23 มิ.ย. 2023 เวลา 11:00 • สุขภาพ

เทคนิค ‘การเลือกซื้อประกัน’ ให้ได้ประโยชน์สูงสุดในแต่ละวัย

ประกันชีวิต บางคนอาจจะมองเป็นแค่เรื่องของการซื้อเพื่อลดหย่อนภาษี หรือเป็นเรื่องของคนมีครอบครัวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วจะมีซักกี่คนที่รู้ว่า ประกันชีวิตมีความหลากหลายมากกว่านั้น แต่จะซื้อยังไงให้ตรงความต้องการ เราลองไปดูแนวทางการเลือกซื้อประกันให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุกัน
7
1. ช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น (0-20 ปี)
2
ช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นช่วงที่ภูมิต้านทานโรคยังต่ำ มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรพิจารณาทำประกันสุขภาพให้แก่เด็ก เพื่อช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลเวลาที่ลูกเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล ส่วนถ้าโตขึ้นมาหน่อยจนถึงช่วงวัยรุ่น ก็อาจทำประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติมด้วยก็ได้ เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ใช้ชีวิตโลดโผน เสี่ยงอันตรายด้วยอยู่แล้ว
5
2. ช่วงวัยทำงานตอนต้น (21-30 ปี)
ช่วงเริ่มต้นของวัยทำงาน เป็นช่วงที่เพิ่งเริ่มมีรายได้ อยู่ในวัยสร้างเนื้อสร้างตัว จึงควรให้ความสำคัญกับการออมเป็นหลัก รวมถึงเมื่อเริ่มมีรายได้ ก็อาจจะเริ่มมีการเสียภาษี ช่วงวัยนี้จึงเหมาะกับการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เพื่อสร้างวินัยในการออม
1
รวมถึงได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีด้วย และหากคุณทำงานเก็บเงินไปได้ซักระยะ ควรพิจารณาการทำประกันชีวิตที่ได้ความคุ้มครองระยะยาวเพิ่มเติมด้วย เช่นแบบตลอดชีพ เพื่อนำไปผูกไว้กับประกันสุขภาพ เพราะช่วงวัยนี้ค่าเบี้ยประกันชีวิตจะถูกกว่าช่วงวัยอื่น ทำให้เราได้ประกันชีวิตที่คุ้มค่า แถมจ่ายเบี้ยราคาเดิมนี้ไปตลอดอายุของสัญญา (เฉพาะค่าเบี้ยสุขภาพเท่านั้นที่จะปรับเพิ่มตามช่วงอายุ แต่ไม่ได้มีการปรับทุกปี)
1
ที่สำคัญ การที่เรานำประกันสุขภาพไปผูกกับแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองนานๆ นี้ จะส่งผลให้เราได้ประกันสุขภาพที่ผูกพันยาวนานตามไปด้วย ไม่ต้องมาคอยกังวลในวันที่ไม่มีสวัสดิการจากที่ทำงานมาช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาล และไม่ต้องกังวลด้วยว่า ถ้าเราเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาจะถูกยกเลิกประกันสุขภาพในปีต่อไปหรือไม่
4
เพราะตราบใดที่ประกันหลักที่เราผูกไว้ ยังไม่หมดอายุสัญญา เราก็จะได้รับการต่อประกันสุขภาพโดยอัตโนมัติตามไปด้วยทุกปีจนกว่าจะหมดอายุความคุ้มครองของประกันสุขภาพ ซึ่งประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะคุ้มครองถึงอายุ 70 – 85 ปี แล้วแต่กรมธรรม์
3. ช่วงวัยทำงานตอนกลางและเริ่มสร้างครอบครัว (31-45 ปี)
การทำประกันสำหรับคนในช่วงนี้ ควรทำประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครองชีวิต เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่หัวหน้าครอบครัวเกิดเสียชีวิตไปอย่างกระทันหัน ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ หรือ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา โดยควรเลือกช่วงเวลาคุ้มครองให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของเรา หรือจะซื้อประกันสุขภาพหรือ ประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติมด้วยก็ได้ โดยการซื้อประกันสุขภาพควรผูกไว้กับแบบประกันที่คุ้มครองเราไปจนแก่เฒ่าเพื่อให้ประกันสุขภาพมีผลต่อเนื่องคุ้มครองยาวนานตามไปด้วยนั่นเอง
3
นอกจากนั้น อาจจะพิจารณาทำประกันชีวิตควบการลงทุนแบบจ่ายเบี้ยรายงวด (Regular Premium : RP) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการศึกษาบุตร เพื่อสร้างการการันตีว่า หากระหว่างที่กำลังส่งเสียค่าเล่าเรียนให้ลูกแล้วเราเกิดจากไปอย่างกะทันหัน ลูกก็จะได้มีเงินจากทุนประกันชีวิตไว้เป็นค่าเล่าเรียนจนจบการศึกษา
2
4. ช่วงวัยทำงานตอนปลายจนถึงเวลาเกษียณ (46-60 ปี)
1
ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ภาระเลี้ยงดูครอบครัวจะค่อยๆ ลดลง (เนื่องจากลูกเริ่มโตขึ้น เริ่มมีความสามารถในการหาเงินเองได้) เรื่องสำคัญที่จะเข้ามาแทนจึงกลายเป็นเรื่องการเตรียมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ ช่วงอายุตอนต้นของช่วงเวลานี้ จึงเป็นช่วงอายุสำคัญช่วงสุดท้ายในการเตรียมเงินเพื่อวัยเกษียณ (หากเริ่มเตรียมเงินเกษียณหลังอายุ 50 ปี อาจจะเตรียมเงินไม่ทัน)
ประกันที่เหมาะสมกับช่วงวัยนี้จึงควรเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อสร้างเงินบำนาญหลังเกษียณที่เป็นเงินการันตี ไว้ใช้ส่วนหนึ่ง ควบคู่กับเงินออมเงินลงทุนในเครื่องมืออื่นๆ (RMF LTF กองทุนรวม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากบริษัท) เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีเงินไว้ใช้หลังเกษียณอย่างเพียงพอ
3
5. ช่วงหลังเกษียณ (61 ปี เป็นต้นไป)
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต บางคนอาจจะเริ่มนึกถึงการทำพินัยกรรม หรือการเตรียมทรัพย์สิน เตรียมเงินมรดกเพื่อส่งมอบให้ลูกหลาน ซึ่งก็สามารถใช้ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือในการสร้างเงินมรดกการันตีให้ลูกหลาน หรือใช้บริหารภาษีมรดก สำหรับคนที่มีทรัพย์สินจำนวนมาก (เกิน 100 ล้านบาท)
3
โดยประกันชีวิตที่เหมาะสมในการสร้างเงินมรดกคือประกันชีวิตที่เน้นการคุ้มครองชีวิตแบบ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แต่สำหรับใครที่อยากจะสร้างเงินมรดกให้ลูกหลาน แต่อาจจะมีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงปกติ หรือมีโรคประจำตัว ทำให้ไม่สามารถทำประกันชีวิตแบบทั่วไปได้ ก็อาจจะพิจารณาทำประกันชีวิตผู้สูงอายุทดแทนได้
เพราะไม่จำเป็นต้องตรวจหรือต้องตอบคำถามสุขภาพ ทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวก็สามารถทำประกันชีวิตได้ (กรณีเสียชีวิตจากโรค บริษัทประกันจะจ่ายทุนประกันให้ผู้รับผลประโยชน์ก็ต่อเมื่อกรมธรรม์นั้นทำมาเกิน 2 ปีแล้วเท่านั้น)
นั่นก็คือคำแนะนำคร่าวๆ สำหรับการทำประกันชีวิตที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่จำเป็นต้องทำตามนี้เสมอไป ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความเหมาะสมของแต่ละบุคคลด้วย
โฆษณา