28 มิ.ย. 2023 เวลา 01:00 • ธุรกิจ

✈หน้าที่ของผู้ขนส่งสินค้าหรือสายการบิน (Carrier/Airline)

ผู้ขนส่งสินค้าหรือสายการบิน (Carrier/Airline) หมายถึง บริษัทประกอบธุรกิจการบินหรือสายการบิน ที่ทำการหรือร่วมทำการขนส่งสินค้าทางอากาศ ภายใต้เงื่อนไขของรายละเอียดในใบตราส่งสินค้า (Air Waybill)
1. หน้าที่ของผู้ขนส่งสินค้าหรือสายการบิน (Carrier/Airline)
1.1) รับผิดชอบต่อสภาพของสินค้า (Shipment Condition) เมื่อรับสินค้าจาก Shipper/Consolidator แล้วจะต้องรับผิดชอบต่อสภาพสินค้านั้นว่าสินค้าอยู่ในสภาพพร้อมส่ง (Ready for Carriage) จนกว่าจะส่งมอบให้กับผู้รับ
1.2) จำกัดมูลค่าของความรับผิดชอบ (Limitation Value) บางสายการบินมีการกำหนดมูลค่าของสินค้าที่จะรับขนส่งในแต่ละรายการ (Shipment) ทั้งนี้เนื่องจากสายแต่ละสายการบินมีการประกันภัยในภาพรวมไม่เท่ากัน จึงต้องมีการกำหนดมูลค่าของสินค้าที่จะรับขนส่งไม่เท่ากัน
1.3) การรับร้องเรียนความเสียหาย (Receiving a Damage Claim) เมื่อรับสินค้าจาก Shipper/Consolidator แล้วจะต้องยอมรับการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น
1.4) การส่งมอบสินค้า (Delivery) จะต้องส่งมอบสินค้าให้กับ Consignee ตามที่ระบุในใบตราส่ง ถึงแท้บางครั้งสายการบินที่รับขนที่เมืองต้นทางไม่ได้บินไปจนถึงเมืองปลายทาง แต่ต้องทำการขนถ่ายสินค้า (Transfer Cargo) ให้กับสายการบินอื่นๆ ที่มีข้อตกลงร่วมกันในการขนส่งสินค้า หรือบางเส้นทางอาจจะมีการเปลี่ยนประเภทของการขนส่งทางอากาศ เป็นการขนส่งทางถนนด้วยก็ได้ เช่น ประเทศใน EU
2. สิทธิของบริษัทการบิน
2.1) การเตรียมสินค้า (Preparation Cargo) การจัดเก็บสินค้าในพื้นที่ที่เหมาะสม และบรรจุสินค้าใน ULD ก่อนที่จะนำสินค้าไปบรรทุกในเที่ยวบินที่กำหนด
2.2) การตรวจสอบเอกสารกำกับสินค้า (Air Waybill Inspection) ตรวจสอบเอกสารใบตราส่งสินค้าที่ได้รับจาก Shipper/Consolidator ว่าข้อมูลทั่วไป และราคาค่าขนส่งถูกต้องหรือไม่
2.3) การเรียกเก็บค่าใช้จ่าย (Charge Collect - PP & CC) เรียกเก็บเงินค่าขนส่ง จาก Shipper/Consolidator กรณีระบุว่าเป็นการชำระเงินค่าขนส่งแบบ Charge Prepaid (PP) หรือเรียกเก็บเงินจาก Consignee กรณีระบุว่าเป็นการชำระเงินค่าขนส่งแบบ Charge Collect (CC)
2.4) การเตรียมตารางบิน เส้นทางบิน และการยกเลิกเที่ยวบิน (Flight Schedule, Routing and Cancel) เตรียมตารางบิน เส้นทางบิน เพื่อแจ้งให้กับ GSA Consignor Consignee และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากมีความจำเป็นก็สามารถยกเลิกเที่ยวบิน ปรับเปลี่ยนเส้นทางบิน หรือขนาดของเครื่องบินได้
2.5) การดำเนินพิธีการขนส่งสินค้า (Customs Formality) ดำเนินการพิธีการศุลกากรในภาพรวมของแต่ละเที่ยวบิน เพื่อทำการเชื่อมข้อมูลระหว่างสายการบินกับศุลกากร
3. พันธะที่ไม่ต้องรับผิดชอบของบริษัทการบิน
3.1) พันธะที่ไม่ต้องรับผิดชอบของบริษัทการบิน (Non-Liability) หมายถึง ในระหว่างการขนส่งสินค้าย่อมจะมีเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ และตามระเบียบและข้อบังคับแล้ว ความรับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดมักจะไม่ตกอยู่กับบริษัทการบิน แต่ในทางตรงข้ามมักจะตกอยู่กับผู้ส่งสินค้าหรือผู้รับสินค้า
3.2) การปฏิเสธการรับสินค้า (Shipment Refusal) กรณีที่ Shipper/Consolidator ไม่สามารถเตรียมสินค้าพร้อมส่งที่สมบูรณ์ หรือ สำแดงสินค้าที่ผิดต่อข้อเท็จจริง หรือส่งส่งสินค้าที่ผิดกฎหมายของประเทศต้นทาง ปลายทาง หรือ ประเทศที่เครื่องบินแวะพัก สายการบินสามารถปฏิเสธการรับสินค้าได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบ
3.3) จัดลำดับสินค้า (Shipment priority) สายการบินแต่ละสายสามารถจัดลำดับความเร่งด่วนในการรับสินค้า การบรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องในแต่ละเที่ยวบินแตกต่างกัน ดังนั้นการ Offload สินค้าจึงเป็นสิทธิของสายการที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายของสินค้าที่อาจจะเกิดขึ้น
3.4) การแก้ไขและยกเลิกเที่ยวบิน (Change or Cancel Flight) การยกเลิกเที่ยวบิน การเพิ่มหรือลดขนาดเครื่องบิน การเปลี่ยนแปลงเส้นทางบิน สายการบินสามารถดำเนินการได้เมื่อจำเป็นและไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายของสินค้า
ติดตามความรู้ ข่าวสาร และกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ :
เพจ การขนส่งสินค้าทางอากาศ
Facebook Public Group : ชุมชนการขนส่งสินค้าทางอากาศ
โฆษณา