Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า รพ.จุฬารัตน์9แอร์พอร์ต
•
ติดตาม
4 มิ.ย. 2023 เวลา 06:17 • สุขภาพ
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัตน์9 แอร์พอร์ต
#สวมเสื้อชั้นในนอนทุกคืน จะทำให้เป็นมะเร็งเต้านม จริงหรือไม่🤔
“ การสวมเสื้อชั้นในทุกประเภทไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง สิ่งเดียวที่เสื้อชั้นในและมะเร็งมีเหมือนกันคือมันเชื่อมโยงกับหน้าอก แต่เนื่องจากผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมักต้องสวมบราอยู่ตลอดเวลาเพื่อลดแรงโน้มถ่วงของหน้าอก แต่คุณคงลืมไปว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินมีปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากขึ้น ดังนั้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่าการใส่เสื้อชั้นในสามารถนำไปสู่มะเร็งเต้านมได้ ”
.
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริง ๆ แล้วมีดังนี้ คือ
.
👉1.เพศ เพศหญิงมีฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งสามารถกระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านมได้ จึงมีโอกาสป่วยเป็นโรคได้มากกว่าเพศชายแต่ผู้ชายก็สามารถป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน โดยมีอุบัติการณ์ของโรคนี้น้อยกว่าผู้หญิงเกือบ 100 เท่า
.
👉2.อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
.
👉3.มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3 - 4 เท่า ในการที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
.
👉4.ประวัติโรคทางเต้านมในอดีต โรคบางโรคที่มีการเจริญของเซลล์ผิดปกติในเต้านม สามารถที่จะเพิ่มความเสี่ยงหรือพัฒนากลายเป็นมะเร็งเต้านมได้ในอนาคต เช่น Atypical ductal hyperplasia (ADH) เป็นต้น
.
👉5.มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
.
👉6.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
.
👉7.การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม แต่ยีนดังกล่าวก็พบได้เพียงร้อยละ 5 - 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด ดังนั้น หากตรวจยีนดังกล่าวแล้วปกติก็ยังมีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมอยู่
.
👉8.การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน พบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
.
👉9.ประวัติประจำเดือน การมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี ร่างกายของผู้หญิงจะมีช่วงเวลาสัมผัสกับฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนมากขึ้นทำให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น
.
👉10.การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร ผู้ป่วยที่ไม่เคยตั้งครรภ์ หรือมีบุตรคนแรกตอนอายุมากกว่า 30 ปี จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะเดียวกันการตั้งครรภ์หลายครั้งและมีบุตรตั้งแต่อายุน้อยสามารถลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ และการให้นมบุตรเป็นเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ก็อาจจะช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งได้เช่นกัน
.
👉11.ยาคุมกำเนิดและการใช้ฮอร์โมน ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมเล็กน้อยเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ใช้ แต่ความเสี่ยงที่ว่านี้จะหมดไปหากหยุดใช้ยาเกิน 10 ปี
.
👉12.ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานอาการที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การได้รับรังสีในปริมาณสูง ภาวะเครียด
ถึงแม้ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์เราอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หลายปัจจัยเสี่ยงข้างต้น เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้ถ้าปฏิบัติตัวถูกต้อง
#มะเร็งต้องตรงเป้าทั้งยาและเทคโนโลยี
------------------------------------
ปรึกษาเรื่อง มะเร็ง ได้ที่ศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัตน์9แอร์พอร์ต __
☎️ 0933285561
Line _: HIFU9000
Email:
Chularatcenter@gmail.com
ที่อยู่ : 90/5 ม.13 ซอยกิ่งแก้ว 25/1 ถ.กิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทราปราการ ใกล้กับ สนามบินสุวรรณภูมิ
#โรคมะเร็งปอด #มะเร็งต่อมลูกหมาก #มะเร็งตับ #มะเร็งท่อทางเดินน้ำดี #มะเร็งต่อมไทรอยด์ #มะเร็งเต้านม #มะเร็งกระเพาะอาหาร #มะเร็งถุงน้ำดี #มะเร็งลำไส้ใหญ่ #มะเร็งรังไข่ #มะเร็งกระดูก #มะเร็ง #เนื้องอกมดลูก #รักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด #เทคโนโลยีHIFU #โรงพยาบาลจุฬารัตน์9แอร์พอร์ต
ความรู้รอบตัว
สุขภาพ
ข่าวรอบโลก
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย