้นไปสู่ส่วนปลาย" หรือที่เรียกว่า "mass movement" นั่นเอง
นอกจากการส่งกระแสประสาทแล้ว การที่อาหารไปสัมผัส Pacemaker region ทำให้กระเพาะหลั่ง neuropeptide ไปกระตุ้นลำไส้ส่วนปลายด้วยอีกทางหนึ่ง
ภาพแสดงกลไกการส่งกระแสประสาทของระบบย่อยอาหาร
ทั้งนี้ปัจจัยที่กำหนดการตอบสนองของกระบวนการทั้งหมดดังกล่าวขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น มวลอาหารที่กิน เวลาในการทานอาหาร การป้องกันไม่ให้เกิดกรณีไส้ตรงที่ทำได้ง่ายที่สุด คือการหันมาทานอาหารที่ร่างกายต้องใช้เวลาย่อยมากขึ้น เช่น อาหารที่มีกากใยอย่างผักต่างๆ และเพิ่มการออกกำลังกาย ให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ใช้ชีวิตแบบแหก time-zone มากจนเกินไป เท่านี้ก็จะทำให้กลไกการส่งกระแสประสาทเป็นไปโดยปรกติ และไม่เป็นพวกไส้ตรงได้แน่นอน
อ้างอิง
1. Callaghan, B., Furness, J.B. & Pustovit, R.V. Neural pathways for colorectal control, relevance to spinal cord injury and treatment: a narrative review. Spinal Cord 56, 199–205 (2018).
https://doi.org/10.1038/s41393-017-0026-2
2. Boron, W. F., & Boulpaep, E. L. (2017). Medical physiology. Philadelphia, PA : Elsevier
3. Malone JC, Thavamani A. Physiology, Gastrocolic Reflex. [Updated 2021 May 9]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2021 Jan-. Available from:
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK549888/
การแพทย์
อาหาร
ขับถ่าย
1 บันทึก
5
2
7
1
5
2
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย