1 มิ.ย. 2023 เวลา 11:00 • ธุรกิจ

อัปเดต ภัยการเงินรูปแบบใหม่ ป้องกันตัวให้รอด จากมิจฉาชีพ

KBank x ลงทุนแมน
ภัยอันตรายใกล้ตัว ที่หลายคนเคยพลาดท่า
ก็น่าจะมี “ภัยทางการเงิน” จากกลลวงของมิจฉาชีพรวมอยู่ด้วย
ที่น่าตกใจคือ สถิติการแจ้งความออนไลน์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ มี.ค. 2565 ถึง มี.ค. 2566
พบว่ามีมูลค่าความเสียหายทั่วประเทศกว่า 31,000 ล้านบาท
โดยมูลค่ารวมของเคสที่มีเหยื่อโดนหลอกมาก ๆ คือ
- 7,000 ล้านบาท เป็นจำนวนเงินที่ขออายัดจากบัญชีม้า
- 3,600 ล้านบาท เป็นมูลค่าความเสียหายที่เหยื่อถูกหลอกทางโทรศัพท์ และหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงิน
- 1,100 ล้านบาท เกิดจากเหยื่อถูกหลอกให้กู้เงิน
โดยล่าสุดคือ เคสของเหยื่อที่ตกหลุมพรางกลโกงใหม่ของมิจฉาชีพหลอกส่ง SMS ปลอมเป็นธนาคาร
แน่นอนว่า คนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ที่ตามกลลวงมิจฉาชีพไม่ทัน
เรื่องนี้ จึงกลายเป็นวาระสำคัญที่ต้องรีบทำ และทำอย่างต่อเนื่อง
แล้ว KBank มองเรื่องนี้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
KBank สถาบันการเงินสำคัญของประเทศให้ความสำคัญเรื่องภัยคุกคามทางการเงินมาโดยตลอด
ทั้งในเรื่องการเพิ่มความปลอดภัยระบบ, การยกระดับมาตรการป้องกัน และการออกมาตรการเชิงรุกให้ข้อมูลความรู้ที่เท่าทันกับภัยมิจฉาชีพ
รวมทั้ง วิธีป้องกันต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ผ่านแคมเปญ #ใช้สติป้องกันสตางค์ ซึ่งทำต่อเนื่องมาหลายปี
โดยซีรีส์ล่าสุดคือ แคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์ ด้วยข้อมูลความรู้ที่เท่าทัน และการมี “สติ” จะเป็นตัวช่วยสำคัญ
พร้อมที่จะมาอัปเดตกลโกงใหม่ ๆ ให้ทันกับสถานการณ์ เพื่อสร้างเกราะป้องกันภัยคุกคามทางการเงินให้กับประชาชน
เพราะต้องยอมรับว่า มิจฉาชีพยุคนี้ มักอาศัยจุดอ่อนของคนที่มีความกลัว ความอยากได้ และความไม่รู้ หลอกลวงประชาชน
โดยใช้วิธีต่าง ๆ และมีมุกกลโกงใหม่ ๆ ในทุกวัน
กรณีล่าสุดก็เช่น มิจฉาชีพหลอกส่ง SMS ปลอมเป็นธนาคารได้อย่างแนบเนียนมาก จนมีเหยื่อตกหลุมพราง
ซึ่งเรื่องนี้ KBank ได้ฝากย้ำเตือนประชาชนว่า ธนาคารต่าง ๆ ได้ยกเลิกการส่ง SMS ที่มีลิงก์แนบให้กับลูกค้าแล้ว
พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าเราได้รับ SMS ที่มีลิงก์ส่งมาในชื่อธนาคาร และอยู่ใน Inbox เดียวกับธนาคาร ห้ามกดลิงก์เด็ดขาด !
เพราะนั่นคือ SMS ปลอมเป็นธนาคาร หลอกเหยื่อให้กดลิงก์แอด LINE เจ้าหน้าที่ปลอม หรือกดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันควบคุมมือถือของคุณ
โดยมิจฉาชีพใช้เทคนิคการส่ง SMS ปลอมผ่านเสาสัญญาณมือถือเถื่อน โดยไม่ผ่านเครือข่ายมือถือและระบบของธนาคาร
อย่างไรก็ตาม ยังมีกลโกงต่าง ๆ ที่มีเหยื่อโดนหลอกอย่างต่อเนื่อง พลาดท่าเสียทั้งเงินและมีคดีติดตัว
เช่น มิจฉาชีพหลอกว่าเป็นนายหน้าเงินกู้ มิจฉาชีพหลอกให้เปิดบัญชีม้า
ซึ่งแม้ว่าหลายคนอาจจะเคยประสบด้วยตัวเอง คนใกล้ตัวประสบมาบ้าง หรือได้ยินจากข่าว
แต่ก็มีผู้ตกเป็นเหยื่ออยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคนิคกลโกงของมิจฉาชีพที่มีวิธีพูดโน้มน้าวใจให้คนเชื่อ
ดังนั้น เรื่องนี้จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนสามารถช่วยกันเตือนภัยคนใกล้ตัว พนักงาน ญาติพี่น้อง ให้รู้เท่าทันภัยเหล่านี้ และป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า KBank เป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้ และเตือนภัยมิจฉาชีพทางการเงิน
ที่สำคัญ ยังยินดีมอบสื่อต่าง ๆ ให้กับหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน ที่สนใจ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
เพื่อให้ความรู้กับพนักงานหรือประชาชน ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โดยสามารถดาวน์โหลดคลิป #อัปเดตสติป้องกันสตางค์ และสื่อ #สารานุโกง แหล่งรวบรวมข้อมูลกลโกงของมิจฉาชีพล่าสุด พร้อมวิธีป้องกันได้ที่ https://kbank.co/42d7Avf
References
-เอกสารประชาสัมพันธ์ KBank แคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์
โฆษณา