22 พ.ค. 2023 เวลา 11:00

“อยู่กันแบบครอบครัว” วัฒนธรรมที่ไม่ควรมีในสังคมการทำงาน

“อยู่กันแบบครอบครัว” มักได้ยินหรือเห็นอยู่บ่อยๆ ดูเหมือนเป็นคำที่ความหมายดี แสดงถึงความเป็นกันเองในองค์กร แต่ลึกๆ แล้วมันอาจปลูกฝังความรู้สึกแบบผิดๆ ของการเป็นเจ้านาย ทำให้พนักงานซึมซับความ Toxic ของคำว่า “ครอบครัว” ได้
แน่นอนว่าเราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานก็มีหลายรูปแบบ คนเหล่านั้นช่วยให้เราโตขึ้นได้ ให้การซัพพอร์ตและมิตรภาพกับเรา ฉะนั้นไม่แปลกเลยที่สังคมแบบนั้นจะเป็นกระจกสะท้อนการใช้ชีวิตของเรา
“สังคมที่อยู่กันแบบครอบครัว” ต้องเคารพกัน เข้าอกเข้าใจ และใส่ใจกัน มีความเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร สิ่งเหล่านี้อาจฟังดูสบายใจและเป็นกันเองในการทำงาน แต่รู้หรือไม่? หากคุณเจอองค์กรแบบนี้ คุณควรวิ่งหนีออกจากสังคมนี้ให้ไว
🟥 “อยู่กันแบบครอบครัว” มีผลเสียอย่างไร
โดยปกติแล้วนายจ้างจะชอบคน Productive และมีความสามารถสูงอยู่แล้ว ฉะนั้นการปลูกฝังวัฒนธรรม “อยู่กันแบบครอบครัว” เข้าไปในช่วงแรกๆ คงไม่เลวร้ายอะไร แต่ถ้าเป็นการทำเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์จากความคาดหวังของค์กรที่มากขึ้น นั่นอาจทำให้พนักงานไม่ค่อยยอมรับกับความสำเร็จที่มาจากการทำงานได้
🟥 1. ไม่มี Work-life balance
คำว่า “ครอบครัว” ในสังคมการทำงานส่วนใหญ่พนักงานจะไม่ค่อยพูดเรื่องส่วนตัวต่อกันเท่าไหร่ แต่พอมีคำว่า “ครอบครัว” บทสนทนาจะสนิทสนมขึ้น มีความเป็นพี่น้องหรือพ่อแม่มากกว่าเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าความสัมพันธ์แบบนี้จะลดช่องว่างระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง แต่ในมุมของพนักงานจะมีความรู้สึกกลัวเกิดขึ้นเวลาที่ต้องตอบคำถามหรือพูดคุยกับหัวหน้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเวลาทำงานแบบ Hybrid
จากผลการศึกษาบอกว่า เพราะหัวหน้า “ไม่เห็น” จริงๆ ว่าพนักงานทำงานจริงหรือไม่ ไม่เชื่อว่ากำลังทำงานอยู่ หรือทำอะไรไปบ้างในวันนั้นๆ และเมื่อถามออกไปก็ดูเป็นการถามเรื่องส่วนตัว ทำให้พนักงานอาจรู้สึกอึดอัด
🟥 2. จงรักภักดีกับองค์กรมากไป ทำให้เป็นปัญหา
เมื่อคนใน “ครอบครัว” ต้องการความช่วยเหลือ คุณจะรีบยื่นมือเข้าไปช่วยทันทีโดยไม่ต้องคิด แต่เมื่ออยู่ในรูปแบบของการทำงาน ความภักดีนั้นกลับถูกเข้าใจผิดเป็นความคาดหวังว่า คุณต้องทำงานให้สำเร็จลุล่วง
จากหลายๆ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนที่จงรักภักดีต่อองค์กรมีแนวโน้มทำผิดจรรยาบรรณเพื่อรักษาตำแหน่งงานของตนเอง รวมทั้งยังถูกกดขี่จากเจ้านายอีกด้วย เช่น การทำงานล่วงเวลาแบบไร้เหตุผล ได้รับโปรเจ็กต์หรืองานที่ไม่ตรงกับหน้าที่ของตนเอง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆอาจเกิดอาการ Burnout และตั้งคำถามว่าเราทำอะไรผิดพลาดไป
🟥 3. ใช้อำนาจกดขี่ทำให้พนักงานถูกเอาเปรียบ
สังคมทำงาน “อยู่กันแบบครอบครัว” หัวหน้าหรือคนที่ตำแหน่งสูงกว่าจะเหมือนพ่อแม่ ส่วนพนักงานทั่วไปจะเหมือนลูก ฉะนั้นจะเหมือนการที่ลูกต้องเดินตามพ่อแม่ ทำให้พนักงานรู้สึกไม่มีอำนาจในการต่อรองใด ๆ ได้แต่ทำตามคำสั่งไปวัน ๆ และเท่ากับว่าหัวหน้าจะไม่เชิญหรือไล่คนใน “ครอบครัว” ออก รวมถึงพนักงานก็จะไม่พัฒนาศักยภาพของตนเอง
จากความสัมพันธ์ชั่วคราวแบบหัวหน้าและลูกน้อง กลายเป็นความสัมพันธ์ลึกซึ้งแบบคนในครอบครัว ทำให้บางครั้งคุณมองข้ามการกระทำที่ผิดของเพื่อนร่วมงานไป
1
🟥 แล้วองค์กรควรมีสังคมแบบไหนดี?
วัฒนธรรมการทำงานที่ดี ควรหลีกเลี่ยง “การอยู่แบบครอบครัว” แต่ควรเน้นไปที่การเสริมสร้างคุณค่าความสามารถของพนักงาน ฉะนั้นสังคมขององค์กรควรจะ
🟥 1. กำหนดประสิทธิภาพการทำงานให้สูงและทำตามวัตถุประสงค์
องค์กรควรชัดเจนกับพนักงานว่า ต้องการอะไรจากพวกเขาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน และควรมีเส้นแบ่งชัดเจนระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ทั้งนี้การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้พนักงานซื่อสัตย์กับองค์กรและมีความผูกพันกับเพื่อนร่วมงานไปเองโดยธรรมชาติ เพราะทุกคนมีความเข้าใจร่วมกัน พายเรือไปในทางเดียวกัน ไม่ใช่การบังคับให้ลงเรือลำเดียวกัน
🟥 2. กำหนดขอบเขตเวลางานให้ชัด
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานเข้าใจสิ่งที่ต้องทำในเวลางานและอะไรบ้างที่อยู่นอกเหนือเวลางาน ควรสนับสนุนความพยายามของพนักงาน ชี้แจงให้ชัดเจนเกี่ยวกับวันหยุด รวมไปถึงวันลาเพื่อให้พวกเขารู้สึกสบายใจและไม่กังวลว่าการลางานเป็นเรื่องผิด
🟥 3. ยอมรับธรรมชาติของความสัมพันธ์ในสังคมการทำงาน
เราต้องยอมรับความจริงว่าความสัมพันธ์ในที่ทำงานก็เหมือนความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ และเราไม่ได้อยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งไปตลอด บางครั้งองค์กรเติบโตกว่าพนักงาน หรือพนักงานมีทักษะที่เหมาะสมกับที่ใหม่มากกว่า การลาออกจึงเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีความสัมพันธ์แบบครอบครัว จะยิ่งไปผูกมัดความสัมพันธ์มากเกินไป อาจทำให้ทั้งองค์กรและพนักงานไม่เติบโต
1
แนวปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้องค์กรไม่ต้อง “อยู่แบบครอบครัว” อีกต่อไป เพราะมีขอบเขตที่ชัดเจนในความสัมพันธ์ของคนในองค์กรเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3omW4y
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน——————————————————

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา