Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungthai Asset Management
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
1 มิ.ย. 2023 เวลา 01:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มี Provident Fund อย่านิ่งดูดาย ปรับพอร์ตตามสไตล์เพื่ออนาคต
Provident Fund หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นสวัสดิการ การลงทุนรูปแบบหนึ่งที่ลูกจ้างบริษัทส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์หลายอย่าง เช่น
✓
การหักเงินเดือนเพื่อเป็นเงินออม เอาไว้ใช้ในยามเกษียณ
✓
การได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง ที่ทำให้เราได้เงินออมเพิ่ม
✓
การนำเงินสะสมไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้
✓
การบริหารเงินสะสมในกองทุนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
ด้วยข้อดีเหล่านี้ จึงเป็นข้อพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า ทำไมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถึงมีความสำคัญ สำหรับการเกษียณของชาวมนุษย์เงินเดือน
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายสำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลายๆ คน คือการมองว่าสิ่งนี้เป็นเพียงตัวช่วยในการออมเงินตัวหนึ่งเท่านั้น นั่นอาจทำให้พวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญในการดูแลเงินสะสมเหล่านี้มากเท่าที่ควร จึงอาจเกิดเป็นความเสี่ยง ที่เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะไม่เพียงพอสำหรับใช้ในวัยเกษียณ
ถึงเวลาแล้วที่คุณควรหันมาให้ความสำคัญต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่ออนาคตการเกษียณอย่างสุขสบาย โดยสามารถเริ่มได้ ดังนี้
1) เริ่มหักเงินเข้าสู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้มากยิ่งขึ้น
โดยปกติแล้ว นโยบายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะสามารถเลือกหักจำนวนเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน (ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท) ซึ่งอัตราการหักที่แนะนำ คือตั้งแต่ 10% ขึ้นไป จนถึงการหักเต็มอัตราที่ 15% เพื่อให้มีจำนวนเงินสะสมที่สูงมากยิ่งขึ้น
2) เริ่มปรับพอร์ตการลงทุน ตามสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน ต่างมีนโยบายการลงทุนที่น่าสนใจหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงผู้จัดการกองทุนบางราย ก็มีการเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุน สามารถผสมสัดส่วนการลงทุนเองได้ด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วในระยะเวลา 1 ปี บริษัทส่วนใหญ่ จะเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนสามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ 1-2 ครั้งต่อปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทด้วยเช่นกัน
ฉะนั้น สำหรับพนักงานที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว อย่าปล่อยให้โอกาสเพียงไม่กี่ครั้ง ใน 1 ปี ต้องหลุดลอยไปแบบเปล่าประโยชน์ เพราะการปรับพอร์ตสามารถสร้างประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด เช่น การทำให้สินทรัพย์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือการปรับระดับความเสี่ยงให้อยู่ในจุดที่รับได้จากสถานการณ์โลกที่พร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา เป็นต้น
โดยสำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถปรับพอร์ตตามสถานการณ์เบื้องต้นได้ ดังนี้
- สถานการณ์ปกติ
1
หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ มีความผันผวนไม่มากนัก เป้าหมายหลักของการลงทุน จึงเป็นการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ผ่านสินทรัพย์อย่าง หุ้น ที่แม้จะมีความเสี่ยง แต่ก็สามารถเลือกสัดส่วนที่ยอมรับความเสี่ยงได้เช่นกัน
- สถานการณ์ที่ผันผวน
1
กรณีเศรษฐกิจมีความผันผวน การปรับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถช่วยกระจายความเสี่ยงต่อเงินสะสมที่อยู่ในกองทุนได้ เช่น การปรับสัดส่วนไปยังตราสารหนี้ให้มากขึ้น เพื่อชะลอความผันผวน และรักษาเงินต้นของเงินสะสมไม่ให้ลดลง เป็นต้น
3) เริ่มปรับพอร์ตตามอายุงานที่เปลี่ยนไป
การปรับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ได้มีแค่การปรับกลยุทธ์ไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังสามารถปรับพอร์ตไปตามความเสี่ยง ที่เหมาะสมกับช่วงวัยได้ ดังนี้
- ช่วงต้นของการทำงาน
ควรจัดสรรสัดส่วนการลงทุนไปกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้ เช่น หุ้น หรือสินทรัพย์ทางเลือก
- ช่วงกลางของวัยทำงาน
ควรเริ่มมองหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ หรือลดสัดส่วนหุ้นลง
และไปลงทุนกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเพิ่มขึ้นแทน เพื่อการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนโดยรวม
- ช่วงปลายของการทำงาน
ช่วงปลายของการทำงาน ถือเป็นช่วงที่สมาชิกกองทุน จะมีเงินสะสมอยู่ค่อนข้างเยอะ จากระยะเวลาที่ได้ลงทุนมาค่อนข้างยาวนาน ดังนั้น ควรปรับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยเน้นสัดส่วนของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ เพื่อเป็นการรักษาเงินต้นให้กับพอร์ต ก่อนก้าวเข้าสู่วัยเกษียณอย่างเต็มตัว
ทั้งหมดนี้ คือ 3 สิ่งที่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพควรหันมาให้ความสนใจ เพื่อสร้างประโยชน์ต่อพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้มากกว่าการเป็นแค่เครื่องมือออมเงิน
โดยสำหรับสมาชิกกองทุนที่ออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี หรือมีอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ยังไม่ถึง 5 ปี
แต่ยังอยากสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง โอกาสของคุณก็ยังไม่หมดไปเสียทีเดียว เพราะผู้ลงทุนที่เข้าข่ายนี้ สามารถโอนเงินลงทุนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปเป็น RMF for PVD กองทุนที่จัดตั้งขึ้น เพื่อรองรับเงินโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยเฉพาะ ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเหมือนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วยเช่นกัน
และสำหรับองค์กรใดที่สนใจลงทุน หรือจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนเอง ผ่านผู้จัดการกองทุนที่มั่นคง น่าเชื่อถือ ที่มาพร้อมทั้งทางเลือก และบริการที่หลากหลาย ก็สามารถเลือกลงทุนกับ KTAM PVD FUND ได้
KTAM PVD FUND คือหนึ่งในบริการโดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนที่ได้รับความไว้วางใจให้บริการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้แก่องค์กรขนาดใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง
ผู้ที่สนใจ สามารถศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ KTAM PVD FUND ได้ที่ :
https://rb.gy/70hy4
สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 02-686-6100 กด 9
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
References :
- Mutualfund_content14 from
member.set.or.th
-
https://www.thaipvd.com/article/home/บทความ/r5zfvd
-
https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/31-5-reasons-provident-fund-may-not-be-enough-for-retirement
-
https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/151-what-to-consider-before-adjusting-pvd-portfolio#:~:text=การปรับพอร์ตกองทุนสำรอง,จาก%20บลจ.%20เป็นต้น
-
https://thestandard.co/trick-to-adjust-provident-fund-port/
-
https://www.sec.or.th/TH/Template3/Articles/2563/250963.pdf
providentfund
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การลงทุน
7 บันทึก
13
5
7
13
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย