14 มิ.ย. 2023 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์

การรับมรดกแทนที่ คืออะไร

การรับมรดกแทนที่ คือ การที่ผู้สืบสันดานโดยตรงของทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกเข้าไปรับมรดกแทนที่ เนื่องจากทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกตายก่อนเจ้ามรดก หรือถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนที่เจ้ามรดกตาย เช่น พ่อของปิงปองตายก่อนย่า ปิงปองจึงรับมรดกของย่าแทนที่พ่อของตัวเอง หรือแม่ของลินดาถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนยายตาย ลินดาจึงรับมรดกของยายแทนที่แม่ของตัวเอง เป็นต้น
เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น JusThat จะพาทุกคนย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของการรับมรดกกันก่อนนั้นก็คือ “เจ้ามรดก” หรือ “ผู้ตาย” เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งตายจากไป ทั้งทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของผู้ตายจะกลายเป็นกองมรดกตกทอดสู่ทายาท ซึ่งอาจเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรมก็ได้แล้วแต่กรณี โดยมีผู้ตายเป็น “เจ้ามรดก” ของกองมรดกที่ตกทอดสู่ทายาท
ซึ่งมีทายาทโดยธรรมอยู่ทั้งหมด 6 ลำดับ และ 1 คู่สมรส ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 คือ
ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน
ลำดับที่ 2 มารดาและบิดาชอบด้วยกฎหมาย
ลำดับที่ 3 พี่น้องแท้ ๆ
ลำดับที่ 4 พี่น้องต่างบิดา หรือต่างมารดา (คนละพ่อหรือคนละแม่)
ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย
ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา
โดยการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมจะต้องเป็นไปตามลำดับที่ 1 และ 2 ถึง 6 ตามหลักญาติสนิทตัดญาติห่าง (ป.พ.พ. มาตรา 1630) คือ ถ้าทายาทลำดับที่ 1 หรือ 2 ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับแทนที่ทายาทลำดับที่ 1 ทายาทลำดับที่ 3 – 6 จะไม่มีสิทธิรับมรดก
แต่ถ้าไม่มีทายาทลำดับที่ 1 และ 2 และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ทายาทลำดับที่ 1 กรณีนี้ทายาทลำดับที่ 3 จะมีสิทธิรับมรดก แต่ทายาทลำดับที่ 4 – 6 ไม่มีสิทธิรับมรดก ทายาทลำดับที่ 4 จะมีสิทธิรับมรดกก็ต่อเมื่อไม่มีทายาทลำดับที่ 1-3 และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ทายาทลำดับที่ 1 หรือ 3
และที่ JusThat ต้องใช้ “1 และ 2 ถึง 6” นั่นก็เป็นเพราะว่า พ่อและแม่ของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกเหมือนลูกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรค 2
มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณี ในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1630 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามาดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
แปลว่า ถ้าเจ้ามรดกมีลูกและพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกและพ่อแม่ของเจ้ามรดกจะมีสิทธิได้ส่วนแบ่งมรดกเท่ากัน แต่ถ้าลูกตายก่อนแล้วแต่มีหลานและพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ กรณีนี้หลานและพ่อแม่ของเจ้ามรดกอาจได้ส่วนแบ่งมรดกไม่เท่ากัน เพราะการเข้ารับมรดกของหลานเป็นการเข้ารับมรดกแทนที่พ่อหรือแม่ของตัวเอง (แทนที่ลูกของเจ้ามรดก) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1631 หลานจึงมีสิทธิได้ส่วนแบ่งมรดกจากส่วนแบ่งมรดกที่พ่อหรือแม่ของตัวเองมีสิทธิได้รับเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639
มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย #JusThat
✅ แอดไลน์ @justhatapp
✅ ส่งหลักฐานให้ทนายความ
✅ เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
โฆษณา