28 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • สุขภาพ

ความเครียดทำอะไรกับร่างกายของเราบ้าง?

ความเครียดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากในยุคปัจจุบัน คนไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มเครียดมากขึ้น และมีช่วงวัยที่ต้องเผชิญความเครียดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องเรียน เรื่องงาน ค่าใช้จ่าย ความรัก และอื่นๆอีกมากมาย
คำถามคือความเครียดมีผลอย่างไรต่อร่างกายของเราบ้าง และเราควรรับมืออย่างไร วันนี้มีคำตอบครับ
กลไกของฮอร์โมนแห่งความเครียด "Cortisol"
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ความเครียดมี 2 แบบ คือความเครียดแบบ Mental stress (ที่เราเป็นๆกันปกติ จากการใช้ขีวิต) และความเครียดแบบ Physical stress ซึ่งเป็นความเครียดแบบที่ร่างกายเผชิญกับภัยคุกคาม ซึ่งหนักกว่า Mental stress มากๆ เช่น การบาดเจ็บรุ่นแรง ภาวะอักเสบ ติดเชื้อ เป็นต้น
แต่ไม่ว่าจะเป็นความเครียดแบบไหน สุดท้ายจะบีบให้ร่างกายหลั่งสารที่เรียกว่า "Cortisol" ซึ่งมีหน้าที่ปรับร่างกายให้เตรียมรับกับความเครียดได้ดีขึ้น โดยที่ "Cortisol" จะทำงานกับ 3 ระบบหลักของร่างกาย คือ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบภูมิคุ้มกัน
โดยในระบบไหลเวียนโลหิต Cortisol จะทำให้หน้าที่เพิ่ม Alpha1-adrenergic receptor(พบมากที่หลอดเลือด) ที่ให้ฮอร์โมนกลุ่ม Catecholamine ทำงานได้ดีขึ้น หลอดเลือดเกิดภาวะหดตัว ทำให้ความดันสูงขึ้น contractility และ heart rate ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ส่วนระบบต่อมไร้ท่อ Cortisol จะไปกระตุ้นให้ตับเพิ่มการผลิต glucose ป้อนเป็นพลังงานให้ร่างกายเพิ่มขึ้น
สุดท้ายระบบภูมิคุ้มกัน Cortisol จะทำหน้าที่ยับยั้ง proinflammatory cytokine ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเหลือมากพอในการจัดการกับความเครียดนั่นเอง
พูดมาถึงตอนนี้ เริ่มเห็นหายนะลางๆแล้วใช่ไหม ว่าถ้าร่างกายของเราต้องเผชิญกับความเครียดบ่อยๆ จนกลายเป็นความเครียดสะสม มันจะเกิดอะไรขึ้น
ร่างกายที่มีการผลิต glucose เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ(ยังไม่นับที่กินเข้าไปเพิ่ม) ทำให้เกิดการสะสมของ glycogen เกิดภาวะอ้วน ประกอบกับการกระตุ้นระบบหัวใจและหลอดเลือดต่อเนื่อง ทำให้ Oxygen demand เพิ่ม after load เพิ่ม นานวันก็จะเพิ่มความเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ
1
สุดท้ายการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเจ็บป่วยมากขึ้น บ่อยขึ้นนั่นเอง
1
การจัดการความเครียดนั่นจริงๆมีหลายหลาก วิธีที่เหมาะกับแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน แต่หลักๆคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ฝึกการผ่อนคลาย การออกกำลังกาย และอีกหลายวิธีที่ช่วยลดความเครียดได้
ทั้งนี้ หากประสบกับภาวะเครียดสะสม จนเริ่มส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อร่วมกันหาวิธีรักษาเยียวยา แก้ไขต่อไป
อ้างอิง
1. Felner, E. I., & Umpierrez, G. E. (2014). Endocrine pathophysiology. Philadelphia : Wolters Kluwer Lippincott Williams & Wilkins Health
2. คู่มือคลายเครียด ความรู้เรื่องความเครียด การป้องกันและแก้ไข ของ สมบัติ ตาปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2 เหรียญบุญการพิมพ์ : กรุงเทพฯ2526
โฆษณา