Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
EEC Academy
•
ติดตาม
2 มิ.ย. 2023 เวลา 09:58 • การตลาด
รหัส 7 สี ที่แตกต่าง...ของกระเปาะแก้วในหัวสปริงเกอร์
.
รหัสสีของกระเปาะแก้วในหัวสปริงเกอร์ มีความหมายในการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่นภายในอาคาร ที่มีอุณหภูมิเพดานสูงไม่เกิน 38 องศาฯ
ควรเลือกใช้สีแดง แต่หากเป็นพื้นที่ที่ไม่มีระบบปรับอากาศ มีโอกาสที่อุณหภูมิสะสมที่เพดานจะสูงเกิน 38 องศาฯ ได้
จึงควรเลือกสีของกระเปาะแก้วที่จะแตกได้ช้าขึ้น นั่นหมายถึงต้องมีอุณหภูมิทำงานที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย
.
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับรหัสสีของกระเปาะแก้วในหัวสปริงเกอร์ ทั้ง 7 สี
.
1. 🟠สีส้ม จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 57 องศาเซลเซียส
และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส
.
2. 🔴สีแดง จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 68 องศาเซลเซียส
และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส
.
3. 🟡สีเหลือง จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 79 องศาเซลเซียส
และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 65 องศาเซลเซียส
.
4. 🟢สีเขียว จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 93 หรือ100 องศาเซลเซียส
และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 65 องศาเซลเซียส
.
5. 🔵สีฟ้า หรือสีน้ำเงิน จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 141 องศาเซลเซียส
และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 107 องศาเซลเซียส
.
6. 🟣สีม่วง จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 182 องศาเซลเซียส
และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 149 องศาเซลเซียส
.
7. ⚫️สีดำ จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 260 องศาเซลเซียส
และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 240 องศาเซลเซียส
.
ที่มา:
www.nfpa.org
,
thairealflex.com
The Basics of Sprinkler Thermal Characteristics BY VALERIE ZIAVRAS
#EECacademy #Engineer #Engineering #Training
#TheKnowledgeWeCanShar
ข่าวรอบโลก
ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
2 บันทึก
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย