Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
JusThat คดีเล็กงบน้อยเราดูแลให้
•
ติดตาม
10 มิ.ย. 2023 เวลา 12:30 • ไลฟ์สไตล์
บีบให้เซ็นใบลาออก VS ถูกบังคับข่มขู่ให้เซ็นใบลาออกเอง แบบไหนเข้าข่ายการเลิกจ้าง
ในสังคมการทำงานที่มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา นายทุน นายจ้างบางส่วนก็อยากได้แรงงานราคาถูกที่มีประสิทธิภาพสูง ทำงานได้ดีแต่ค่าจ้างไม่แพง บางที่จึงเลือกใช้การรับคนใหม่เข้ามาแทนที่คนเก่า ถ้าคนเก่าไม่ยอมออกก็ใช้วิธีบีบให้เซ็นใบลาออกเอง เช่น ลดค่าจ้าง เปลี่ยนตำแหน่ง สั่งย้ายสถานที่ทำงาน ลดจำนวนงานลงจนลูกจ้างรู้สึกไม่ดี หรือเพิ่มภาระงานจนลูกจ้างรับไม่ไหวจนต้องลาออกไปเอง เป็นต้น
และบางองค์กรอาจมีการบังคับข่มขู่ให้ลูกจ้างเซ็นใบลาออกเองด้วย กรณีกดดันแล้วทุกวิธีแต่สุดท้ายลูกจ้างก็ไม่ยอมลาออก หรือหาวิธีบีบบังคับแล้ว แต่ลูกจ้างโต้แย้งไม่ยอมรับการเปลี่ยนสภาพการจ้าง
ในบทความนี้เป็นเรื่องของการเซ็นใบลาออกจากการถูกกดดัน บีบให้ลาออกจนทนไม่ไหว และการถูกบังคับข่มขู่ให้เซ็นใบลาออกเอง แบบไหนเข้าข่ายการถูกเลิกจ้างและสามารถเรียกร้องค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ ถ้าพร้อมแล้วอ่านต่อด้านล่างได้เลย
ถูกบีบให้เซ็นใบลาออกแล้วลาออกเองด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การเลิกจ้าง
โดยปกติแล้วเมื่อถูกบีบ ถูกกดดันให้ลาออกด้วยการลดค่าจ้าง ย้ายสถานที่ทำงาน ลดสวัสดิการ เปลี่ยนตำแหน่งในลักษณะที่ทำให้ลูกจ้างรับภาระหนักขึ้น ได้สิทธิประโยชน์น้อยลง เช่น เปลี่ยนจากตำแหน่งผู้จัดการไปเป็นพนักงานปฏิบัติการ ย้ายสถานที่ทำงานจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งเพื่อให้เดินทางลำบากขึ้น ลดค่าจ้างจาก 30,000 บาทต่อเดือน เป็น 27,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น แบบนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง
ถ้าลูกจ้างโต้แย้ง ไม่ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรลูกจ้างได้ แต่ถ้าไม่มีการโต้แย้งและยอมทำตาม ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นแล้ว แบบนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยปริยาย ซึ่งลูกจ้างจะมาโต้แย้งทีหลังไม่ได้ และในกรณีมีหนังสือให้ลูกจ้างเซ็นยินยอมและได้เซ็นไปแล้วด้วยความสมัครใจ แบบนี้จะถือลูกจ้างยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
ทีนี้ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ก็ตาม ถ้าเกิดว่าลูกจ้างทำงานไปเรื่อย ๆ แล้วรู้สึกถูกกดดัน อาจมีการเพิ่มหรือลดภาระงาน กรณีลูกจ้างไม่ยินยอมให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และสุดท้ายลูกจ้างเป็นฝ่ายทนไม่ไหวเองจนตัดสินใจลาออกด้วยตัวเอง อาจลาออกเพื่อรักษาสุขภาพจิตของตัวเองไว้ก่อน มีที่ใหม่ที่น่าจะดีกว่า ต้องการออกไปพักผ่อนแล้วค่อยเริ่มใหม่ หรือเหตุผลอื่น ๆ และลูกจ้างเป็นฝ่ายแจ้งเจตนาลาออกเอง ซึ่งอาจทำด้วยการบอกลาออกแบบปากเปล่า แจ้งลาออกผ่านไลน์แชท ส่งอีเมลลาออก หรือเขียนใบลาออกเองก็ได้
เมื่อการแสดงความต้องการสิ้นสุดสัญญาจากมาจากฝ่ายลูกจ้าง แบบนี้จะเท่ากับว่าลูกจ้างสมัครใจลาออกด้วยตัวเอง แปลว่าลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ถูกบังคับข่มขู่ให้เซ็นใบลาออกเอง นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การถูกบังคับข่มขู่ให้เซ็นใบลาออกเองจนลูกจ้างเกิดความกลัว ตกอยู่ใต้อำนาจของนายจ้างจนยอมเซ็นใบลาออก โดยที่ลูกจ้างไม่ได้สมัครใจลาออกเอง ถือเป็นการลาออกโดยไม่เป็นธรรม ตามกฎหมายแล้วถือว่าการลาออกนั้นเป็นโมฆียะ (นิติกรรมที่อาจบอกเลิก หรือตกลงยินยอมในภายหลังได้ ถ้าบอกเลิกจะเป็นโมฆะ ถ้าตกลงยินยอมภายหลังนิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้) เมื่อการลาออกเป็นโมฆียะ การสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างไม่ใช่การลาออก
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
#JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท
✅ แอดไลน์ @justhatapp
✅ เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
✅ หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
เรียนรู้เพิ่มเติม
justhat.app
บีบให้เซ็นใบลาออก VS ถูกบังคับข่มขู่ให้เซ็นใบลาออกเอง แบบไหนเข้าข่ายการเลิกจ้าง - JusThat.app
บีบให้เซ็นใบลาออก VS ถูกบังคับข่มขู่ให้เซ็นใบลาออกเอง แ […]
justhat
กฎหมายย่อยง่าย
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย