5 มิ.ย. 2023 เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไมตลาดหุ้นไทย ไม่ค่อยมีบริษัทเทคโนโลยี

รู้หรือไม่ ใน SET มีหุ้นอยู่ทั้งหมด ถึง 616 บริษัท โดยมีหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี อยู่เพียง 42 บริษัทเท่านั้น
ในขณะที่ถ้าเรามาดูหุ้นที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกของไทย ก็จะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจแบบดั้งเดิม อย่างกลุ่มธนาคาร ค้าปลีก หรือพลังงาน แทบทั้งหมด
แล้วทำไม ตลาดหุ้นไทยถึงไม่ค่อยมีหุ้นที่ทำธุรกิจยุคใหม่ หรือธุรกิจที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
และถือเป็นความหวังของประเทศไทย ในการจะยกระดับประเทศ จากการเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง ให้เป็นประเทศรายได้สูง
แต่ว่าเมื่อมามองดูในตลาดหุ้น ก็จะพบว่า ในปัจจุบันไทยยังมีบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ค่อนข้างน้อย สวนทางกับเป้าหมายของประเทศ
4
โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ไทยยังไม่ค่อยมีธุรกิจที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่
1. การวิจัยและพัฒนายังไปไม่สุด
อย่างที่รู้กันดีว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น เป็นผลมาจากการวิจัยและพัฒนา หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า R&D
1
จากข้อมูลล่าสุดในปี 2563 พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย อยู่ที่ 1.33% เมื่อเทียบกับ GDP
3
แต่หากนำไปเทียบกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงเหมือนกับเรา ก็จะพบว่า ประเทศในกลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6% ต่อ GDP ซึ่งสูงกว่าเราเล็กน้อย
แต่เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ที่เราตั้งเป้าจะไปให้ถึงแล้ว ก็จะพบว่า มีค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาที่สูงถึง 2.6% ต่อ GDP
ซึ่งมากกว่าเราถึง 2 เท่า..
ตัวเลขดังกล่าวนั้น สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา ของประเทศในกลุ่มนี้
และเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้ประเทศในกลุ่มนี้ มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นอย่างมาก
 
นอกจากการลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา ที่ไทยยังไปไม่สุดแล้ว ในด้านของจำนวนนักวิจัยไทยก็ยังไปไม่สุดเช่นกัน
2
เพราะเมื่อดูในส่วนของตัวเลขนักวิจัยแล้ว จะพบว่า ในจำนวนประชากร 1 ล้านคน ไทยจะมีนักวิจัยอยู่ที่ 1,350 คน
ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนพอ ๆ กับค่าเฉลี่ยของประเทศรายได้ปานกลางระดับสูงแบบเรา ที่อยู่ที่ 1,389 คน
แต่เมื่อเทียบกับประเทศรายได้สูง ตัวเลขนี้จะสูงขึ้นถึง 4,413 คน หรือมากกว่าเราถึง 3 เท่า
ทั้งนี้ การมีนักวิจัยเป็นจำนวนมาก ก็หมายถึงจำนวนงานวิจัยที่จะออกสู่สังคมมากขึ้น และทำให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มากขึ้นนั่นเอง
ปัจจุบันไทยเราเองมีการตั้งเป้า และมีความพยายามที่จะผลักดันให้ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ เพิ่มเป็น 2% ต่อ GDP ให้ได้ภายในปี 2570
2
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามว่าเราจะทำสำเร็จหรือไม่
2. ปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
เนื่องจากว่า การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม มักจะต้องใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้นผู้ลงทุนจึงต้องคาดหวังผลกำไรที่จะตามมา
1
ถ้าลงทุนไปแล้ว ถูกลอกเลียนแบบ ก็อาจทำให้ผลกำไรที่คาดหวังไว้ลดลง หรือไม่ก็อาจขาดทุนจากการลงทุนได้
การคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพ เป็นอีกเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ที่ลงทุน
ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ประกอบการ กล้าที่จะลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้น
โดยเมื่อดูจากการจัดอันดับความแข็งแกร่งของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา จะพบว่า ไทยอยู่ไกลถึงอันดับที่ 69 ของโลก
1
สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ที่อาจจะยังไม่ดีเท่าประเทศอื่น ๆ
1
ถือเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ภาคเอกชนไทย ยังไม่กล้าที่จะลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากนัก
3. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาจยังไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดของภาคเอกชนไทย ในตอนนี้
2
ลองจินตนาการว่า ถ้าเราเป็นผู้ประกอบการ
เราจะตัดสินใจทุ่มเท และลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหรือไม่
เพราะธุรกิจกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่เพียงต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่ยังมีอัตราการล้มเหลวสูงอีกด้วย
1
ถ้าเทียบกับอีกหลายวิธี ที่สามารถสร้างกำไรได้เช่นกัน และยังมีความเสี่ยงที่น้อยกว่า
เช่น
- การเน้นครองส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มาก ๆ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน
- การเน้นผลิตในปริมาณมาก เพื่อทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
- การขยับขยายไปทำธุรกิจอื่นเพิ่มเติม ที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมเหมือนเดิม เนื่องจากทำได้ง่ายและเสี่ยงน้อยกว่า
4
ดังนั้น ถ้าจะหวังให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม ก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมในตลาดให้เหมาะกับการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้น
ซึ่งจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจ ให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้นตาม
และเหตุผลที่กล่าวมาทั้ง 3 ข้อ ก็คือเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ตลาดหุ้นไทย ยังคงเต็มไปด้วยธุรกิจแบบดั้งเดิม ไม่ค่อยมีหุ้นเทคโนโลยี
เพราะการพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถสร้างได้ภายในชั่วข้ามคืน
แต่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมในตลาด กฎหมายและการบังคับใช้ รวมถึงระบบการศึกษา ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนา
อย่างไรก็ตาม เราก็อาจมีทางเลือกอื่น หากไม่ต้องการแข่งขันกับประเทศอื่นทางด้านเทคโนโลยี
1
เพราะการสร้างการเติบโตของประเทศ ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าก็สามารถทำได้หลายวิธี นอกจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วย
อย่างเช่น ฝรั่งเศส ที่ใช้ “ความหรู” ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตนเองและสร้างชาติ จนกลายเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู
1
อย่างประเทศไทยก็อาจใช้ปัจจัยอื่นที่ประเทศไทยได้เปรียบมาช่วยเสริมในการแข่งขันในการพัฒนาสินค้าและบริการ
1
สุดท้ายแล้ว ประเทศไทยจะเดินไปในทิศทางไหน
1
จะไปทางเทคโนโลยี แบบสหรัฐอเมริกา
จะไปทางแบรนด์หรู แบบฝรั่งเศส
หรือเป็นแบบเดิม ที่เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิม
หรือแบบใหม่ ที่เสริมสิ่งที่ประเทศไทยได้เปรียบ ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าติดตาม ไม่น้อยเลยทีเดียว..
2
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
โฆษณา