30 พ.ค. 2023 เวลา 15:38 • ข่าวรอบโลก

รู้หรือไม นำขยะพลาสติกมากลั่นเป็นน้ำมันสร้างพลังงานทดแทนได้

ราคาลิตรแค่ 20 บาท ทำได้แล้วทำได้จริง ที่นี้ที่แรก จังหวัดสุพรรณบุรี
สำหรับเรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยโดยทางด้านนายวราวุธ ศิลปอาชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ลงพื้นที่ศึกษาเอง จากที่ภายหลังจากที่ทางวิสาหกิจชุมชนแนวร่วมปฏิวัติขยะ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ได้ใช้เทคโนโลยีไพโรไลซิส (Pyrolysis) กลั่นน้ำมันเบนซินและดีเซลจากขยะพลาสติก จำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาเพียงลิตรละ 20 บาท เท่านั้น โดยน้ำมันที่จำหน่ายในราคาลิตรละ 20 บาท ที่ได้จากการกลั่นขยะพลาสติกนี้ ไม่ได้เปิดขายให้แก่ใครก็ได้ แต่สงวนสิทธิ์ไว้ให้สมาชิกของวิสาหกิจเท่านั้น
ภายใต้เงื่อนไขว่า สมาชิกจะต้องนำขยะพลาสติกที่คัดแยกสะอาด มาขายให้แก่วิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบกลั่นน้ำมันก่อน จึงจะได้รับโควต้าซื้อน้ำมันในราคาลิตรละ 20 บาท เป็นโมเดลธุรกิจ ที่ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีแรงจูงใจในการคัดแยกขยะจากครัวเรือนและชุมชนของตน นำกลับมาเข้ากระบวนการ Upcycle
โดยผลลัพธ์ที่ได้ นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะในชุมชน ช่วยลดภาระงบประมาณของท้องถิ่นในการกำจัดขยะแล้ว ยังส่งเสริมประชาชนในพื้นที่ ให้มีรายได้เสริมจากการนำขยะมาขาย และได้รับสิทธิ์ซื้อน้ำมันในราคาที่ถูกกว่าตลาดถึงครึ่งหนึ่ง ลดต้นทุนค่าน้ำมันที่ต้องใช้ในเครื่องจักรการเกษตรได้อีกด้วย ดังนั้นมีแต่ได้กับได้พร้อมกันทุกฝ่าย
ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน สำหรับการเติบโตของวิสาหกิจแห่งนี้จะช่วยผลักดันให้จังหวัดสุพรรณบุรี พัฒนาไปเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ Low Carbon City เมืองที่ผู้คนมุ่งมั่นที่จะลดปัญหาภาวะโลกร้อน มุ่งเน้นกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างระบบนิเวศที่สมดุลในธรรมชาติอย่างยั่งยืน สำหรับโครงการนี้เป็นที่แรกและครั้งแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวย้ำว่า การนำขยะพลาสติกมาทำเป็นน้ำมันด้วยการผ่านเทคโนโลยีไพโรไลซิส (Pyrolysis) ถือเป็นผลพลอยได้และเป็นผลดีของเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำมันเดินเครื่องสูบน้ำและเครื่องจักรทางการเกษตรอื่นๆ
โดยเฉพาะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย แก้ปัญหาขยะพลาสติก ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับชุมชนเป็นเทคโนโลยีน่าสนใจและควรสนับสนุนขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างน้อยท้องถิ่นหรืออำเภอมีเทคโนโลยีนี้ที่ละ 1 แห่ง ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นเรื่องราวดีๆ ของสิ่งแวดล้อมที่เราควรสนับสนุนและต่อยอดกันไป เพื่อให้พี่น้องชาวบ้านมีรายได้กระจายมากเพิ่มขึ้นอีกทางด้วย โดยสามารถรับชมคลิปเต็มได้ตามลิงค์นี้ https://fb.watch/kQy-QQLW28/
โฆษณา