24 พ.ค. 2023 เวลา 03:49 • การตลาด

รู้จักข้อแตกต่าง KOL กับ KOC จะเลือกใช้อย่างไรดี? ให้เหมาะสมในการใช้โปรโมตแบรนด์

แนวโน้มการทำ Influencer Marketing ในปี 2023 โดยส่วนใหญ่แล้วจะ 'เน้นสร้างยอดขายเป็นหลัก' จากผลการศึกษาของ ByteDance บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง TikTok เปิดเผยว่ามีการรีวิวจากผู้ใช้ตัวจริงเพิ่มมากขึ้นถึง 20% ตัวเลขการรีวิวที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้ ไม่ได้มาจากดารา,เซเลบ,นักแสดง, หรือคนที่มีชื่อเสียง ที่นิยมเรียกกันว่า Key Opinion Leader ( KOL) หรือ Influencers
แต่มาจากผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียตัวจริง หรือพูดง่ายๆ ว่า มาจากคนธรรมดาทั่วไปที่เป็นคนที่ใช้สินค้า หรือบริการนั้นจริงๆ แล้วนำมารีวิวบอกต่อให้กับเพื่อนหรือคนรู้จัก จนมีฐานผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Key Opinion Customer (KOC) นั่นเองค่ะ และในปัจจุบันแบรนด์ส่วนใหญ่หันมาทำการตลาดโดยใช้ KOC รวมถึง Micro และ Nano Influencer กันมากขึ้น โดยเฉพาะการทำ Affiliate Marketing ที่สามารถเน้นปริมาณในการโปรโมตได้เยอะ เพราะใช้งบประมาณต่ำ
แน่นอนว่าวันนี้เราจะพาไปรู้จักความแตกต่างระหว่าง KOL กับ KOC ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ เพื่อจะได้เลือกให้เหมาะสมกับแบรนด์กันค่ะ มาเริ่มกันเลย!
Key Opinion Leader ( KOL) คือ ผู้นำทางความคิด ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น บิวตี้บล็อกเกอร์, บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว เป็นต้น เน้นสำหรับใช้โฆษณา โปรโมต รีวิว ซึ่งบางครั้งการรีวิวอาจจะมีการแฝงโฆษณาด้วย เพราะ KOL บางคนนั้นไม่ได้ใช้งานจริงๆ นอกจากนี้ยังมีการว่าจ้างให้เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์อีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความดึงดูด และน่าสนใจให้กับลูกค้า สามารถเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมากในโลกออนไลน์ ส่วนมากจะมีฐานผู้ติดตามเยอะ ยกตัวอย่างเช่น ดารา เซเลบ นักแสดง หรือ บุคคลที่มีชื่อเสียง
จุดเด่นของ KOL ได้แก่
- เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีงบการตลาดค่อนข้างเยอะ- มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการอย่างดี มีทักษะการจูงใจ ทำให้คนมีส่วนร่วม (Engahement) และตัดสินใจซื้อสินค้า- ควบคุมผลกระทบต่อแบรนด์ได้ง่าย เพราะมีสัญญาข้อตกลง- เน้นสร้างยอดขายเป็นหลัก
แต่ข้อเสียของ KOL ก็มีเช่นกันค่ะ อย่างเช่น เรื่องผลกระทบต่อแบรนด์ อาจจะควบคุมได้ง่ายกว่าก็จริง แต่ถ้า KOL มีข่าวเสียๆ หายๆ หรือมีข่าวด้านลบก็จะส่งผลกระทบต่อแบรนด์ได้เช่นกันค่ะ อีกข้อหนึ่งคือการใช้ KOL ในการโปรโมตส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณ หรือค่าใช้จ่ายที่สูง
มาต่อกันที่ Key Opinion Customer (KOC) กันเลยค่ะKOC มาจากผู้บริโภค หรือเป็นกลุ่มที่มาจากคนใช้งานสินค้า หรือบริการเหล่านั้นจริงๆ แล้วชื่นชอบ จนเกิดการนำไปสู่การบอกต่อ หรือการแนะนำ จนกลายเป็นผู้ที่ได้รับความน่าเชื่อถือ มีฐานผู้ติดตามในระดับหนึ่ง
โดยรายงานจาก CIW เมื่อปี 2021พบว่าที่ผ่านมาโฆษณาบนออนไลน์ในจีนพุ่งแรงมาก และสิ่งที่ทำให้พุ่งแรงได้ขนาดนี้ก็คือ กระแสของการใช้กลุ่ม KOC บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ นั่นเองค่ะ ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีการคาดการณ์ว่า KOC กำลังจะเข้ามามีบทบาทแทนที่ KOL มากขึ้นเรื่อย ๆ และอาจจะกลายเป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญของทุกแพลตฟอร์มออนไลน์
จุดเด่นของ KOC ได้แก่
- คอนเทนต์เข้าถึงง่าย ดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งคอนเทนต์ที่แบรนด์สร้างขึ้นจากการรีวิวประสบการณ์ผู้ใช้จริง จะช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ได้มากขึ้น เป็นการช่วยเพิ่ม Engagement ให้เติบโตได้ 1-3%
- มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการมากกว่า KOL- สร้างยอดขาย และสร้างอิทธิพลกับกลุ่มเป้าหมายได้ในวงแคบ เหมาะกับสินค้าเฉพาะกลุ่ม- เน้นสร้างความจริงใจ ความน่าเชื่อถือ เพราะเกิดจากการรีวิวจากประสบการณ์การใช้งานจริง มีความอินกับสินค้าหรือบริการมากกว่า เลยทำให้การนำเสนอดูแล้วน่าเชื่อถือ- การใช้ KOC ในการโปรโมตจะมีค่าใช้จ่ายต่ำ เพราะมีฐานผู้ติดตามไม่เยอะ
ส่วนข้อเสียของ KOC หลักๆ เลยต้องยอมรับว่า KOC ไม่ค่อยมีความ Mass หรือเป็นที่รู้จักในวงกว้างเท่ากับ KOL ค่ะ
ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้งาน KOL และ KOC ก็ไม่ได้มีหลักการตายตัว ความแตกต่างระหว่าง KOL และ KOC อยู่ที่บทบาท และการสื่อสาร หรือวัตถุประสงค์ หากเป็นแบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น แต่ยังมีงบไม่เยอะ อาจจะเลือกใช้ KOC ในการทำการตลาดก่อนแล้วค่อยใช้ KOL ส่วนแบรนด์ที่มีขนาดใหญ่แล้ว อาจใช้ KOL ในการโปรโมตการเปิดตัวสินค้าใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ได้ในวงกว้าง และใช้ KOC ทำ Affiliate Marketing ควบคู่ไปด้วยค่ะ
สรุปก็คือ KOL เน้นไปที่ความเชื่อมั่นต่อผู้ติดตาม และผู้บริโภค ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ในขณะที่ KOC เน้นไปที่การแบ่งปันประสบการณ์ และรีวิวความพึงพอใจจากผู้ใช้งานจริง ๆ เพื่อส่งผลในการสร้างความน่าเชื่อถือในสินค้า หรือบริการนั้นๆ แล้วค่อยตัดสินใจซื้อ อย่างไรก็ตามทั้ง KOL และ KOC สามารถมีบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริม และกำหนดแนวทางการตลาดของแบรนด์ได้ และแบรนด์ส่วนใหญ่ยังนิยมนำทั้ง KOL และ KOC มาใช้ร่วมกันในกลยุทธ์การตลาดค่ะ
ข้อมูลจาก: marketthink, marketingoops, positioningmag
โฆษณา