Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MONEY LAB
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 มิ.ย. 2023 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“กฎ 20/10” เทคนิคง่าย ๆ ที่ช่วยคุมไม่ให้ ก่อหนี้เกินตัว
“เงินไม่พอใช้หนี้” น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายคนในยุคนี้ ซึ่งมักเกิดจาก ภาระหนี้สินที่มากเกินไป จนไม่สามารถชำระหนี้ได้
4
ซึ่งปัญหานี้ป้องกันได้ทางหนึ่งก็คือ “มีระดับหนี้ที่เหมาะสม”
2
วันนี้ BillionMoney จึงพามาทำความรู้จักกับ
“กฎ 20/10” ที่ช่วยให้เราควบคุมระดับหนี้ของเราได้
แล้วกฎนี้น่าสนใจอย่างไร ?
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
1
กฎ 20/10 คือ กฎควบคุมเพดานหนี้ ที่ช่วยให้เรารู้ตัวว่า ควรมีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน
โดยตัวเลข 20/10 หมายถึง ภาระการผ่อนหนี้สินของเรานั้น ไม่ควรเกิน 20% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ต่อเดือน
1
ยกตัวอย่างง่าย ๆ นาย A มีรายได้ต่อเดือน 30,000 บาท หรือปีละ 360,000 บาท
ดังนั้น ตามกฎ 20/10 แล้ว เขาไม่ควรมีภาระการผ่อนหนี้สินเกิน 10% * 30,000 = 3,000 บาทต่อเดือน
หรือไม่ควรผ่อนชำระหนี้เกิน 20% * 360,000 = 72,000 บาทต่อปี
ต้องบอกว่า กฎ 20/10 นำมาใช้เฉพาะกับหนี้อุปโภคบริโภคเป็นหลัก เพราะหนี้สินประเภทนี้ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามมา
1
ซึ่งจะไม่รวมหนี้สินที่ดี อย่างเช่น
1
- หนี้อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหนี้เพื่อแลกกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อสร้างรายได้จากค่าเช่า
- หนี้เพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหนี้เพื่อสร้างความรู้ในการหารายได้
- หนี้เพื่อสร้างธุรกิจ ซึ่งเป็นหนี้เพื่อนำไปลงทุนในธุรกิจ ก่อให้เกิดรายได้กลับมา
ซึ่งกฎ 20/10 ก็จะช่วยควบคุมเพดานหนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เกิดการยับยั้งชั่งใจก่อนก่อหนี้อุปโภคบริโภค และช่วยให้เราสามารถแยกแยะหนี้ประเภทดีได้อีกด้วย
1
หากเราอยากให้การนำกฎนี้ไปใช้ มีความเข้มข้นขึ้นไปอีก รายได้ที่นำมาคิด อาจต้องเป็นรายได้หลังหักภาษี
นั่นหมายความว่า จำนวนเงินที่เราสามารถก่อหนี้อุปโภคบริโภคได้ จะลดลงจากเดิมไปอีก
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้กฎ 20/10 ได้ผลหรือไม่นั้น
ก็คงต้องเริ่มต้นที่ การมีวินัยในการใช้จ่าย ตั้งแต่แรก ๆ
ดังนั้น ก่อนจะเป็นหนี้ในแต่ละครั้ง เราต้องดูว่า หนี้ที่เราก่อเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ หรือเป็นเพียงความอยากของเราในช่วงสั้น ๆ
เพราะไม่ว่าเราจะใช้กฎที่ดี หรือทฤษฎีที่มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน มาช่วยในการวางแผนการเงิน
แต่ตราบใดที่ขาด “วินัยทางการเงิน” โอกาสที่จะมีสุขภาพทางการเงินที่ดี ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดขึ้น..
References
-
https://www.thebalancemoney.com/should-you-follow-the-20-10-rule-for-debt-management-4164476
-
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/debt-ceiling.html
-
https://member.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=7025&type=article
การลงทุน
เศรษฐกิจ
105 บันทึก
95
2
142
105
95
2
142
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย