2 มิ.ย. 2023 เวลา 08:00 • ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ที่ถกเถียงกันของสงครามระหว่าวพม่าและสยาม

ประวัติศาสตร์ที่ถกเถียงกันของสงครามระหว่าวพม่าและสยาม (ในการล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 4 ในปีพ.ศ. 2127 – 2136)
สงครามพม่า – สยาม (พ.ศ. 2127 – 2136) เป็นสงครามระหว่างราชวงศ์ตองอูของพม่าและอาณาจักรอยุธยา ครามครั้งนี้มีความโดดเด่นจากการต่อสู้ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับมังกยอชวา สงครามครั้งนี้ทําให้สยามเป็นอิสระจากการครอบงำของพม่าเป็นเวลา 174 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2310
จุดเริ่มต้นของสงคราม (ในปี พ.ศ. 2127)
การก่อกบฏของเอวากลายเป็นช่วงจังหวะโอกาสที่อยุธยากำลังมองหา และต่อมาพระมหาธรรมราชาธิราชได้ส่งกองทัพ ที่นําโดยพระนเรศวรซึ่งเป็นพระโอรส เพื่อข้าร่วมกับทัพเอวาที่นนำโดยพระเจ้านันทบุเรง แต่กองทัพสยามไม่ได้ยกทัพไปยังเอวาตามคำสั่ง แต่กับให้กองทัพวนเวียนอยู่รอบๆพะโคแทน
ในขณะที่เอวากำลังจะแตก กองทัพสยามก็ได้ถอนกำลังไปยังเมาะตะมะ และได้ประกาศเอกราชเมื่อในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2127 ในขณะที่นันดะได้ส่งกองกำลังทหารเดินทางออกไล่ล่ากองทัพอยุธยา ในที่สุดกองทัพพม่าก็ไล่ตามกองทัพสยามทันจนมาถึงบริเวณใกล้แม่น้ำสิตตอง แต่กองทัพของพม่าก็ถูกขับไล่ออกไปเมื่อพระนเรศวรได้ยิงปืนคาบศิลาข้ามแม่น้ำเป็นเหตุทำให้สังหารแม่ทัพของพม่าลงได้ ยิ่งสร้างความโกรธแค้นแก่พระเจ้านันทบุเรง เป็นอย่างมากและได้ทำการรวบรวมกองทัพขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งตามมา แต่ก็ไม่สามารถพิชิตอยุธยาได้
การรุกรานครั้งที่ที่ 2 (ในปี 2129 – 2132)
ในปี พ.ศ. 2129 กษัตริย์พม่าได้วางแผนรุกรานสยามอีกครั้ง การรุกรานครั้งนี้ถูกกำหนดอยู่ทางตอนเหนือของอยุธยาก่อน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2129 ด้วยกองทัพที่นําโดยมังกยอชวาได้ทำการบุกทางตอนเหนือของอยุธยาจากล้านนา แต่กองทัพไม่สามารถผ่านค่ายที่ลำปางได้เนื่องจากมีแนวป้องกันและป้อมปราการที่แน่นหนาซึ่งนําทัพโดยพระนเรศวร จึงทำให้ต้องถอนกำลังออกไปในเดือนมิถุนายน
พระเจ้านันทบุเรง ได้เปิดฉากการรุนรานแบบสองทางอีกครั้งในฤดูแล้งปีถัดมา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2129 ด้วย (กำลังทหารถึง 25,000 นาย ม้า 1,200 ตัว ช้าง 220 ตัว) นี่เป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดที่กษัตริย์พม่าเคยนำกองทัพออกมาสู้รบ แต่ก็ไม่สามารถพิชิตสยามได้
การรุกรานดำเนินไปด้วยดีในช่วงตอนแรก กองทัพทั้งสองสามารถเอาชนะการป้องกันของอยุธยาได้และเดินทางมาถึงก่อนกรุงศรีอยุธยาในเดือนธันวาคม
5
แต่ด้วยความไม่พร้อมของกองทัพที่ทำให้ยังไม่สามารถทำการปิดล้อมเมืองหลวงที่มีป้อมปราการอย่างแน่นหนาในระยะยาวได้ทันที เนื่องจากการวางแผนที่ไม่ดีสร้างความเสียหายแก่กองทัพ ซึ่งทำให้กองทหารเริ่มบาดเจ็บล้มตายหลายพันคน
การรุกรานครั้งที่สาม (ในปี พ.ศ. 2133 - 2135)
พระเจ้านันทบุเรง ได้วางแผนที่จะทําสงครามกับอยุธยาอีกครั้ง ซึ่งในขณะนั้นกองทัพฝ่ายพม่าที่สามารถระดมกำลังทหารได้จำนวนมากถึง 30,000 นาย แต่แทนที่กษัตริย์พม่าจะมุ่งเน้นการสู้รบไปที่โมกวง แต่พระองค์กับตัดสินใจที่จะทําศึกทั้งสองด้าน พระองค์ได้ลดขนาดกองทัพที่ใช้ในการรุกรานลงมาทางตอนเหนือของอยุธยา
3
พระองค์ได้ส่งกองทัพ ที่นําโดยพระเจ้าธาโด ธรรมยาซาที่ 3 และนัตซินนอง (นะฉินเหน่าง์) ไปยังเมืองโมกวง ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2133 และกองทัพ ที่นําโดยมังกยอชวามายังสยามเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2133 ไปยังอยุธยา
กองทัพทางเหนือได้เข้ายึดโมกวงได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2134 ในขณะเดียวกันกองทัพฝ่ายใต้ไม่ประสบความสำเร็จในการรุกรานอยุธยา เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2130 ที่มังกยอชวาได้ทำการบุกอยุธยายทางตอนเหนือจากล้านนา และไม่สามารถผ่านป้อมปราการในลําปางที่นําโดยพระนเรศวรได้อีก และกองทัพยังพ่ายแพ้อย่างยับเยินนอกเมืองลำปางในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2134 กองทัพที่เหลือกลับมาด้วยความระส่ำระสายจนพระเจ้านันทบุเรง พูดดูถูกมังกยอชวาด้วยวาจาเสียดสีและประหารชีวิตแม่ทัพบางคน
1
การรุกรานครั้งสุดท้าย (พ.ศ. 2135 – 2136)
พระนเรศวรจึงเปลี่ยนแนวรุกรานมาโจมตีในช่วงฤดูแล้งปีถัดมาในปี พ.ศ. 2135 – 2136 โดยการเข้าตีชายฝั่งตะนาวศรีตอนบน แต่ในที่สุดพม่าก็ตัดสินใจเปิดฉากบุกเข้ามาในสยามอีกครั้ง ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2135 กองทัพพม่าได้ทำการบุกเข้ามาจำนวน 24,000 นาย หลังจากผ่านไปเจ็ดสัปดาห์กองทัพได้ต่อสู้มาจนถึงสุพรรณบุรีซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา จุดนี้ในพงศาวดารพม่าและพงศาวดารสยามให้เรื่องราวที่แตกต่างกัน
ในพงศาวดารพม่ากล่าวว่าการสู้รบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2136 ซึ่งมังกยอชวาและพระนเรศวรต่อสู้กันบนช้างศึกในการสู้รบ มังกยอชวาถูกกระสุนปืนล้มลง หลังจากนั้นกองทัพพม่าก็ล่าถอยออกไป ตามพงศาวดารสยามการสู้รบเกิดขึ้นในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2136
เช่นเดียวกับในพงศาวดารพม่า การสู้รบเริ่มต้นขึ้นระหว่างกองกำลังทั้งสอง แต่พงศาวดารสยามกล่าวว่าการสู้รบทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะตัดสินผลโดยการต่อสู้กันระหว่างมังกยอชวาและพระนเรศวรบนช้างของพวกเขาและมังกยอชวาถูกพระนเรศวรโค่นลง
หลังจากนั้นกองทัพพม่าก็ล่าถอยออกไป และได้รับบาดเจ็บล้มตายเป็นอย่างมากระหว่างทางขณะที่ชาวสยามขับไล่และทําลายกองทัพของพวกเขา
***เข้าฟังเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่คลิปในยูทูปตามลิงค์ด้านล่างได้เลยนะคะ***
โฆษณา