22 พ.ค. 2023 เวลา 09:25

“เอกมน” และ “อินเตลิเกนเซีย: ปรัชญาของ มาร์กซิสนิยมแนวใหม่แบบอันโตนิโย กรัมชี่

เมื่อสองสามวันก่อนมีคนพูดถึงกรัมชี่และจาระไนถึงการเมืองไทยยุคนี้ว่าช่างคล้ายคลึงกันกับที่อิตาลีสมัยเบนิโต มุสโสลินี ขึ้นครองอำนาจช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง…
มาที่ภาษาศัพทสำเนียงเสียงเสนาะก่อน คำว่า “เอกมน” มาจากภาษากรีกแปลกันตรงๆคือบุรุษผู้เอกอุ หรือเอเกมอน (ภาษาอังกฤษ hegemon, หรือภาษา กรีก เอเกมอน egemon, หรือ ภาษาอังกฤษออกเสียง เฮชจิม่อน ) แปลอีกอย่างได้ว่าเหนือมนุษย์ และคำนาม“เฮชจิโมนี” หรือ egemonia เป็นนามธรรม แปลว่าระบบที่อยู่เหนือระบบทั้งหลาย ส่วน” มน” ในที่นี้คือแมน ( Man) หรือมนู หรือมนุษย์
ผู้ให้คำจำกัดความครั้งแรกที่ใช้คำนี้ “เอกมนทางวัฒนธรรม “ คืออันโตนิโย กรัมชี่ ผู้นำมาร์กซิสต์ชาวอิตาเลียน ผู้ถูกพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ของมุสโสลินีจับติดคุกหลายปี ( ค.ศ. 1926-1937) จนตายในคุกด้วยอายุเพียง 46 ปี
กรัมชี่มองว่าตามลัทธิมาร์กซ์การปลุกระดมชนชั้นกรรมกรโดยที่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานไม่มีพื้นฐานตรรกะหรือปรัชญาความเข้าใจโดยถ่องแท้ ว่าการต่อสู้ทางชนชั้นในอิตาลีนั้นไม่เหมือนกับประเทศอื่น
เบนิโต มุสโสลินี อดีตผู้นำอิตาลีที่นอสตราดามุสได้ทำนายไว้ว่าจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ชื่อเสียงก้องโลกผู้หนึ่งรวมทั้งทำนายการถูกสังหารอย่างทารุณ ก่อนหน้าฮิตเลอร์ตายไม่กี่วัน มุสโสลินีถูกยิงเป้าใกล้พรมแดนสวิสแล้วขนศพไปมิลาน ศพถูกเทกองที่จตุรัส แล้วถูกชักขึ้นตะแลงแกง แขวนเอาศีรษะลงดิน ถูกยิงซ้ำ ถูกลากไปตามถนน ถูกถ่มน้ำลายรด ก่นด่า สาปแช่งและถูกรุมประชาทัณฑ์จนหน้าตาเละยับเยิน ลูกตาหลุดออกจากเบ้าไม่มีใครจำได้
เพราะมุสโสลินีได้อาศัยหลักลัทธิคอมมิวนิสต์ แอบจัดตั้งปรัชญาเผด็จการรัฐฟาสซิสต์โดยร่วมมือกับชนชั้นปกครองเดิมที่มีรากเหง้ามาจากการสนับสนุนกันระหว่างทุนนิยมแนวผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจร่วมกับผู้ให้การสนับสนุนทางการเมืองต่อบุคคลชนชั้นปกครองโดยยังใช้ ผู้นำทางความคิดกำหนดปรัชญาทางการเมืองเดิมๆแบบล้าสมัย
และใช้การโฆษณาชวนเชื่อหรือในกรณีสมัยนี้คือ IO ชักจูงให้เกิดความคล้อยตาม และลุ่มหลงต่อความเชื่อในกระบวนการล้างสมองคนอิตาเลียนสมัยนั้นให้เชื่อในลัทธิชาตินิยมแบบเผด็จการ
ในกรณีของมุสโสลินี ( ค.ศ. 1922-1943 ) ผู้นำทางปรัชญา IO คือ นักปรัชญาซ้ายสุดโต่งนามกร จิโอวานนี่ เจนติเล่ รัฐมนตรีศึกษาและโฆษณาการของมุสโสลินี เขาเป็นผู้กำหนดกระบวนการล้างสมองคนรุ่นใหม่ของอิตาลี…
จิโอวานนี่ เจนตีเล่ มือทองสมองเพชร กุนซือปรัชญาฟาสซิสต์ ตัวจริงเสียงจริงของมุสโสลินีคุมการปฏิบัติการล้างสมองในโรงเรียนและเล่นงานนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักหนังสือพิมพ์
กระทรวงศึกษาและมหาวิทยาลัยและโรงเรียนจึงเป็นแดนเป้าหมายทางวัฒนธรรมที่อำนาจรัฐต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด…
แต่การได้นักปรัชญาทางการเมืองหรืออาจารย์มาต่อยอดทำให้ชนชั้นกรรมาชีพผู้ใช้แรงงานรวมตัวกันได้กับนักเรียนเด็กๆ และครูอาจารย์ตลอดจนนิสิตนักศึกษาถูกปลุกให้ลุกฮือขึ้นต่อสู้กับชนชั้นปกครอง
อาจารย์ที่มาเติมเต็มหลักปรัชญาทางการเมืองเพื่ช่วยชนชั้นกรรมาชนให้เข้าใจต่อหลักปรัชญาของลัทธิมาร์กซิสต์และคอมมิวนิสต์นี้ กรัมชี่ขนานนามว่า “อินเตลิเกนเซีย” ( Intellighenzia)
หลุยส์ อัลธูแซร์นักปรัชญามาร์กซิสต์สัญชาติฝรั่งเศส-อัลจีเรีย รับไม้ต่อจากกรัมชี่และคิดทฤษฎีปรัชญาว่าด้วยการเมืองชนชั้นปกครองเหล่านี้ว่าสมคบกันกับทุนนิยมกดขี่ชนชั้นผู้ใช้แรงงาน
หลุยส์ อัลธูแซร์ ( ค.ศ. 1918-1990 )มาร์กซิสต์นิยมสมัยใหม่ผู้คิดทฤษฎีแห่งปรัชญาการเมืองมาร์กซิสต์ของกรัมชี่แนวอินเตเลเกนเซีย
เป็นการสร้างความหวังความเชื่อหรืออุปทานหมู่หรือทัศนคติหมู่เข้าต่อต้านรัฐบาลโดยเต็มใจจากทุกฝ่ายทั้งมวลชนชนชั้นและเด็กนิสิตนักศึกษาหนุ่มสาว และเหล่าครูบาอาจารย์ในอาณาเขตแห่งความรอบรู้ หรือ อินเตลิเกนเซีย
ยิ่งถ้าปรากฎว่าความอยุติธรรมมาจากการถูกกดขี่โดยรัฐหรือบีบบังคับหรือถูกลงโทษอย่างรุนแรงหรือเกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจมาเป็นเวลานานโดยรัฐไม่มีการแก้ไขอย่างเห็นปรากฎชัด…
….ก็ยิ่งเข้าทางทฤษฎี “อินเตลิเกนเซีย” ของกรัมชี่…
โดยมิพักจะต้องสาธยายให้มากความ กรัมชี่เรียกผู้ปกครองทัศนคติร่วมในการกดขี่ชนชั้นที่ต่ำกว่านี้ว่า “เอกมน” หรือ “เอกมนทางวัฒนธรรม” หรือ “Cultural Hegemon”
“เอกมน”ทางวัฒนธรรมแนว อินเตลิเกนเซียของกรัมชี่ในโรมและหลุยส์ อัลธูแซร์ ในปารีส จึงเกิดขึ้น และกรัมชี่ ซึ่งเป็นนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ได้สงวนคำคำนี้ไว้ในขณะนั้นเฉพาะชนชั้นปกครองหรือพรรคฟาสซิสต์ชาตินิยมของมุสโสลินีซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจในอิตาลีมาเป็นเวลานานปี…
แต่ก็อาจใช้กับผู้นำการเมืองคนไหนก็ได้แม้กระทั่งที่มีพฤติกรรมดังว่า…
กรัมชี่เรียกปรัชญานี้ว่า “Organic Ideology “ หรือปรัชญาชีวภาพที่ก่อตัวขึ้นตามกาลได้ตลอดเวลาถ้าสถานการณ์สุกงอม
การที่มุสโลลินีใช้อิทธิพลการโฆษณาชวนเชื่อทางวัฒนธรรมแนวฟาสซิสต์โดยวมคบกับทุนนิยมต่อชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ได้ปลุกกระแสตีกลับจากกรัมชี่ให้มีการลุกฮือของกลุ่มปัญญาชนอายุน้อยในการรวมตัวเพื่อสร้างกระบวนการปลุกระดมมวลชนเด็กนักศึกษาและนักเรียน โดยมี”อินเตลิเกนเซีย ( Intellighenzia ) เหล่าครูบาอาจารย์” หรือปัญญาชนเป็นผู้สนับสนุน
และ “อินเตลิเกนเซีย”หรือเหล่าปัญญาชนเหล่านี้ได้เสี้ยมสอนนักเรียนนิสิตนักศึกษาให้รวมตัวต่อต้าน”เอกมน” ของฝ่ายรัฐบาลอิตาลีผู้ใช้ปรัชญาลัทธิฟาสซิสต์ผสมทุนนิยมและกลไกของรัฐเช่นทหารตำรวจข้าราชการเข้ากเขี่จับกุมและฆ่าฟันประชาชนและผู้ใช้แรงงานที่มิลานและโรม ตั้งแต่ปี 1922…เป็นต้นมาจนสิ้นสุดสงครามโลก
โชคไม่ดีที่กรัมชี่ถูกจับเสียก่อนที่จะเห็นการเคลื่อนไหวเป็นมรรคผลของการสั่งสอนของ”อินเตลิเกนเซีย”ต่อผู้ใช้แรงงานและนิสิตนักศึกษาเพื่อต่อต้านมุสโสลินี และได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นเสียก่อน
ทำให้เกิดจอมเผด็จการฟาสซิสต์นำโดยมุสโสลินีขึ้นสู่อำนาจในยุคเผด็จการชาตินิยมเป็นเวลา 10 ปีก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย…ก่อนที่ฮิตเลอร์จะตั้งพรรคนาซีในเยอรมันนีเสียอีก
ขอขอบคุณ
โฆษณา